Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 พฤษภาคม 2549
ศึกลิสซิ่งรถยนต์ระอุสารพันเงื่อนไขดันยอดขายทะลุเป้า             
 


   
search resources

Automotive
Leasing
นิสสัน ลีสซิ่ง(ประเทศไทย), บจก.




-บริษัทรถยนต์แห่งเปิดลิสซิ่งของตนเอง หวังใช้เป็นอาวุธหลักถล่มคู่แข่งช่วงยอดขายขาลง
-โตโยต้า เปิดลิสซิ่งกดดาวน์ลงเหลือ 5% ส่วนนิสสันไปตกสุดท้ายเปิดลิสซิ่งสู้ พร้อมใช้ระบบไอทีเพิ่มความรวดเร็ว

การเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคในประเทศไทยจะว่าไปแล้วก็มีอยู่มากมาย หลายประการ แต่หลักๆ ก็จะเป็นเรื่องของรูปร่างรูปทรง รถรุ่นไหนออกแบบได้เข้าตาก็มีวี่แววว่าจะขายได้ดีในตลาด เช่นที่ฮอนด้าแจ๊ส ประสบความสำเร็จในไทยนั้นฮอนด้ายอมรับว่าส่วนสำคัญที่สุดคือรูปทรง และการออกแบบที่ทำให้เป็นรถที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์คนไทย หรือเรื่องของสมรรถนะเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปิกอัพ วีโก้ของโตโยต้าสามารถสร้างยอดขายไล่กวดดีแมคซ์ ของอีซูซุได้อย่างมาก

อย่างไรก็ดี แม้รูปทรงที่โดดเด่น หรือสมรรถนะสูงๆ ของเครื่องยนต์ ก็อาจต้องมีอีกปัจจัยหนึ่งในการช่วยผลักดันยอดขาย นั่นคือระบบลิสซิ่ง หรือการเช่าซื้อรถยนต์ รถยนต์เชฟเรเลตของค่าย เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย หรือ จีเอ็ม เป็นผู้ที่สำแดงศักยภาพของระบบลิสซิ่งให้เห็นจากการปั้นยอดขายที่ทำให้รถยนต์แบรนด์เชฟโรเลตสามารถก้าวข้ามค่ายรถหลายๆ ค่ายขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 ของยอดขายรถยนต์ไทยได้

ความสำเร็จของเชฟโรเลตน่าจะเป็นต้นแบบของการต่อสู้ด้วยเงื่อนไขการเช่าซื้อรถยนต์ที่มีรูปแบบใหม่ เช่น การดาวน์ต่ำ จนถึงออกรถโดยไม่ต้องดาวน์ หรือที่ใช้ชื่อกันว่า ดาวน์ 0% นั่นเอง ขณะที่รูปแบบ และลูกเล่นการตลาดด้านลิสซิ่งของเชฟโรเลตมีการเปลี่ยนรูปแบอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการลิสซิ่งที่เรียกว่าโปรแกรมบอลลูนเปย์เมนท์ คือการให้ลูกค้าสามารถกำหนดงวดผ่อนชำระได้เอง แต่จะมีเพดานขั้นต่ำกำหนดไว้ และเมื่อถึงงวดชำระสุดท้ายก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้านำยอดที่เหลือมาจัดผ่อนได้อีก ในกรณีที่ลูกค้าไม่ต้องการชำระเป็นก้อนงวดสุดท้าย ทำให้ลิสซิ่งถือเป็นถือเป็นอาวุธสำคัญของเชฟโรเลตในเวลานี้

แม้กระทั่งค่ายใหญ่อย่างโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก็ต้องทุ่มงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้กับการตั้งบริษัทลิสซิ่งของตนเองในนาม โตโยต้าลิสซิ่ง แหล่งข่าวจากโตโยต้าระบุว่า การที่รถปิกอัพ ไฮลักษณ์วีโก้ สามารถสร้างยอดขายขึ้นมากดดันอีซูซุ ซึ่งเป็นเจ้าตลาดปิกอัพในไทยมากกว่า 20 ปีนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากรุกตลาดผ่านโตดยต้าลิสซิ่ง โดยโตโยต้าสามารถสร้างเงื่อนไขให้ผู้บริโภคสามารถซื้อรถผ่านระบบลิสซิ่งได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำ 15% เหลือเพียง 5% หรือแม้กระทั่งแคมเปญล่าสุดที่ใช้กับโตโยต้า ยาริส ด้วยการดาวน์ 0% ก็เป็นผลมาจากการมีลิสซิ่งของตนเอง

ไม่เฉพาะเงื่อนไขการดาวน์ต่ำ หรือดาวน์ 0% เท่านั้น แต่การมีลิสซิ่งของตนเองยังช่วยให้สามารถลดภาระการเช่าซื้อให้กับลูกค้าด้วยการให้ดอกเบี้ยที่ต่ำ และการผ่อนชำระที่ยาวนานขึ้น บางค่ายให้ลูกค้าผ่อนชำระกันนานถึง 72 เดือน

สำหรับค่ายนิสสัน ของสยามนิสสัน ออโตโมบิล นั้น แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่มีลิสซิ่งของตนเอง แต่การที่สามารถรักษาฐานลูกค้า หรือปริมาณยอดขายไว้ได้ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะความเข้มแข็งของดีลเลอร์ โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด บางแห่งใช้งบประมาณของตนเองในการทำระบบลิสซิ่ง บางแห่งให้ลูกค้าผ่อนรถด้วยระบบรายวัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการที่นิสสันตัดสินใจ เปิดบริษัท นิสสัน ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) ก็น่าจะเป็นอาวุธทางการตลาดที่จะทำให้แผนการขยายตลาดของนิสสันใน 2-3 ปีข้างหน้าสดใสมากขึ้น ด้วยทุนจะทะเบียน 300 ล้านบาท และการให้บริการสินเชื่อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (IS Application) มาใช้เป็นรายแรกในประเทศไทย นิสสันตค่อนข้างมั่นใจว่าจะเป็นตัวกระตุ้นยอดขายในส่วนหนึ่ง และน่าจะทำให้บรรดาดีลเลอร์ที่มีอยู่ทำตลาดได้อย่างสะดวก สบายขึ้น

กมลเดช บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิสสัน ลีสซิ่ง บอกว่า ได้ทำข้อตกลงกับเครือข่ายบริษัทประกันภัยรถยนต์ชั้นนำ ในการรับทำประกันภัยรถยนต์ของลูกค้าที่ใช้บริการเช่าซื้อด้วย ปัจจุบัน นิสสัน ลีสซิ่ง มีเครือข่ายกับบริษัทประกันภัยหลายบริษัท ได้แก่ นวกิจประกันภัย สินมั่นคงประกันภัย วิริยะประกันภัย นิวแฮมป์เชอร์ประกันภัย ประกันภัยคุ้มภัย และมิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ นอกจากนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และลดภาระในการชำระค่างวดรายเดือน ลูกค้าสินเชื่อของ นิสสัน ลีสซิ่ง สามารถชำระค่างวด โดยหักผ่านบัญชีธนาคาร หรือชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารนครหลวงไทย หรือสามารถชำระค่างวดโดยสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าให้แก่ นิสสัน ลีสซิ่ง (ประเทศไทย)

ในปี 2549 นิสสัน ลีสซิ่ง คาดว่าจะมียอดลูกหนี้เช่าซื้อประมาณ 5,450 สัญญาหรือคิดเป็น 10% จากยอดขายรถนิสสันทั้งหมดในประเทศไทย และภายหลังจากที่ นิสสัน ลีสซิ่ง สามารถวางระบบการให้บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปลายปี 2549 นี้แล้ว คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 คาดการณ์ว่าจะมียอดลูกหนี้เช่าซื้อเพิ่มขึ้นเป็น 24% ของยอดขาย และจะเพิ่มขึ้นเป็น 35% ในปีถัดไป

ทั้งนี้ทิศทางและแนวโน้มการปั้นยอดขาย ผ่านระบบลิสซิ่งของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เอง มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงรูปแบบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก โดยเฉพาะในสภาวะของตลาดที่การขยายตัวลดลงเช่นนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us