Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 พฤษภาคม 2549
อาร์.เอ็น.ที.ฯดิ้นซบเรดิโออาร์มแก้เกมลุยวิทยุรถเมล์หลังเลิกจีเอ็มเอ็ม             
 


   
search resources

อาร์.เอ็น.ที. เทเลวิชั่น, บมจ.
รวมนคร ทับทิมธงไชย
Radio




สถานการณ์เศรษฐกิจส่งธุรกิจวิทยุย่ำแย่ ถูกกระทบหนัก สินค้าเมินลงโฆษณา ฟันธงสิ้นปีกลุ่มผู้ทำธุรกิจคลื่นวิทยุชักแถวคืนสัมปทาน ขณะที่ อาร์.เอ็น.ที หันซบ เรดิโออาร์ม เดินหน้าโครงการคลื่นวิทยุในรถขนส่งมวลชน หลังข้อตกลงกับ จีเอ็มเอ็มเหลว จนเป็นเหตุให้จีเอ็มเอ็มต้องคืนคลื่นกลับให้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ ระบุพันธมิตรใหม่ คิดอัตราค่าโฆษณาแค่ 2,500 บาท ต่อ สปอต 30 วินาที ขณะที่ จีเอ็มเอ็ม ประกาศโขกค่าโฆษณาถึง 18,000 บาทต่อสปอต

พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์.เอ็น.ที. เทเลวิชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้ปรับแผนการดำเนินงานในส่วนของโครงการวิทยุบนรถโดยสารของ ขสมก. ใหม่ โดยได้หันมาร่วมมือกับบริษัท เรดิโอ อาร์ม จำกัด ซึ่งอยู่ในกลุ่มของคลิ๊กเรดิโอ เพื่อให้บริการวิทยุบนรถโดยสารผ่านคลื่นวิทยุ 103.5 เอฟเอ็ม ซึ่งเป็นคลื่นของกองทัพบก

ทั้งนี้คลื่นดังกล่าว จะเปิดเพลงไทย เพลงฮิต เพื่อบริการให้กับผู้โดยสารที่ใช้บริการรถขนส่งมวลชน ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับคลื่นและกระจายเสียงแล้วในรถ ขสมก. และยังกำลังติดตั้งในส่วนของรถร่วมบริการ คาดว่าอีกประมาณ 1 เดือนครึ่งจะแล้วเสร็จ ครบทั้งหมด 7,000 คัน ถึงตอนนั้นจะมีฐานผู้ฟังไม่น้อยกว่าวันละ 5 ล้านคน จากผู้ใช้บริการรถขนส่งมวลชนในแต่ละวัน ทั้งนี้ยังไม่นับรวมกับประชาชนอื่นๆ ที่สามารถเปิดฟังคลื่นวิทยุนี้ได้เช่นกันตามปรกติ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ บริษัทฯได้เซ็นสัญญาโครงการนี้กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ในเครือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ โดยจีเอ็มเอ็มจะดูแลเรื่องการทำตลาด การผลิตรายการ และ บริษัทฯจะลงทุนด้านฮาร์ดแวร์ การติดตั้งระบบ โดยใช้ชื่อว่า บัซเอฟเอ็ม 88

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้นดำเนินไปได้ไม่นาน แต่สัญญาก็ต้องถูกยกเลิกไปเมื่อต้นเดือนเมษายน พร้อมกับ จีเอ็มเอ็ม ได้คืนคลื่นเอฟเอ็ม 88 ซึ่งจะใช้เปิดโครงนี้กลับไปให้แก่กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งตรงนี้บริษัทฯเข้าใจว่า จีเอ็มเอ็ม อาจไม่สามารถทำการตลาดได้ แต่จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ แต่ในส่วนของ RNT หลังจากเซ็นสัญญากับ จีเอ็มเอ็ม ก็ดำเนินการติดตั้งระบบในรถ ขสมก.มาโดยตลอด

ทั้งนี้ พ.ต.อ.รวมนคร กล่าวว่า สำหรับคลื่น 103.5 เอฟเอ็ม ที่ทำร่วมกับ เรดิโออาร์มนี้ เราคิดอัตราค่าโฆษณาที่ 2,500 บาท ต่อสปอตความยาว 30 วินาที ซึ่งมีลูกค้าให้ความสนใจลงโฆษณากับเราจำนวนมาก ขณะที่เมื่อตอนเซ็นสัญญากับ จีเอ็มเอ็ม ตอนนั้น จีเอ็มเอ็ม ประกาศว่า จะคิดค่าโฆษณา ในอัตรา 18,000 บาทต่อสปอต ความยาว 30 วินาที ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาแตกต่างกันมาก

“ตอนทำสัญญากับจีเอ็มเอ็ม เราลงทุนติดตั้งระบบไปแล้วเป็นมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท จากทั้งโครงการที่ต้องลงทุนทั้งหมด 50 ล้านบาท ซึ่งพอเปลี่ยนมาเป็นคลื่น 103.5 เอฟเอ็ม เราก็ต้องมาปรับจูนคลื่น เพื่อย้ายมาคลื่นใหม่ ก็เสียหายเงินไปบ้างประมาณ 10 ล้านบาท แต่ การบอกเลิกสัญญากันครั้งนี้ เรากับ จีเอ็มเอ็ม เข้าใจกันดี จึงไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น”

การที่ตั้งราคาไว้สูงมากในครั้งนั้น เป็นเพราะว่า กลุ่มเป้าหมายของ บัซเอฟเอ็ม 88 นี้จะครอบคลุมทุกเพศทุกวัย จากผู้ที่ใช้บริการของรถเมล์ของขสมก.และรถร่วมบริการทั่วกรุงเทพฯและ 5 จังหวัดปริมณฑลคือ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาครและสมุทรปราการ ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ล้านคนต่อวัน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารรถเมล์ประมาณ 2,400,000 คน และรถร่วมบริการอีกกว่า 2,600,00 คน และยังไม่นับรวมผู้ฟังอีกนับแสนคนที่ฟังผ่านทางวิทยุ คลื่น 88ปรกติ

พ.ต.อ. ยังกล่าวอีกว่า จากปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้ มองว่า ธุรกิจวิทยุจะถูกผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะลูกค้าจะประหยัดการใช้จ่าย และส่วนหนึ่งที่จะถูกตัดเป็นอันดับแรก คือ การใช้เงินกับการโฆษณา ที่ต้องเลือกซื้อสื่อที่คุ้มค่าที่สุด และมีกลุ่มผู้ชมผู้ฟังได้พบเห็นมากที่สุด

ดังนั้น ผู้ที่ถือครองคลื่นวิทยุไว้จำนวนมาก และ ไม่ได้มีการบริหารจัดการเท่าที่ควร อาจต้องมีการคืนคลื่นให้กับหน่วยงาน ต้นสังกัด โดยเชื่อว่าปลายปีนี้ เราจะได้เห็นการคืนคลื่นอีกหลายราย

สำหรับ RNT คงไม่เน้นสร้างรายได้จากธุรกิจวิทยุมากนัก โดยจะทำงานแรกที่ร่วมกับ เรดิโออาร์มนี้ให้ดีที่สุด ซึ่งการลงทุนเราก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ส่วนจะตัดสินใจมองหาพันธมิตรทำธุรกิจเพิ่มอีกหรือไม่ คงต้องรอดูช่วงปลายปี

ก่อนหน้านี้นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ได้คืนคลื่น 88 ให้กับทางกรมประชาสัมพันธ์แล้ว เนื่องจากการแข่งขันธุรกิจวิทยุมีความรุนแรงและมีต้นทุนดำเนินการสูง โดยบริษัทฯเองก็มีหลายคลื่อยู่แล้วอาจจะมีการซ้ำซ้อนกันบ้างในแง่ของกลุมเป้าหมายด้วย

ส่วนโครงการวิทยุบนรถโดยสารขสมก.ที่ร่วมมือกับ อาร์.เอ็น.ที.ฯนั้นได้ยุติกันไปแล้ว เพราะที่ผ่านมาทางคู่สัญญายังไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้ตามที่ตั้งใจไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การที่อาร์.เอ็น.ที.ฯหันมาร่วมมือกับเรดิโออาร์มในครั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนคู่สัญญาใหม่จากเดิมที่เป็นจีเอ็มเอ็มมีเดีย โดยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทาง ขสมก. ก่อนซึ่งเป็นเจ้าของผู้ให้สัมปทานกับอาร์.เอ็น.ที.ฯในการทำโครงการนี้กับขสมก.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us