Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 พฤษภาคม 2549
เศรษฐกิจซบธุรกิจทยอยปลดคนลดต้นทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมการจัดหางาน

   
search resources

Economics
Social
กรมการจัดหางาน




ผลเศรษฐกิจถดถอยเริ่มแผลงฤทธิ์ ภาคธุรกิจเริ่มทยอยลด-จ้างพนักงานเพิ่ม เพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้อัตราการว่างงานอาจสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 610,000 คน หรือคิดเป็น 1.7% แต่กรมจัดหางานยังเชื่ออัตราการว่างงานไม่เกินกว่า 2% ต้องรอดูผลอีก 2-3 เดือน ส่วนแรงงานฝีมือ-แรงงานระดับล่างยังมีความต้องการอยู่แม้จะมีแรงงานจากต่างด้าวเข้ามาเสริม

จากที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2-3 มีแนวโน้มถดถอยต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี...สิ่งหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความวิตกก็คือ ธุรกิจบางประเภทที่ปรับตัวไม่ทัน อาจต้องหยุดกิจการ เพราะยอดขายตกจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดหาย เนื่องจากปัญหาของอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออาจเพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปัจจัยสำคัญคือเรื่องของราคาน้ำมัน อันเนื่องมาจากวิกฤตน้ำมันในตลาดโลก และที่สำคัญก็คือปัญหาของการเมืองที่ยังไม่มีท่าว่าจะได้บทสรุปโดยเร็ว

แนวโน้มคนตกงานเพิ่มขึ้น

...สิ่งที่จะตามมาภายหลังการสั่นคลอนของภาคธุรกิจ คือการหยุดจ้างแรงงาน และเมื่อมีแรงงานถูกหยุดจ้างมากขึ้น ก็จะตามมาด้วยปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาครอบครัว ฯลฯ

เมื่อช่วงต้นปี 2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ประเมินว่า แนวโน้มการว่างงานในปีนี้จะมีกำลังแรงงานเฉลี่ยทั้งปี 36.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 480,000 คน หรือคิดเป็น 1.3% เนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจปี 2549 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น คาดว่าไม่ต่ำกว่า 5% เพราะอุปสรรคในปี 2548 คลี่คลายลงและที่สำคัญเศรษฐกิจมีการปรับตัวต่อเงื่อนไขและสถานการณ์ต่างๆ ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ย การปรับราคาน้ำมันให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกและการปรับตัวของภาคธุรกิจเพื่อการแข่งขันในตลาด และมีแรงขับเคลื่อนสำคัญอย่างการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนของภาคเอกชนที่ได้รับแรงกระตุ้นจากการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ จะมีโครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ จึงน่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะคาดได้ว่าการว่างงานในปี 2549 จะมีผู้ว่างงานเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 610,000 คน ลดลงจากปี 2548 ประมาณ 29,000 คน โดยในปี 2549 มีอัตราการว่างงาน 1.7% เทียบกับปี 2548 ที่มีอัตราการว่างงาน 1.8%

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้คาดไว้ กลับมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาทที่ปรับเพิ่มไปอย่างต่อเนื่อง จนสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จากหลายสำนักทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดูแลตัวเลขเหล่านี้

จากข้อมูลเดือนมีนาคม 2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจข้อมูลประชากรพบว่ามีทั้งสิ้น 65.14 ล้านคน ซึ่งอยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 35.64 ล้านคน คิดเป็น 54.7% ของประชากรทั้งประเทศ ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 14.67 ล้านคน คิดเป็น 22.5% และอีก 14.83 ล้านคน หรือคิดเป็น 22.8% มีอายุต่ำกว่า 15 ปี

ถ้าดูตัวเลขการมีงานทำของผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 35.64 ล้านคน พบว่า มี 34.65 ล้านคน หรือคิดเป็น 97.22% ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีงานทำ โดยมีผู้ว่างงานเพียงแค่ 6.4 แสนคน หรือคิดเป็น 1.8% เท่านั้น แม้เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จำนวนผู้ว่างงานจะลดลงกว่า 9 หมื่นคน แต่หากแนวโน้มของการว่างงานในปีนี้อาจเพิ่มขึ้นสูงกว่าประมาณการ เพราะปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น

ขณะที่ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาระบุมาชัดว่า ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจปี 2549 ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง จากภาวะน้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยสูง การลงทุนและการบริโภคที่ชะลอตัวลง จะส่งผลทำให้มีการจ้างงานลดลง และการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราการว่างงานในปี 2549 คาดว่าจะอยู่ที่ 2% เปรียบเทียบกับในปี 2548 ที่มีอัตราการว่างงาน 1.8% ก็ยิ่งทำให้ปัญหานี้น่าจับตามองมากขึ้น

กรมจัดหางานขอดูข้อมูลอีก 2-3 เดือน

ด้านนายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี อธิบดีกรมการจัดหางาน ที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องของแรงงาน ให้ความเห็นว่า ถ้าดูข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานในเชิงลึกแล้ว แม้ว่าอาจจะมีปัญหาคนถูกเลิกจ้างในภาคธุรกิจบางอย่าง แต่ในตลาดแรงงานยังมีความต้องการผู้เข้าทำงานอีกมาก ซึ่งการจะมาพิจารณาว่าตัวเลขการว่างงานจะอยู่ในอัตราเท่าไร คงจะชี้ชัดทันทีไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นเป็นแบบใด เพราะต้องรอดูความชัดเจนติดต่อกันไปอีกอย่างน้อย 2-3 เดือน จะได้ข้อมูลที่ชัดเจน

"ถ้าไปดูตัวเลขการว่างงานในบางช่วงอาจเพิ่มสูงขึ้นมาก อาจเป็นเพราะมีนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษาเข้ามาอยู่ในระบบ ทำให้ตัวเลขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งมีอัตราถึง 80% ของผู้ยังไม่มีงานทำ บางทีคิดว่าเป็นเรื่องน่าตกใจ แต่ถ้ารอดูไปอีกสักระยะหนึ่งอาจจะเห็นว่าตัวเลขเหล่านี้เริ่มปรับตัวลดลง เพราะว่าแรงงานที่พึ่งจบและหางานได้ กำลังจะได้เข้าทำงาน จึงทำให้ตัวเลขมันลดลง หรือบางทีอาจมีแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งต้องรอฤดูกาล เมื่อฤดูกาลผลิตหยุดลง ก็จะทำให้คนพวกนี้เข้ามาอยู่ในกลุ่มของพวกไม่มีงานทำ แต่โดยแท้จริงๆ แล้ว คนพวกนี้ไม่ใช่ตกงาน แต่เขากำลังรอทำงานในช่วงฤดูกาลผลิตของเขาเท่านั้น ดังนั้น จึงยังไม่ค่อยเป็นห่วงว่าอัตราการว่างงานที่แท้จริงจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2%" นายจุฑาธวัชกล่าว

ทั้งนี้ ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อสิ้นมีนาคม 2549 บ่งบอกการว่างงานของแรงงานในวัยทำงาน จำนวน 6.4 แสนคน (ไม่นับรวมผู้ที่อยู่ระหว่างรอฤดูกาลเพื่อทำการเกษตรอีก 3.5 แสนคน คิดเป็น 1.79% ของคนวัยทำงาน แล้วไปดูตัวเลขของตำแหน่งงานว่าง จากการรวบรวมของกรมการจัดหางานที่ได้มาจากภาคเอกชน ทั่วประเทศ ที่ประสงค์จะหาแรงงานเข้าไปทำงาน ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2549 พบว่ามีตำแหน่งที่ยังต้องการอยู่ถึง 977 ตำแหน่ง จำนวน 275,749 อัตรา ถ้ากรมการจัดหางานสามารถจับกลุ่มคนที่ยังว่างงานอยู่เข้าไปในอัตราแรงงานที่ว่างอยู่ ก็จะเหลือผู้ว่างงานประมาณ 3.64 แสนคน หรือคิดเป็น 10.2% เท่านั้น ดังนั้น ทาง กรมการจัดหางานเองก็ยังมองว่าอัตราการว่างงานในปี 2549 น่าจะลดจากปีก่อนที่มีอัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ 1.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 แต่ก็ต้องไปรอดูผลการสำรวจที่ชัดเจนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราการว่างงานจะรู้ชัดเจนว่าจะเป็นเท่าไรในช่วงเดือนตุลาคมของแต่ละปี

นายจุฑาธวัชกล่าวว่า กรมการจัดหางานเองก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแลทันที กรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติ จนทำให้เกิดแรงงาน ว่างงานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสำรวจและดูตำแหน่งงานว่าง ที่ค้างที่มีอยู่ เพื่อไปแมตชิ่งกับผู้ว่างงาน การช่วยเหลือผู้ตกงาน ด้วยการให้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นการฝึกอาชีพยกระดับฝีมือ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพอื่น ซึ่งอาจมีรายได้เพิ่มขึ้น และเรื่องของการฝึกอาชีพพิเศษหมายความว่า ให้ทำอาชีพอิสระได้

"หวั่นขาดแรงงานฝีมือ/ดึงต่างด้าวแทนงานกรรมกร"
นอกจากนี้ อธิบดีกรมแรงงาน กล่าวให้รายละเอียดอีกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าถ้าพิจารณาเฉพาะตัวเลขอาจทำได้ง่าย หากแรงงานที่ต้องการทำงานไม่เกี่ยงงานและพร้อมจะทำงานในตำแหน่งงานที่ว่างอยู่

โดยหากแยกแยะตำแหน่งงานที่ว่างเป็นหมวด คือ หมวด 1 ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส ผู้จัดการ มีตำแหน่งว่าง 7,510 อัตรา หมวด 2 ผู้ประกอบการวิชาชีพต่างๆ 12,334 อัตรา หมวด 3 ช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 25,088 อัตรา หมวด 4 เสมียน เจ้าหน้าที่ 24,553 อัตรา หมวด 5 พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด 44,064 อัตรา หมวด 6 ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือด้านการเกษตรและประมง 1,059 อัตรา หมวด 7 ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือในธุรกิจต่างๆ 21,136 อัตรา หมวด 8 ผู้ปฏิบัติงานด้านเครื่องจักรในโรงงานและด้านการประกอบการ 24,608 อัตรา และหมวด 8 อาชีพงานพื้นฐาน 115,397 อัตรา

ดังนั้น จะเห็นว่ามีตำแหน่งอีกจำนวนมากที่ยังต้องการแรงงาน โดยผู้ที่ตกงาน หรือยังไม่มีงานทำส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการเลือกตำแหน่งงาน อาจให้สอดคล้องกับสายวิชาชีพที่เรียนมาหรือตรงกับความรู้ที่จบมา หรืออัตราเงินเดือนไม่น่าพอใจ หรือปริมาณผู้ที่ศึกษาต่อในระดับสูงเพิ่มขึ้น หรือมีการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น เมื่อทัศนคติในการทำงานของผู้จบการศึกษาใหม่ หรือผู้ว่างงานบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป ก็กลายเป็นปัญหาอื่นติดตามมาก็คือ การขาดแรงงานฝีมือ เพราะทุกวันนี้แรงงานไทยที่มีฝีมือมากๆ จะออกไปทำงานหาเงินในต่างประเทศ ที่มีอัตราเงินเดือนการจ้างแรงงานสูงกว่าประเทศไทยหลายเท่า ขณะที่แรงงานด้านฝีมือที่จบออกมา เช่น พวกสายอาชีวะ กลับมีสัดส่วนลดน้อยลง ซึ่งในช่วงหลายปี ที่ผ่านมาพบว่าแรงงานกลุ่มนี้ลดลงไปประมาณ 20-30% จึงเห็นว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้ ต่อไปแรงงานฝีมือเหล่านี้จะหดหายไปเรื่อยๆ ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญในการที่จะสนับสนุนวิชาชีพอาชีวะให้มากขึ้น และไม่ควรจะเน้นนโยบายให้แต่ทุกคนหันไปประกอบธุรกิจเพียงอย่างเดียว เพราะหากทุกคนไปประกอบธุรกิจกันหมด ก็จะไม่มีผู้ซื้อ หรือมีน้อย ไม่มีผู้ทำการผลิต ก็จะเป็นปัญหากระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจได้

ขณะเดียวกัน แรงงานระดับล่าง ซึ่งก็คืออาชีพกรรมกร ที่พบว่ามีความต้องการสูงมาก โดยเฉพาะในเวลาที่ประเทศกำลังต้องการเพิ่มศักยภาพในด้านสาธารณูปโภค การดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ การก่อสร้างอาคารที่เติบโตตามเศรษฐกิจ ก็ยิ่งมีความต้องการทวีคูณ แต่กลับพบว่าแรงงานไทยเริ่มที่จะมองข้ามอาชีพนี้ โดยยกระดับขึ้นไปสู่แรงงานที่ต้องใช้ฝีมือมากขึ้น ทำให้ภาครัฐเองต้องพิจารณานำแรงงานต่างด้าว จากลาว พม่า กัมพูชา ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นแรงงานผิดกฎหมาย หนีเข้าเมืองไทยมาทำหน้างานเหล่านี้เข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย แต่ให้ทำงานเฉพาะแรงงานระดับล่างจริงๆ

ปัจจุบันหลังจากรัฐได้เปิดโอกาสนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็น ชาวต่างด้าวจากลาว พม่า กัมพูชา มาจดทะเบียนถูกต้องตาม กฎหมาย พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายถึง 7 แสนคน และอยู่ระหว่างดำเนินงานให้ถูกต้องตามกฎหมายอีก 2 แสนคน รวม เป็น 9 แสนคน จากเป้าหมายที่คาดว่าจะมีมาเพิ่มอีก 5 แสนคน เป็น 1.2 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่ประเมินกันแล้วว่าน่าจะพอต่อความ ต้องการ

ทั้งนี้ ความจำเป็นที่ต้องดึงเอาคนเหล่านี้เข้ามาทำงานบาง ประเภท เพื่อต้องการชดเชยแรงงานไทยที่หายไปจำนวนมาก ไม่ถือ ว่าเป็นการแย่งอาชีพคนไทย เพราะแรงงานเหล่านี้คนไทยได้มองข้าม ไปแล้ว และต้องดึงเอาคนผิดกฎหมายเหล่านี้เข้ามาอยู่ในระบบที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม หรืออาชญากรรม เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต เพราะ คนเหล่านี้ไม่มีประวัติ พอกระทำความผิดก็หนีออกไป ไม่สามารถตามจับตัวได้ เมื่อคนต่างด้าวเข้ามาสู่ระบบก็จะมีการควบคุมดูแล มีการทำทะเบียนราษฎร์โดยกระทรวงมหาดไทยทำ มีการพิมพ์ลายนิ้วมือโดย กองตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ต้องมีการรับรองจากนายจ้าง มีการตรวจโรค ซึ่งจะเหลือเวลาพิสูจน์สัญชาติและออกวีซ่าทำงานไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานจะอยู่ได้อย่างน้อย 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี และต้องอยู่กับนายจ้างตามที่แจ้งไว้ หากมีการเปลี่ยนแปลงให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดต้องส่งกลับประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาสวมสิทธิ์แรงงาน

สิ่งที่จะได้จากตรงนี้ก็คือ เราสามารถตรวจสอบประวัติ ติดตามหากเกิดปัญหาขึ้นมาได้ เป็นการป้องกันการเกิดโรคระบาดที่มีมากับแรงงานต่างด้าว ช่วยลดปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศ เพิ่มความมั่นคงของชาติอีกทางหนึ่ง เพราะปัญหาทางอาชญากรรมจะลดน้อยลง ปัญหาสังคมจะลดน้อย เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่ต้องหลบซ่อน สามารถหาเลี้ยงตนเองได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ที่สำคัญยังช่วยสนับสนุนการทำงานในระบบเศรษฐกิจด้วย เพราะแรงงานต่างด้าวเหล่านี้จะเข้ามาช่วยอุดช่องโหว่แรงงานระดับล่าง ที่เป็นพื้นฐานของการก่อสร้าง การสร้างสิ่งสาธารณูปโภค การนำเงินรายได้มาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าบางส่วนอาจถูกดึงส่งกลับประเทศไปบ้างก็ตาม และการที่เขาหารายได้ได้เอง ทำให้รัฐไม่ต้องเสียเงินเพื่อนำไปเลี้ยงดูในค่ายกักกัน กรณีที่ถูกจับกุมได้ ตามหลักมนุษยธรรม

ขณะเดียวกัน กรมก็กำลังเสนอกฎหมายเพื่อขอจัดเก็บภาษีการใช้แรงงานต่างด้าวจากนายจ้าง (LAVY LAW) ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการทางรัฐสภา หากพิจารณาและอนุมัติเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะมาเก็บเงินเหล่านี้จากนายจ้าง ซึ่งเบื้องต้นกำหนดไว้ 500 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเงินเหล่านี้จะนำมาใช้พัฒนาหรืออาจเป็นเงินทุน เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่แรงงานต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us