|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2549
|
|
โทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในนวัตกรรมสมัยใหม่ที่มี turn over rate ในระดับสูงมาก เพียงแค่ช่วงเวลาข้ามเดือนจะมีโทรศัพท์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดรวมกันทุกค่ายแล้วไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น ที่นำเอาเทคโนโลยีในสาขาอื่นมาผนวกใส่เครื่องโทรศัพท์มือถือด้วยดีไซน์ล้ำสมัยในราคาที่ใครก็เป็นเจ้าของได้
สองตัวอย่างล่าสุดของเทคโนโลยีในโทรศัพท์มือถือที่ออกใหม่รับฤดูใบไม้ผลิ ได้แก่ (1) One Seg โดย Docomo เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ISDB-T (Integrated Services Digital Boardcasting Terrestrial) ซึ่งได้เข้ามาทดแทนระบบ analog
ระบบ ISDB-T ที่ว่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะและเริ่มแพร่ภาพ Hi-Vision มาตั้งแต่ปลายปี 2003 ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นได้ขานรับแผนพัฒนาดังกล่าวโดยการพัฒนา Plasma TV, LCD TV ที่มี digital tuner รองรับการขยายช่อง TV ที่จะเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบช่อง
ไม่เพียงเท่านั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวยังได้เตรียมแผนเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก กล่าวคือ โทรทัศน์ที่มี digital tuner แบรนด์ญี่ปุ่นนั้นสามารถใช้ได้กับระบบ Advanced Television System Comittee (ATSC) ในอเมริกาเหนือและระบบ Digital Video Broadcasting Terrestrial (DVB-T) ในภาคพื้นยุโรปได้อีกด้วย
มาถึงปี 2006 ระบบ ISDB-T ได้รุกหน้าเข้าสู่โทรศัพท์มือถือญี่ปุ่นและโทรทัศน์แบบพกพา โดยแต่ละช่องสถานีมีสัญญาณที่ครอบคลุมช่วงความถี่ทุก 6 MHz ซึ่งแบ่งเป็น 13 segment ในจำนวนนั้น 12 segment ใช้ส่งสัญญาณภาพดิจิตอลไปยังโทรทัศน์บ้านและที่เหลือ 1 segment (เป็นที่มาของคำว่า One Seg) ใช้แพร่ภาพมายังโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถลดคลื่นรบกวนทำให้ได้ภาพและเสียงในระบบดิจิตอลที่คมชัดและประหยัดพลังงาน
ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้มีโทรศัพท์มือถือบางรุ่นที่สามารถดู TV ได้ก็ตาม แต่ยังต้องอาศัยดาวน์โหลดจากเว็บที่ให้บริการโดยเฉพาะและมีรายการที่จำกัดซึ่งแตกต่างจาก One Seg ที่สามารถเปิดดูได้ทุกรายการเหมือนกับโทรทัศน์ที่บ้านทุกอย่างและถือเป็นต้นกำเนิดของ Television Mobile Phone ที่แท้จริง
สาระสำคัญของบริการ One Seg ไม่ได้อยู่แค่ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว การติดตามรายงานข่าวสดชนิดนาทีต่อนาที ในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ เช่น พายุไต้ฝุ่นหรือแผ่นดินไหว เมื่ออยู่นอกบ้านนั้นน่าจะก่อเกิดประโยชน์อย่างมากกับผู้ใช้บริการ One Seg
(2) Lismo โดย AU เป็น การนำเทคโนโลยี MP3 มาใส่ไว้ในโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะเครื่องรุ่น W41T Music-HDD (Toshiba) ที่มีความจุถึง 4 GB เครื่องรุ่นใหม่ในระบบ WIN ของ AU สามารถดาวน์โหลดเพลงจาก Lismo Music Store หรือ sync เพลงจากซีดีผ่าน AU Music Port บนเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกันกับ iTunes
นับวันจำนวนผู้ใช้บริการ Lismo มีแต่จะเพิ่มขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะ Lismo Music Store มีเพลงที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าญี่ปุ่นมากกว่าใน iTunes Music Store อีกทั้งยังสะดวก ไม่ต้องพกพาทั้งโทรศัพท์และ MP3 หากแม้ต้องการจะเปลี่ยนเครื่องรุ่นใหม่ก็ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการในราคาที่ถูกกว่าซื้อ iPod เป็นไหนๆ
ทุกวันนี้เครื่องโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ไม่มีกล้องดิจิตอลขนาด 2 ล้านพิกเซลขึ้นไป หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยี Felica สำหรับโทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์และ/หรือ 3G (Vodafone) ก็คงจะขายได้ค่อนข้างลำบากอย่างไม่ต้องสงสัย
นอกจากนี้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่นขยายวงกว้างครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเด็กประถม ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้าง awareness ให้กับสังคมในประเด็นด้านความปลอดภัยเป็นหลัก
โรงเรียนประถมหลายแห่งอนุญาตให้นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือได้ภายใต้ความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง ครูและเด็กนักเรียน ในขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกระเบียบวินัยและมารยาทการใช้โทรศัพท์มือถือในที่สาธารณะสำหรับเด็กอย่างเช่นการไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างการเรียนการสอน (หากจำเป็นต้องขออนุญาตก่อนใช้) การเปิดระบบสั่นในที่สาธารณะ แถมยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เด็กจดจำอักษรคันจิได้มากขึ้น
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือเครื่องโทรศัพท์สำหรับเด็กนั้นมีระบบที่ใช้ติดต่อกับดาวเทียม GPS ซึ่งครอบคลุมทุกพื้นที่ในญี่ปุ่นช่วยให้ผู้ปกครองทราบตำแหน่งของเด็กจากโทรศัพท์มือถือของตัวเองได้ตลอดเวลา
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ว่าโทรศัพท์มือถือจะก้าวล้ำไปไกลเพียงใดก็ตามทุกอย่างจำต้องจบลงเมื่อยามแบตเตอรี่หมด
โดยปกติแบตเตอรี่ในโทรศัพท์มือถือของญี่ปุ่นสามารถใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ย 200 นาที และ standby ได้กว่า 10 วันต่อการชาร์จหนึ่งครั้งแต่ด้วยลูกเล่นมากมายในเครื่อง อาจเป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่หมดเร็วโดยเฉพาะในยามจำเป็น
กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกและน่ากังวลแต่อย่างใด เพราะ (อย่างน้อย) ภายในร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศจะมีเครื่องชาร์จแบตเตอรี่สำรองจำหน่ายในราคาประมาณ 700 เยน มีทั้งแบบใช้ได้ครั้งเดียวและแบบเปลี่ยนถ่านก้อนได้ซึ่งจะมีราคาแพงขึ้นอีกเล็กน้อย
กระนั้นก็ดีท่ามกลางสภาวะการแข่งกันสร้างนวัตกรรมโทรศัพท์มือถือที่รุนแรงขึ้นทุกที Sanyo ได้ใช้ความชำนาญในการผลิตแบตเตอรี่ที่มีอยู่แล้วผลิต mobile Lithium-ion battery (รุ่น KBC-L1) ออกมาเป็นรายแรกโดยเริ่มเจาะตลาดในกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์ Foma ของ Docomo
KBC-L1 (Sanyo) เป็น Lithium-ion battery มีคุณสมบัติเหมือนแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือทุกประการ สามารถชาร์จซ้ำได้ 500 ครั้ง เมื่อชาร์จ KBC-L1 (จากปลั๊กไฟบ้านซึ่งใช้เวลา 4 ชั่วโมง) เต็มแล้วสามารถพกพาไปชาร์จใส่โทรศัพท์มือถือได้ 2 ครั้ง ซึ่งเท่ากับว่ามีอายุการใช้งานได้ 1,000 ครั้ง
ราคา price list ตั้งไว้ที่ 7,140 เยนแต่ในความเป็นจริงสามารถซื้อหาได้ในราคาประมาณ 4,000 เยน เมื่อคิดค่าใช้จ่ายต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพียง 4 เยนนั้น ถูกและดีกว่าอย่างเทียบไม่ได้กับเครื่องชาร์จแบตเตอรี่สำรองแบบเก่าที่ขายตามร้านสะดวกซื้อในราคา 700 เยน อีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและลดปริมาณขยะเคมีของแบตเตอรี่ได้
คุณสมบัติเด่นอีกประการของ KBC-L1 คือระบบตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ทราบได้จากจังหวะกะพริบของหลอดไฟ LCD
จากการตอบรับและกระแสเรียกร้องของตลาดใหม่นี้คาดว่าจะมี Lithium-ion battery สำหรับโทรศัพท์มือถือกลุ่มอื่นตามมาอย่างแน่นอนและยังเป็นการแนะช่องทางใหม่สำหรับแหล่งพลังงานสำรองให้กับเครื่องพกพาอื่นๆ เช่น DVD, MP3 หรือแม้กระทั่งโน้ตบุ๊ก
แม้ Lithium-ion battery จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ก็ตาม แต่ไอเดียใหม่นี้สร้างโอกาสทองและช่องทางธุรกิจให้กับ Sanyo ที่มองเห็นภูเขาหลังเส้นผมได้ก่อนใคร
|
|
|
|
|