|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
yuasa เผยผลงานQ2 ปีนี้ไม่ต่างจากปี48 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและรถยนต์ออกสู่ตลาดน้อย ส่วนรถกระบะและจักรยานยนต์ยังขายได้ อันเป็นผลพวงจากราคาน้ำมันที่ทะยานต่อเนื่อง แต่ยังได้อานิสงส์จาก โซลาร์ตรอน ที่ใช้แบตเตอรี่ของบริษัท ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไม่ต่ำกว่า 1,300 ล้านบาท เดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตปี 50 หลังแอฟริการสนใจเป็นนำสินค้าไปจำหน่ายในประเทศดังกล่าว
นายศุภวัส พันธุ์วัฒน์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยัวซ่า แบตเตอรี่ จำกัด(มหาชน)(YUASA) เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานของบริษัทไตรมาสแรกปีนี้พบว่าตัวเลขขาดทุนลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงจากเดิม 43.19 ล้านบาทเหลือ 27.71 ล้านบาท หรือลดลง 35.83% อันเป็นผลจากการที่บริษัทหันมาเน้นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ปริมาณของเสียน้อยลง บวกกับการที่บริษัทได้ปรับราคาขายสินค้าได้บ้าง
ขณะที่ผลงานไตรมาส 2 นั้น คาดว่าน่าจะไม่ต่างกับไตรมาสสองของปี 48 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดหลายวัน และเป็นช่วงของฤดูฝนที่มีผลต่อยอดขายพอสมควร บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการรถยนต์ออกรถรุ่นใหม่น้อยลง ขณะที่การใช้จ่ายของประชาชนก็ลดลงด้วย อันจะส่งผลต่อยอดขายสินค้าของบริษัท แม้จะมีการปรับราคาสินค้าก็ตาม
“เราเพิ่งปรับราคาขายไป 2-3% จึงทำให้เราพอขยับตัวได้บ้าง เพราะราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มมาตั้งแต่ปีก่อน โดยเพิ่มจาก 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็น 1 พันดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แม้ว่าราคาที่ปรับครั้งนี้ไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนได้ทั้งหมดก็บยังดีกว่าไม่ได้ปรับเลย ” นายศุภวัสกล่าว
ขณะที่ยอดขายของ YUASA ไตรมาสแรกปีนี้จะพบว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 349.474 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา 6.81% มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาขายแบตเตอรี่ ในขณะที่มีตัวเลขรายได้จากการขายเศษตะกั่วลดลง และต้นทุนขายก็ลดลงจากการปรับราคาขายแบตเตอรี่ดังกล่าวด้วย ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาษีสรรพสามิตจาก 5% เป็น 10% และจากการจัดโปรแกรมส่งเสริมการขายในบริษัทย่อย
อย่าไรก็ตาม เมื่อต้นปีนี้ YUASA ได้ซื้อเครื่องจักร กับบริษัท จีเอส ยัวซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (GYIN) ซึ่งเป็นบริษัท เกี่ยวโยงกัน จำนวน 1 รายการ ประมาณ 14.26 ล้านบาท ซึ่งเครื่องจักรดังกล่าว เป็นเครื่องจักรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นและเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท GYIN เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดอัตราของเสียจากการผลิตโดยรวม จากการทดสอบใช้เครื่องดังกล่าวพบว่าอัตราของเสียลดลงถึง 83%
“การที่เราลงเครื่องจักรใหม่ เป็นเครื่องจักรของการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถมอเตอร์ไซด์ แต่รถยนต์เรายังไม่ได้เพิ่มส่วนใด เหตุผลหนึ่ง เพราะต้นทุนของเราเพิ่มขึ้น แต่ไม่อาจปรับราคาสินค้าที่จำหน่ายได้ จึงต้องหาวิธีลดต้นทุนในการผลิต ”นายศุภวัฒน์กล่าว
โดยเฉพาะต้นทุนตะกั่วที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บริษัทที่ไม่มีโรงหลอมตะกั่วก็ต้องรับภาระเพิ่ม จะไม่ได้รับผลกระทบมากก็เฉพาะบริษัทที่มีโรงหลอมเองอย่างบริษัทใหญ่ ๆ บางแห่งเท่านั้น ซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำกว่าบริษัทเล็ก ๆ และยังมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อแข่งขันราคากันด้วย
อย่างไรก็ตาม YUASA ยังมีข้อได้เปรียบที่จะได้อานิสงส์จากการขายแบตเตอรี่ส่วนหนึ่งให้กับการใช้พลังงานทดแทนของบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน) ที่เคยใช้แบตเตอรี่ของ YUASA มาก่อนหน้า ตั้งแต่โครงการโซลาร์โฮมเฟสแรกจนถึงโครงการโซลาร์โฮมเฟส 2 และขณะนี้ที่โครงการ roof top กำลังจะเกิดขึ้น ตลอดจนอีกหลายอย่างของพลังงานทดแทนซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นหลังจากราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 48
"ดังนั้น จากการที่รัฐบาลต้องการให้หันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อประหยัดพลังงาน เราก็น่าจะได้รับผลดีจากการขายแบตเตอรี่ของเราด้วย เพราะเดิมเราก็เป็นพันธมิตรกับโซลาร์ตรอนอยู่แล้ว หากเขาได้งานมา เชื่อว่าเขาก็คงมาใช้แบตเตอรี่ของเรา แต่ไม่ได้ใช้ทั้งหมด " นายศุภวัสกล่าว
โดยโซลาร์โฮมเฟสแรกนั้น YUASA ผลิตแบตเตอรี่ส่งให้กับโครงการนี้ประมาณ 60-70% คิดเป็นมูลค่า 130 ล้านบาท ขณะที่โครงการเฟส 2 ก็มีถึงแสนยูนิต ซึ่ง YUASA จะต้องผลิตแบตเตอรี่รองรับประมาณ 7 หมื่นยูนิต คิดเป็นเงินประมาณ 150 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ต่อเนื่องในปีนี้
นายศุภวัฒน์กล่าวถึงผลการดำเนินงานปีนี้ว่าอาจขยายตัวไม่มาก โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ไม่ต่ำกว่า 1,300 ล้านบาท ขณะที่แบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซด์จากปีที่ผ่านมาพบว่าความต้องการใช้เพิ่มไม่ถึง 5% ขณะที่แบตเตอรี่รถยนต์ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถกระบะที่ยอดขายรถชนิดนี้ยังขายได้ สวนทางกับรถชนิดอื่น แต่ YUASA ยังต้องเพิ่มกำลังการผลิตการแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทผลิตแบตเตอรี่ให้กับค่ายฮอนด้าเท่านั้น ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 2.5 ล้านลูกต่อปี และเน้นการทำตลาดมากขึ้นรองรับกับตลาดดังกล่าว
สำหรับเป้าหมายการขยายกำลังการผลิตในส่วนของแบตเตอรี่รถยนต์เพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในปี 50 เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มจาก 9 แสนลูกต่อปีเป็น 1.2-1.3 ล้านลูกต่อปีสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ และส่วนหนึ่ง ของการเพิ่มกำลังการผลิต เกิดจากปีนี้มีลูกค้าจากแอฟริกาสนใจที่จะนำสินค้าไปเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศดังกล่าว คาดได้ผลสรุปไตรมาส 2 นี้
|
|
|
|
|