Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
ไทยซอฟท์ขาดทุน บทเรียนครั้งสำคัญของแจ็ค             
 


   
search resources

ไทยซอฟท์
กนกวิภา วิริยะประไพกิจ




ตัวเลขขาดทุนจำนวน 5 ล้านบาทของไทยซอฟท์ที่ปรากฏออกมาในไตรมาสที่สอง เป็นการสะท้อนภาพอย่างหนึ่งที่สหวิริยาโอเอต้องเผชิญหน้าอยุ่ในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี

ไทยซอฟท์ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2533 เพื่อรองรับกับธุรกิจทางด้านซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ เพราะแจ็คมองว่า อนาคตของธุรกิจในระยะยาวมีแนวโน้มจะสดใสไม่แพ้ฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ที่ไทยซอฟท์วางจำหน่ายมีทั้งที่เป็นตัวแทนจำหน่ายจากต่างประเทศ คือ โนเวลล์, โลตัส, ออโตแคด และที่พัฒนาาขึ้นเองในไทย อาทิ โปรแกรมบัญชีจีเนียส, ซอฟต์แวร์จัดการระบบภาษาไทย, ระบบงานที่เชื่อมการทำงาน

จนกระทั่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อตลาดมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาท ไทยซอฟท์ก็เริ่มหันไปจับตลาดมัลติมีเดียอีกทาง ด้วยการนำเข้าอุปกรณ์มัลติมีเดียหลายชนิดทั้งซีดี-รอม, ซาวน์บัสเตอร์, ซาลการ์

ผลการดำเนินงานของไทยซอฟท์ที่แล้วมาเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปพอเลี้ยงตัวได้ รายได้ส่วนใหญ่มาจากซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เนื่องจากฐานลูกค้าในส่วนนี้มีอยู่มาก ส่วนโปรแกรมที่ผลิตขึ้นในประเทศมีจีเนียสเป็นสินค้าหลัก

จนกระทั่งเมื่อย่างเข้าปีนี้ รายได้ของไทยซอฟท์กลับลดต่ำลง จนกระทั่งขาดทุน ! นับเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมาย

เพราะการขาดทุนของไทยซอฟท์ในครั้งนี้ สวนทางกับธุรกิจซอฟทืแวร์ที่มีการคาดการณ์กันว่า จะเพิ่มขึ้นอีกมากมายภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไปเมื่อมีนาคมปีที่แล้ว

ผู้บริหารของไทยซอฟท์ประเมินว่า สาเหตุการขาดทุนในครั้งนี้มาจากปัญหาความไม่ศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้ใช้ไม่เห็นประโยชน์จากการเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน

"เราต้องลงทุนเรื่องคนมาตลอด ในการขายโนเวลล์ หรือโปรแกรมบัญชี ตั้งแต่ดีลเลอร์ยันลูกค้า แต่มาถึงวันนี้ทุกคนกลับไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ เงินลงทุนที่เราลงไปก็ไม่เกิดผลกลับมา" แหล่งข่าวกล่าว

ขณะเดียวกันตลาดมัลติมีเดีย ที่เป็นตลาดหลักอย่างหนึ่งของไทยซอฟท์ เกิดความผันผวนอย่างหนัก เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สินค้ามัลติมีเดียที่ไทยซอฟท์สั่งนำเข้ามาไว้ต้องค้างอยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมาก

"เทคโนโลยีของมัลติมีเดียเปลี่ยนเร็วมาก แม้แต่ผู้ผลิตอุปกรณ์มัลติมีเดียในต่างประเทศ ก็ยังต้องเจอกับภาวะเช่นนี้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบมาถึงเราด้วย" แหล่งข่าวในไทยซอฟท์แวร์กล่าว

ปัญหาสำคัญอีกประการที่ผู้บริหารไม่ได้พูดถึง คือ อำนาจต่อรองทางการแข่งขันของไทยวอฟท์ที่ลดลง เนื่องมาจากสินค้าหลักที่ทำรายได้หลักให้กับไทยซอฟท์ คือ โนเวลล์ และ โลตัส มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น เพราะนโยบายของผู้ผลิตทั้งสองสินค้าที่ต้องการเพิ่มตัวแทนขายเพื่อช่วยขยายตลาด ซึ่งล่าสุดโลตัสได้แต่งตั้งให้บริษัทคอมแพคเป็นตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์บนเครื่องเดสก์ทอป และโปรแกรมซีซีเมล์ที่ไทยซอฟท์เคยเป็นตัวแทนขายรายเดียว เพิ่มขึ้นเป็นรายที่สองในตลาด และจะทยอยแต่งตั้งเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ

ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไทยซอฟท์ตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ คือ การลดค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารงานลง โดยเฉพาะในเรื่องคน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ด้วยการโยกย้ายให้พนักงานที่เคยรับผิดชอบสินค้าเหล่านี้ ไปทำธุรกิจทางด้านอื่น ๆ ของสหวิริยาโอเอที่กำลังเกิดขึ้น หรือขยายตัว เช่น ไอทีซิตี้ ธุรกิจซูปเปอร์สโตร์ เวิร์คสเตชั่น และอินเตอร์เน็ต

"เราคุยกันมา 2 ปีแล้ว ไทยซอฟท์จะอยู่ได้ต้องทำเหมือนกับโนเวลในสหรัฐฯ ที่ขายถูกมาก ขายขาดทุน แต่หลังจากนั้นพอใครโทรมาถาม เราเก็บเงินทันทีตามเวลาที่โทร" กนกวิภา สะท้อนความเห็น

การขาดทุนของไทยวอฟท์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของสหวิริยา ที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และเมื่ออำนาจต่อรองของสหวิริยาเริ่มลดน้อยถอยลง

แน่นอนว่า รายได้ส่วนหนึ่งของสหวิริยา ที่จะได้มาจากการลงทุนในบริษัทย่อยคงต้องลดน้อยลงไปอีก เพราะไทยซอฟท์ต้องปรับเป้ายอดรายได้ลง 20%

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ไทยซอฟท์ทำกำไรให้กับสหวิริยาปีละ 20 ล้านบาทมาตลอด

แจ็คชี้แจงว่า สาเหตุสำคัญที่ไทยซอฟท์ขาดทุน คือ คนไทยยังไม่เคยซื้อซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย แม้จะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้คนหันมาเลิกก๊อปปี้ซอฟต์แวร์

นอกจากนี้ เทคโนโลยีของมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นสินค้าหลักอีกชนิดหนึ่งของไทยซอฟท์ มีารเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แม้แต่บริษัทครีเอทีฟ จากสิงคโปร์ ซึ่งเคยเฟื่องฟูมากก็ยังเกือบเอาตัวไม่รอด

แจ็ครู้ดีว่า หากดันทุรังต่อไปคงไม่เป็นผลดีเมื่อธุรกิจไม่เอื้ออำนวยแล้ว ก็ควรจะลดบทบาทในธุรกิจนี้ลง พร้อมกับลดต้นทุนด้วยการย้ายพนักงานของไทยซอฟท์จากที่มีอยู่ 150 คน ให้ลดเหลือเพียง 80 คน ส่วนอีก 70 คนย้ายไปตามส่วนงานอื่น ๆ ที่มีโอกาสทำกำไรมากกว่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us