Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549
ครึ่งวันในฟาร์มแพะ             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท มาบุญครอง แดรี่ โกทส์ จำกัด (นมแพะศิริชัย)

   
search resources

Agriculture
Dairy Product
มาบุญครอง แดรี่ โกทส์, บจก.
สุรวุฒิ บูลกุล




เดินทางกว่า 3 ชั่วโมง ฟาร์มแพะเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ ที่โอบด้วยเทือกเขาตะนาวศรีก็ปรากฏเบื้องหน้า หลังจากเจ้าหน้าที่แนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับฟาร์มแพะ ก็ได้เวลาที่รอคอย ปกติฟาร์มแพะแห่งนี้จะไม่เปิดให้คนนอกเข้าไปง่ายๆ ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสพิเศษ

ทุกคนต้องเปลี่ยนรองเท้าเดินผ่านม่านน้ำยาเพื่อฆ่าเชื้อก่อนเข้าสู่ฟาร์มแพะ ถึงจะเป็นรองประธานกรรมการบริหารอย่างสุรวุฒิก็ไม่ยกเว้น

"กลิ่นแพะตัวผู้จะแรงกว่าแพะตัวเมีย" สุรวุฒิเริ่มต้นเกริ่น เป็นการสื่อว่านี่คือโรงเรือนของแพะพ่อพันธุ์

ความพิเศษแรกเริ่มต้นด้วยการโชว์รีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ ซึ่งใช้ในการผสมเทียม

เริ่มต้นจากนำตัวล่อมาที่หน้าคอก โดยตัวล่อนี้ไม่ใช่แพะตัวเมีย แต่เป็นแพะตัวผู้ที่มีนิสัยเจ้าสำอาง รักสะอาด ขนขาวผิดวิสัย ซึ่งบางครั้งก็อาจต้องเร่งความเป็นกะเทยให้ตัวล่อด้วยการฉีดฮอร์โมนเพศเมียเข้าไปเสริม

เหตุที่ต้องใช้แพะเพศผู้มาล่อก็เพราะว่า แพะตัวผู้ไม่มีช่องคลอด พ่อพันธุ์จึงไม่สามารถใส่อวัยวะเข้าไปได้ ถือเป็นการป้องกันโรคติดเชื้อและป้องกันการเสียอสุจิอย่างไม่คุ้มค่า เพราะน้ำเชื้อที่ได้จากพ่อพันธุ์หนึ่งตัว สามารถนำไปผสมน้ำยาเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อไปฉีดให้ตัวเมียได้ถึง 10 ตัว เป็นการเพิ่มจำนวนแพะอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันก็ถือเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำนมแพะ เพราะแม่พันธุ์ที่เพิ่งคลอด 3 เดือนแรก จะให้น้ำนมในปริมาณที่มากเป็นพิเศษ โดยแพะจะตั้งท้องเพียงแค่ 5 เดือน ระหว่างนี้จะมีช่วงที่ให้น้ำนมไม่ได้อยู่แค่ 2 เดือน นี่จึงเป็นเหตุให้ต้องใช้น้ำเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อแพะพ่อพันธุ์เห็นตัวล่อแล้วเกิดอารมณ์ก็จะขึ้นขี่ ตอนนี้เจ้าหน้าที่จะใช้อวัยวะเพศเทียมใส่เข้าไปที่อวัยวะเพศของแพะพ่อพันธุ์ ช่วงเวลานี้ห้ามกะพริบตา เพราะเพียงแค่ 2 วินาทีก็เสร็จกระบวนการ

ต่อจากนั้นก็ได้ไปเยี่ยมชมโรงเรือนของแพะตัวเมีย ซึ่งเป็นประชากรแพะส่วนใหญ่ของฟาร์มนี้

โรงเรือน 2 ชั้น เป็นการแก้ปัญหาความแตกต่างของอากาศระหว่างกลางวันที่ร้อนจัด กับกลางคืนที่หนาวมาก ในยามบ่ายเช่นนี้ แพะจะนิยมลงมานอนเล่นอยู่ชั้นล่างเพื่อรับไอเย็นจากพื้นดิน

แพะพันธุ์ซาเนนจัดเป็นแพะนมที่ดีที่สุด เพราะตัวหนึ่งสามารถให้นมได้ถึง 3 กก.ต่อวัน ให้ได้ร่วม 300 วันต่อปี และให้ได้ตลอด 8-10 ปี หรือเกือบชั่วอายุเลยทีเดียว ขณะที่แพะพื้นเมืองของไทยจะให้นมได้แค่ 1 กก.ต่อวัน ให้ได้แค่ 90 วันต่อปี และให้ได้ไม่กี่ปี

อย่างไรก็ดี พันธกิจหนึ่งของฟาร์มแพะศิริชัยตอนนี้ก็คือการพัฒนาสายพันธุ์ของตัวเอง เพื่อให้มีลักษณะที่ทนต่อสภาพอากาศเมืองไทยเหมือนแพะพื้นเมือง แต่ให้นมมากเหมือนแพะแม่พันธุ์นำเข้า

ความพิเศษต่อมาคือการโชว์รีดนมแพะ

แพะแม่พันธุ์กว่า 20 ตัว ถูกปลุกให้เดินเรียงแถวเข้าสู่โรงรีด แม้จะไม่ใช่เวลาที่คุ้นเคย เพราะปกติจะรีดนมกันในตอนเช้าและเย็น แต่แม่แพะสาวก็เดินตามก้นกันไปอย่างเป็นระเบียบ เพื่อไปเข้าแถวรอเจ้าหน้าที่เซตเครื่องรีดนมจนพร้อม

เสียงเดินเครื่อง ประตูกั้นถูกเปิด แพะสาวหัวแถวเดินนำขึ้นไปในช่องแรก ตัวที่สองเดินเข้าช่องถัดไปไล่ไปเรื่อยๆ แต่ก็มีแพะบางตัวแอบแตกแถวเลือกช่องที่มีอาหารเยอะกว่า ทำให้แพะตัวสุดท้ายเดินหาช่องว่างที่เหลืออยู่นาน โดยมีผู้คนมองดูด้วยความทึ่งในความแสนรู้ของเหล่าแพะสาว

ถาดอาหารด้านหน้าดึงดูดความสนใจของแพะได้ดี ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็รีบทำความสะอาดเต้านมก่อนจะใส่เครื่องรีดระบบดิจิตอลที่มีเซนเซอร์รับน้ำนม ซึ่งจะหยุดรีดอัตโนมัติถ้าน้ำนมหมดแล้ว เพื่อป้องกันเต้านมอักเสบ

น้ำนมแพะถูกลำเลียงจากท่อรีดผ่านเครื่องทำความเย็น ก่อนจะเข้าไปเก็บที่ถังพักนม ทำให้นมมีอุณหภูมิ 2-4 องศา โดยไม่ต้องสัมผัสกับอากาศ ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นสาบและไม่มีเชื้อโรคปนเข้าไป เพราะความสะอาดตรงนี้นี่เอง นมแพะพาสเจอร์ไรส์ของศิริชัยจึงเก็บได้นานกว่านมแพะทั่วไป

หมดหน้าที่ แพะสาวทั้ง 20 กว่าตัวก็เดินตบเท้ากลับโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ

ด้วยเงินลงทุนหลักล้านกับเครื่องรีดนมแพะ ทุกวันนี้ที่ฟาร์มแห่งนี้สามารถรีดนมแพะ 2 พันกว่าตัวภายในเวลา 2 ชั่วโมง โดยรีดวันละ 2 ครั้ง สามารถผลิตน้ำนมแพะได้ถึง 6 ตันต่อวัน หรือราว 3 หมื่นขวดต่อวัน

เสร็จแล้วน้ำนมแพะร่วม 6 ตันต่อวัน จะถูกขนส่งทุกเช้าเข้าสู่โรงงานพาสเจอร์ไรส์ที่ปทุมธานี

หลังจากชมกระบวนการรีดนมแพะแล้ว สุรวุฒิก็นำลูกทัวร์ออกจากฟาร์มแพะ ก่อนที่จะพาขึ้นเนินไปชมทัศนียภาพที่งดงามของฟาร์ม พร้อมกับกล่าวด้วยความหวังว่า "ที่ว่างๆ ตรงโน้นเราเตรียมไว้สำหรับขยายฟาร์ม หลังจากนมแพะยูเอชทีศิริชัยได้รับความสำเร็จ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us