Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 พฤษภาคม 2549
กรณีศึกษา"BAY-GE"โมเดลน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ชาลอต โทณวณิก
Banking




"ชาลอต โทณวณิก"ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ต้องคอยตอบคำถาม สื่อต่างๆที่รุมล้อม ถามไถ่เกี่ยวกับอนาคต และทิศทางที่จะก้าวเดินต่อไป ภายหลังการเข้ามาถือหุ้นในแบงก์กรุงศรีฯ ของกลุ่ม"จีอี แคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค" หรือ "จีอี" ยักษ์ใหญ่ "คอมซูเมอร์ไฟแนนซ์"จากอเมริกา แต่คำตอบที่ได้ก็คือ การเปิดทางของแบงก์ใหญ่ที่เคยนิยามตัวเองเป็น "พันธ์ไทยแท้" จะต่างไปจากการเข้ามาของแบงก์ทุนตะวันตกเมื่อปี 2542 เพราะไม่ว่ารูปแบบของคู่แต่งงานจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร ระหว่าง "BAY-GE"ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่คณะกรรมการต้องมองหาหาโมเดลหรือแนวทางที่เคยเกิดในต่างประเทศเป็นแม่แบบ....

"ในกรณีของ แบงก์กรุงศรีฯกับจีอี ถือว่ายังไม่เคยมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นในเมืองไทย" ชาลอต ต้องคอยอธิบายรูปแบบการจัดงานแต่งงานระหว่างคู่บ่าวสาว คือ จีอีและแบงก์กรุงศรีฯ ว่าจะลงเอยด้วยรูปแบบไหน

แต่อย่างน้อยการจับคู่ระหว่างแบงก์ใหญ่กับทุนกระเป๋าหนักจากตะวันตกก็น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับแวดวงธนาคารพาณิชย์ไทย

เพราะทุกสายตายังคงจับจ้องไปที่คำตอบสุดท้ายว่าจะออกหัวหรือก้อย แต่ที่ชาลอต สันนิษฐานล่าสุดก็คือ ถ้าต้องควบรวมกันจริงๆก็ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคืนใบอนุญาติประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้กับแบงก์ชาติ หรือไม่อย่างนั้น "จีอี มันนี่" ที่อยู่ในสถานะธนาคารเพื่อรายย่อย (ธย.) ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็น "เครดิต คอมพานี" ไปโดยปริยาย

กระบวนการที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ หลังจากจีอี แคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิคเสนอซื้อหุ้น แบงก์กรุงศรีในราคาหุ้นละ 16 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดสัดส่วนลงทุน 25% คือ ส่วนหนึ่งของขั้นตอนที่ทำให้ทุกฝ่ายต้องรอคำตอบ

ประเด็นสำคัญสำหรับคู่แต่งงานต่างสัญชาติ ที่ทำให้คำตอบต้องใช้เวลาค่อนข้างนานก็คือ เพดานการถือหุ้นของต่างชาติในแบงก์ไทยถูกจำกัดใน 2 ส่วน อุปสรรคแรกคือ กฎระเบียบของแบงก์ชาติที่กำหนดให้นักลงทุนต่างประเทศ 1 รายถือหุ้นได้เพียง 5% นอกจากนั้นก็ยังขีดวงไม่ให้ทุนต่างประเทศทั้งหมดถือหุ้นเกิน 49% ในขณะที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติในแบงก์กรุงศรีมีสัดส่วนถึง 32% ในปัจจุบัน

คำตอบจึงอยู่ที่แบงก์ชาติจะเปิดช่องเรื่องเพดานการถือหุ้นต่างชาติด้วยวิธีไหน จะอนุมัติให้เพิ่มเพดานขึ้นเป็น 49% หรือไม่...นี่คือสิ่งที่นักวิเคราะห์ยังเฝ้าจับตามองอยู่เป็นระยะ

ชาลอต บอกว่า ระหว่างนี้ต้องรอกระบวนการและท่าทีของแบงก์ชาติ จึงให้คำตอบที่เป็นรายละเอียดไม่ได้ และคาดว่าช่วงไตรมาส 2-3 ก็คงไม่มีคำตอบเช่นกัน อย่างไรก็ตามในกรณีนี้มีอยู่ 2 ขั้นตอน ขั้นแรกคือ จีอีต้องคุยและตกลงกับแบงก์กรุงศรีฯโดยตรง ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจบลงแล้ว แต่ขั้นตอนสุดท้ายคือ จีอีต้องยื่นขอเสนอไปที่แบงก์ชาติ

" สำหรับมุมมองของแบงก์ชาติค่อนข้างเป็นบวก ไม่ได้สกัดกั้น"

ในช่วงแรกของกระบวนการที่จบลงไปแล้วก็คือ การแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์ และต้องรอแก้เงื่อนไข ดังนั้นจึงยังไม่มีการจ่ายสินสอดทองหมั้นหรือ จ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นเข้ามาในช่วงนี้

ชาลอต บอกว่า ภายหลังการแจ้งเรื่องจะซื้อหุ้นเข้ามา คณะกรรมการ แบงก์กรุงศรี ก็ตอบตกลงและแจ้งให้จีอีกลับไปเจรจากับแบงก์ชาติว่าจะเลือกรูปแบบอย่างไร เนื่องจากหลักเกณฑ์แบงก์ชาติกำหนดให้หนึ่งสถาบันการเงินมีหนึ่งรูปแบบ หรือ (One Presense) หรือ ไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินใดถือหุ้นในสถาบันการเงินอื่น ดังนั้นเมื่อทั้งจีอี และแบงก์กรุงศรีฯเจรจาเสร็จเรียบร้อย จึงต้องยื่นเรื่องเสนอไปยังแบงก์ชาติว่าจะเลือกสถานะใด

" ส่วนลึกๆเรายังไม่ได้คุยในรายละเอียด แต่อย่างน้อยกรณีของกรุงศรีกับจีอี ก็ยังแตกต่างไปจากการเข้ามาเทคโอเวอร์แบงก์ไทยโดยแบงก์ต่างชาติเมื่อปี 2542 เพราะเคสนี้ถือเป็นการเข้ามาเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ดังนั้นบอร์ดต้องศีกษาและหาแนวทาง โดยอาจจะดูจากโมเดลที่เกิดในต่างประเทศเป็นแบบอย่าง "

ชาลอต บอกว่า การเข้ามาถือหุ้นและจะปรับสถานะเป็นรูปแบบใดคงยังไม่พูดถึงในตอนนี้ เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนนั้น เพราะส่วนสำคัญคือ แบงก์ชาติต้องอนุมัติในเรื่องที่จะเสนอไปเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พอจะคาดการณ์ได้ ภายหลังการเข้ามาถือหุ้นของยักษ์ใหญ่จีอี ก็คือ ความได้เปรียบด้านเงินทุน โนว์ฮาวน์ เทคโนโลยี การบริหารงานที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ฝั่งแบงก์กรุงศรีฯมีสาขากว่า 500 แห่ง มีฐานลูกค้าในมือมหาศาล การจะขยับขยายตลาดลูกค้ารายย่อยจึงค่อนข้างราบรื่น

" การขยายธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ต้องมีทั้งสินค้า มีระบบรองรับที่ดี ต้องมีโนฮาวน์ และลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นของจีอีจะช่วยร่นเวลาให้แบงก์กรุงศรีฯวิ่งถึงเส้นชัยเร็วขึ้น"

ความสัมพันธ์ระหว่างจีอีกับแบงก์กรุงศรี เริ่มต้นมาตั้งแต่การร่วมถือหุ้นในธุรกิจบัตรเครดิต ที่รู้จักในชื่อบัตรกรุงศรี-จีอี นายแบงก์ที่เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของจีอีก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารเพื่อรายย่อย (ธย.) หรือ จีอี มันนี่ ถึงกับบอกว่า คนอื่นอาจจะมองว่ากรุงศรีฯได้เปรียบ แต่ถ้ามองให้ลึกจะพบว่า จีอีเป็นฝ่ายที่ถือไพ่เหนือกว่า เพราะฐานลูกค้าและสาขาแบงก์กรุงศรีคือสิ่งที่จีอีต้องการ

การตั้งแบงก์จีอีขึ้นมาเอง และโฟกัสไปที่ตลาดรีเทล ที่ถนัดและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษอาจต้องใช้เงินลงทุนด้าน บุคคลากรและสาขาค่อนข้างมหาศาล แต่การเข้ามาถือหุ้นในแบงก์กรุงศรีฯจะกลายเป็นทางลัดให้จีอีวิ่งได้เร็วกว่าแบงก์คู่แข่งไม่ว่าจะเป็นไทยหรือเทศ

ไม่ว่าคำตอบจะออกหัวหรือก้อย อาจจะควบรวมหรือไม่ก็ตาม แต่ภาพที่เห็นเวลานี้คือ แทบไม่มีพื้นที่ให้แบงก์พันธ์ไทยแท้ได้ยืนหายใจหายคอได้สะดวกเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อน.....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us