Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2543
แมรี่แอนผู้หญิง 2 วัฒนธรรม             
 


   
search resources

สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์
แมรี่แอน จิราธิวัฒน์




เสียงระฆัง ที่ไม่ได้ยินมานานดังกังวานใสขึ้นมาจาก International Pre-School Center (IPC) โรงเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กเล็ก ในซอยสุขมุวิท 31 เด็กตัวเล็กๆ ต่างชาติหลายคนกำลังวิ่งกรูเกรียวออกมาจากห้อง เพื่อเตรียมตัวเปลี่ยนวิชาเรียน ในสนามเล็กๆ ด้านข้างโรงเรียนผู้หญิงชาวอังกฤษ ผิวขาวรูปร่างสูงคนหนึ่งกำลังยืนยิ้มแย้มอยู่ท่ามกลางเด็กๆ

ทุกคนทราบว่า เธอคือ แมรี่แอน เป็นเจ้าของโรงเรียนแห่งนี้ แต่หลายคน ก็ไม่ทราบว่า เธอคือ ภรรยาของสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเซ็นทรัลรีเทลคอร์ปอเรชั่น เป็นสะใภ้คนหนึ่งของตระกูลจิราธิวัฒน์ ที่ไม่ได้ทำงานให้กับเครือเซ็นทรัล แต่มามีธุรกิจเล็กๆ ที่เป็นของเธอเอง ที่ทำด้วยความรัก และผูกพันมานานเกือบ 20 ปี

แมรี่แอน เป็นกุหลาบดอกงามของอังกฤษ ได้พบรักกับสุทธิชาติ หนุ่มน้อย ชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งไปเรียนหนังสืออยู่ ที่นั่น ตั้งแต่เธอยังเป็นสาวรุ่น แต่งงาน เมื่ออายุ 21 ปี กลับมาเมืองไทยตอนท้องลูกชายคนโต เมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว จนปัจจุบันมีลูกชายหญิงทั้งหมด 4 คน คือ ชาติ ไท แคทเทอรีน และจีนี

เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยใหม่ๆ เธอก็ได้ช่วยงานของครอบครัว ที่ห้างเซ็นทรัลชิดลม จนกระทั่งวันหนึ่ง สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ พี่ใหญ่ของสามี ผู้ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ได้มอบหมายให้เธอช่วยหาโรงเรียนนานาชาติให้หลานคนหนึ่ง ซึ่งเธอได้ตระเวนหามาหลาย ที่ จนกระทั่งมาติดใจ ที่สาธรเนอร์สเซอรี่ และ ที่นี่เองทำให้เธอตัดสินใจสมัครเข้ามาเป็นครู ด้วยความรักเด็กเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว พร้อมๆ กับแอบมีแผนการในใจว่า ต่อไปจะต้องเป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาลเล็กๆ สักแห่งหนึ่งให้ได้

การตั้งท้องลูกคนที่ 3 เป็นส่วนหนึ่ง ที่ผลักดันให้เธอต้องการทำโรงเรียน เพราะต้องการให้ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งตัวเองสามารถมีเวลาดูแลได้อย่างใกล้ชิดด้วย

โรงเรียนของแมรี่แอน เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ เพราะใช้วิธีเช่าที่ดินในทำเลที่ดี แทน ที่จะลงหลักปักฐานอยู่ ที่ใด ที่หนึ่ง จากแห่งแรกบนถนนสาทร ย้ายไปอยู่ ที่สุขุมวิท ซอย 41 ประมาณ 7 ปี และย้ายไปอยู่สุขุมวิท 11 อีก 9 ปี ส่วน ที่นี่อยู่มาประมาณ 2 ปีแล้ว โดยมีนักเรียนจาก ที่เดิมตามมาเรียนด้วยตลอด

IPC รับเด็กเล็กอายุประมาณ 18 เดือน จนถึง 6 ขวบ ปัจจุบันเป็นเด็กชาติต่างๆ ประมาณ 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ทั้งหมด 70 คน มีเด็กไทยเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสอน และสื่อสาร ดังนั้น เป้าหมายของนักเรียนส่วนใหญ่จะไปต่อเกรด 1 ของโรงเรียนนานาชาติ ส่วนเด็กไทยพอ 3 ขวบก็จะไปเข้าโรงเรียนไทยแล้ว

เด็กๆ แม้ไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาไทยแต่ทางโรงเรียนก็จะมีหัวข้อการศึกษาเกี่ยวกับเมืองไทย เช่น เรื่องการแต่งตัว การรับประทานอาหาร การเรียนรู้วัฒนธรรม ของเมืองไทย โดยเริ่มเรียนตั้งแต่เวลา 8.30 น.-12.00 น. เปิดสอนพิเศษถึงบ่าย 2 อาทิตย์ละ 2 ครั้ง

โรงเรียน ที่มีเด็กนักเรียนไม่ถึง 100 คนนี้ จึงเป็นจำนวน ที่เธอบอกว่าพอใจอย่างมากๆ แล้ว และไม่ต้องการขยายให้ใหญ่ไปมากกว่านี้

บรรยากาศของโรงเรียนเล็กๆ ในเนื้อ ที่เพียงไร่ครึ่งแห่งนี้ จึงดูง่ายๆ สบายๆเหมือนบ้านหลังหนึ่ง ที่มีอาจารย์เจ้าของภาษาประจำอยู่ 7 คน มีพี่เลี้ยงช่วยอีกจำนวน หนึ่ง มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีห้องสมุด ที่มีหนังสือต่างๆ ให้เด็กๆ ได้เพลิดเพลิน ที่สำคัญมีห้องศิลปะ และห้องงานฝีมือ ที่เด็กๆ เหล่านั้น สามารถเข้าไปละเลงฝีมือ เพื่อสรรค์สร้างจินตนาการได้อย่างไม่จำกัดขอบเขต

แมรี่แอน เป็นศิลปินคนหนึ่ง ดังนั้น เธอจึงภูมิใจกับห้อง ARTS เล็กๆ ห้องนี้ ที่เธอเตรียมไว้ให้เด็กๆ อย่างมาก

ในอีกมุมมองหนึ่ง ความเป็นตระกูลใหญ่ ที่ร่ำรวยของจิราธิวัฒน์ ทำไมแมรี่แอนไม่ขยายโรงเรียน ให้ใหญ่โต ในขณะที่ เพื่อนฝูง และญาติพี่น้องหลายคนพร้อม ที่จะร่วมทุน แต่เธอไม่ทำ กลับมีความคิดว่า

“โรงเรียนขนาดนี้ แมรี่แอนชอบ มันเหมือนครอบครัวเล็กๆ ที่มีความผูกพันระหว่างกันที่ดี เมื่อไร ที่ขยายใหญ่มาก มันจะกลายเป็นธุรกิจไป เพราะต้องมีรายจ่ายมากขึ้น ต้องเร่งหาเด็กๆ เข้ามาเพิ่ม มันจะเปลี่ยนไป ตัวแมรี่แอนก็คงต้องให้เวลาเต็มที่กว่านี้ ในขณะเดียวกันตัวเองยังคิดว่ายังมีอะไรในชีวิตอีกมาก ที่ต้องการจะทำ”

นอกเหนือจากงานโรงเรียน ที่เธอยังมุ่งมั่น ที่จะทำต่อไป เรื่องราวชีวิตส่วนตัวของผู้หญิงจากซีกโลกตะวันตกคนนี้ยังน่าสนใจอย่างมากๆ ทีเดียว เธอเล่าให้ “ผู้จัดการ” ฟังอย่างยิ้มแย้มว่า เธออยากเขียนหนังสือเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ตัดสินใจเดินทางมาจากดินแดนหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกันมากมายเหลือเกินในเรื่อง ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และความคิด มาสู่ครอบครัวใหญ่ของคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย

“มา ที่นี่ใหม่ๆ ไปอยู่รวมกัน ที่บ้านศาลาแดง พูดภาษา ไทยไม่เป็นเลย จิราธิวัฒน์เป็นตระกูล ที่มีญาติพี่น้องมากมาย แล้วเขายังเรียกชื่อกันเป็นภาษาจีน ยากมาก คุณสัมฤทธิ์เขา เข้มงวดมากต้องเรียกให้ถูก ให้ไหว้ให้ถูกต้อง เรียกเป็นตำแหน่งภาษาจีน ซึ่งการที่เขาคอยทักท้วง ต้องขอบคุณเขา ที่ทำให้แมรี่เก่งขึ้น”

สังคมความเป็นอยู่ ที่แตกต่างกัน อากาศ ที่ร้อนอบอ้าว รวมทั้งยังเป็นคนท้อง ที่สภาพของจิตใจอ่อนแอกว่าคนปกติทั่วไป เธอเล่าว่า แม้แต่เรื่องอะไร ที่เราจะหัวเราะกับ เพื่อนคนไทย ก็ยังเป็นเรื่อง ที่ไม่ค่อยตรงกัน ทำให้ค่อนข้างปรับตัวได้ยากในช่วงแรกๆ แต่ก็ผ่านมาได้ ด้วยความเข้มแข็งของเธอเอง

วันนี้แมรี่แอนได้กลายเป็นคนไทยคนหนึ่ง ที่ถูกสภาพแวดล้อมหล่อหลอมให้เปลี่ยนไปมาก ทุกคำพูดของเธอจะแฝงไปด้วยความเกรงใจผู้ที่เธอกล่าวถึง จะย้ำเสมอว่า ตัวเองต้องมีความกตัญญู ไม่ทำให้ญาติพี่น้องไม่สบายใจ และนั่นคือ สาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เธอจำเป็นต้องหยุดเขียนหนังสือเล่มดังกล่าว ที่เธอตั้งชื่อไว้แล้วว่า “ขอบคุณ ประเทศไทย” ทั้งๆ ที่เขียนไปได้แล้วประมาณ 60 หน้า นอกเหนือ จากเหตุผลที่ว่า มี เพื่อนทักท้วงเอาไว้ เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นส่วนตัวเกินไป

ดังนั้น ทุกวันนี้เวลา ที่เหลือ แมรี่แอนได้ทุ่มเทให้กับการเป็นศิลปิน เธอชอบวาดรูปด้วยสีน้ำมัน และเคยเรียนพื้นฐานมาบ้างก่อนกลับเมืองไทย และเพิ่งมาศึกษาใหม่อย่างจริงจังเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ที่ชอบวาดก็คือ ภาพหน้าคน และในเดือนพฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ เธอจะมีผลงานแสดงภาพเขียน สีน้ำมันร่วมกับ เพื่อนๆ อีก 3 คน

ที่บ้านศาลาแดง เธอมีสตูดิโอ ซึ่งขณะนี้เวลาส่วนใหญ่จะคลุกคลีอยู่ ที่นั่น หากเมื่อช่างภาพจะขอถ่ายรูป ที่จะให้ถ่ายรูปในห้องนั้น เธอหัวเราะ และบอกว่ามันรกมาก ตัวเองแทบจะเข้าไปไม่ได้ แต่ขณะนี้บ้านใหม่ ที่มวกเหล็กกำลังทำสตูดิโอแห่งใหม่ ที่ใหญ่ และเพดานสูงมาก เพื่อให้เหมาะสำหรับการทำงานศิลปะจริงๆ

เธอตั้งใจจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ ที่นั่น มีความสุขอยู่กับสามี ที่เข้าใจ มีลูกๆ ที่น่ารัก และคอยประสานความเป็นตะวันตกของแม่ และความเป็นตะวันออกของพ่อ ให้ลงตัวมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us