|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2549
|
 |

Karim Azizi มาจากอัฟกานิสถาน Abdiaziz Farah จากโซมาเลีย เด็กวัยรุ่น 2 คน จากดินแดนแห่งการสู้รบล้างเผ่าพันธุ์ ความยากแค้น ขาดผู้นำครอบครัว และเส้นทางของการสู้ชีวิตเพื่อความอยู่รอดที่นำมาสู่ประสบการณ์ของชีวิตในอีกซีกโลกหนึ่งของพวกเขา แคนาดา เป็นประเทศที่เขาเลือก เพื่อรากฐานของชีวิตใหม่ที่ต้องเดินกันต่อไป
ทั้งสองเป็นตัวอย่างของวัยรุ่นยุคใหม่ที่ไม่เหมือนวัยรุ่นคนอื่นที่มีเวลาว่างด้วยการหาความสำราญไปวันๆ แต่เขาทั้งสองต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว และเป็นอาสาสมัคร จนได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Recognizing Immigrant Success and Endeavors หรือ RISE Awards ด้านคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นรางวัลให้แก่คนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแคนาดา และประสบความสำเร็จไม่เฉพาะในด้านอาชีพการงานเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสนับสนุนชุมชนและสังคมที่ตัวเองอาศัยอยู่
2006 RISE Awards จัดขึ้นโดย Edmonton Mennonite Centre for Newcomer (EMCN) ซึ่งเป็นปีที่ 3 โดย Jim Gurnett, EMCN Executive Director บอกว่า ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่คนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้มอบความไว้วางใจแคนาดาให้เป็นบ้านของเขา ถือได้ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชีวิตสังคมของ Edmonton ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น รางวัลที่เรามอบให้พวกเขานั้นเหมือนการเรียนรู้ที่สอนพวกเราชาวแคนาเดียนรับรู้ว่า เราจะร่วมกันสร้าง Edmonton และ Canada ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
RISE Awards มีการแบ่งแยกรางวัลไว้หลายประเภท โดยถือหลักการช่วยเหลือ หรือการมีส่วนร่วม และสนับสนุนชุมชนเป็นหลัก เช่น ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านธุรกิจ ด้านการบริการชุมชน และด้านสาธารณสุข การพัฒนาชุมชน และการศึกษา
จากวันที่ Taliban บุกเข้าโจมตีหมู่บ้านของ Karim Azizi ในอัฟกานิสถาน วันนั้นเป็นวันสุดท้ายที่เขาได้เห็นพ่อเมื่อเขาอายุเพียง 12 ปี ครอบครัวของ Karim ที่เหลืออยู่มีเพียงแม่และน้องสาวอีก 6 ชีวิตต้องหนีภัยไปอยู่อิหร่านถึง 5 ปี
Karim เล่าว่า มันเป็นชีวิตที่แสนเข็ญ เพราะเขาเป็นเด็กผู้ชายคนเดียวที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัว ขณะที่เขาอายุเพียง 13 ปี เพราะในอิหร่านเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่สตรีจะหางานทำได้
ขณะนี้ Karim อายุ 21 ปี หลังจากที่เข้ามาอาศัยแคนาดาเป็นที่พึ่งในฐานะผู้ลี้ภัยเมื่อ 2 ปีเศษ เขาขวนขวายหาความรู้ด้วยการเรียนภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับการฝึกฝนด้านวิชาช่าง เพื่อหาประสบการณ์การทำงานไปในตัว ตอนนี้Karim เป็นติวเตอร์ นักแปลภาษาอาฟกัน ทำงานพาร์ตไทม์ และกำลังฝึกงานในวิทยาลัย NorQuest ในเมือง Edmonton
"การที่เราจะมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะแบ่งปันบางสิ่งบางอย่างที่คุณมีอยู่" Karim บอกความนัยของชีวิตที่เขาพบเห็นมา
ขณะที่ชีวิตของ Abdiaziz Farah อพยพมาอยู่ในแคนาดาเมื่อ 2 ปีก่อน จากผลของการต่อสู้ภัยในโซมาเลีย เขาไม่มีโอกาสเข้าโรงเรียนเหมือนเด็กคนอื่น เพราะต้องลี้ภัยอยู่ในแคมป์ในเคนยา แต่เขาชอบเรียนรู้และฝึกฝนจนสามารถสื่อสาร Koran และ Arabic ได้
ทักษะด้านภาษาของ Farah ส่งผลเชื่อมโยงกับการเรียนภาษาอังกฤษเมื่อเขาอาศัยอยู่ที่เมือง Edmonton ใน Alberta และเมือง Hamilton ใน Ontario และความใฝ่รู้ทางด้านภาษาของเขานำสู่เส้นทางในการเป็นอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษให้กับกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่อพยพมาจากชาติซีกแอฟริกา เพราะเป็นดินแดนที่ไม่มีภาษาอังกฤษใช้ในการสื่อสารอยู่เลย
เขาใช้เวลาหลังเลิกเรียนในวันธรรมดาและวันหยุดเสาร์อาทิตย์ในชุมชนโซมาเลีย จนขณะนี้เขามีเพื่อนนักเรียนที่สนใจมาเรียนกับเขามากกว่า 150 คน ขณะที่เขามีวัยเพียง 17 ปี และกำลังเรียนอยู่เกรด 10 ของ Queen Elizabeth High School
Farah ฝันที่จะเป็นผู้นำหรือครู เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้ พร้อมทั้งกล่าวทิ้งท้ายว่า
"Let say when you born you don't have anything. If you want to be someone you have to work hard. I try my best until I reach my goal"
Charan Khehra ได้รับรางวัลด้าน Lifetime Achievement บอกว่า ชีวิตคือการเดินทางด้วยการทำงานอย่างมีเป้าหมาย และการแก้ไขปัญหาที่จะนำมาสู่ประสบการณ์ของการเรียนรู้ การเล็งเห็นถึงโอกาสของคุณค่าการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
Charan มาจากอินเดีย เมื่อปี 1975 เขาเป็นนักการศึกษา นักวิจัย นักเศรษฐศาสตร์ รวมถึงประสบการณ์การทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ใน Alberta ในการช่วยเหลือสนับสนุนให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแคนาดาได้แสดงออกถึงสิทธิทางด้านสังคม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีการให้รางวัลให้แก่ภาคธุรกิจที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนชุมชนด้วย เช่น 101.7 World FM ได้รับรางวัลในการสนับสนุนชุมชนทางด้านศิลปและวัฒนธรรม เนื่องจากมีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางวิทยุด้านข่าวสาร การบริการชุมชน ความบันเทิงมากกว่า 22 ภาษา ทั้งนี้เพื่อให้คนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยได้เกิดความรู้สึกว่า Edmonton เหมือนบ้านของตัวเองอีกหลังหนึ่ง
ส่วนรางวัลทางด้านธุรกิจนั้น เป็นของบริษัท All Weather Windows ที่สนับสนุนสังคมด้วยการว่าจ้างแรงงานชาว Immigrants มากกว่า 60% โดยมีการส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการทำงานเพื่อลูกจ้าง เช่น ช่วยเหลือด้านการบริการแปลภาษาระหว่างการจ้างงาน การสัมภาษณ์ การอบรมภาษาอังกฤษในบ้าน การมีสื่อทางวิทยุและสิ่งพิมพ์ภายในองค์กร และให้ลูกจ้างเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน
All Weather Windows สร้างรากฐานที่เมือง Edmonton และขยายสาขาไปสู่เมือง Saskatoon, Calgary, Vancouver, Kelowna, Regina, Toronto, Red Deer และ Lethbridge
รางวัลในการสนับสนุนชุมชนด้านการบริการทางมนุษยชนและการศึกษาเป็นของ Marlene Mulder เธอเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ University of Alberta ที่สนใจและมีส่วนร่วมในการวิจัยด้านผู้ลี้ภัย คนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยในแคนาดา การช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนชาวโซมาเลียที่อยู่ในค่ายลี้ภัยและพลัดหลงจากพ่อแม่ รวมถึงการพัฒนาโครงการช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียจากภัยต่างๆ ด้วย
Mulder บอกว่า ความสำคัญของรางวัลนี้น่าจะมีความหมายมากกว่านี้ ถ้าเธอสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการทำสังคม Canada ให้น่าอยู่ร่วมกัน
หันมาฟังหนึ่งในกรรมการในการตัดสินรางวัล RISE Awards อย่าง Bob Bowhay General Manager of CoSyn Technology บอกเราว่า เป็นเรื่องยากมากในการพิจารณาว่า ใครควรจะได้รับรางวัลไหน เพราะผู้เข้าชิงรางวัลคราวนี้ต่างมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชนไม่ด้อยกว่ากัน ทำให้คณะกรรมการต้องหันมาชั่งน้ำหนัก และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่า ผู้ใดสามารถแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการเข้าถึงชุมชนได้มากที่สุด
"ถือเป็นเกียรติและเป็นโอกาสที่ดีที่ผมเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา เพราะมันคือประสบการณ์ของผู้คนที่เราได้เรียนรู้ และถือเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจที่เขาเหล่านั้นเป็นชาวต่างชาติ แต่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมให้น่าอยู่ ซึ่งชาวแคนาเดียนอย่างผมต้องพิจารณาตัวเอง"
งานคืนนั้นไม่ต่างไปจากงานเลี้ยงประกาศรางวัลโดยทั่วไป หากแต่จะแปลกแยกไปบ้างคงเป็นสาระของงานที่มีผู้คนจากมุมโลกต่างๆ ผลัดกันมาเล่าเรื่องราวชีวิต ประสบการณ์ที่ต้องหันมาบอกตัวเองว่า วันนี้เราทำอะไรเพื่อคนรอบข้างบ้าง
|
|
 |
|
|