|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2549
|
|
ราคาหุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ส่อแววแกว่งตัวผันผวนยิ่งขึ้นหลังตลาดอนุพันธ์เปิดทำการ เหตุนักลงทุนต่างชาติและสถาบันเข้าเก็งกำไรข้ามตลาด
หลังจากที่ทำท่าว่าจะต้องเลื่อนวันเปิดทำการออกไปอีกครั้งจากสาเหตุของความไม่พร้อม สุดท้าย กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของตลาดอนุพันธ์ ต้องออกมาประกาศไม่ยอมเลื่อนอีกแล้ว ทำให้ตลาดอนุพันธ์เปิดซื้อขายวันแรกได้เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา
บรรยากาศวันเปิดทำการนอกจากกิตติรัตน์แล้วยังมี ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปจนถึงผู้บริหารหน่วยงานด้านตลาดทุนของประเทศพร้อมหน้าทั้ง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการตลาดอนุพันธ์
การเปิดทำการตลาดอนุพันธ์เป็นความหวังของคนในแวดวงตลาดเงินตลาดทุนที่จะใช้เป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน นอกเหนือจากโอกาสในการทำกำไร โดยตลาดอนุพันธ์นับเป็นพัฒนาการที่สำคัญของระบบการเงินต่อเนื่องจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เปิดทำการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 และการซื้อขายตราสารหนี้ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547
SET 50 Index Futures เป็นสินค้าตัวแรกที่มีการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ โดยมีสัญญา 4 อายุด้วยกัน ได้แก่ สัญญาที่หมดอายุในเดือนมิถุนายน กันยายน ธันวาคม 2549 และมีนาคม 2550 สำหรับปริมาณการซื้อขายในวันแรกที่เปิดทำการยังซบเซา สอดคล้องกับการประเมินของบรรดาโบรกเกอร์ก่อนหน้านี้ที่เชื่อว่านักลงทุนจะรีรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อนที่จะเข้ามาทดลองลงทุน โดยวันแรกมีการซื้อขายทั้งสิ้น 161 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาที่ครบกำหนดเดือนมิถุนายน 152 สัญญา กันยายน 8 สัญญา ธันวาคม 1 สัญญา ส่วนสัญญาในเดือนมีนาคม 2550 ไม่มีการซื้อขาย
เมื่อมองจากมุมของนักลงทุน ตลาดอนุพันธ์นอกจากจะมีความน่าสนใจในตัวเองแล้ว ยังเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอีกด้วย เนื่องจากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET 50 จะส่งผลต่อราคา SET 50 Index Futures ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนต่างประเทศที่จะทำกำไรจากการลงทุนข้ามตลาด ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง
ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนซื้อ SET 50 Index Futures ไว้แล้วเข้าไล่ซื้อหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อดันดัชนี SET 50 ให้สูงขึ้นแล้วขายทำกำไรได้ทั้ง 2 ตลาด หรืออาจเป็นการขาย SET 50 Index Futures ไว้ก่อน แล้วไปขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพื่อกดดัชนีให้ต่ำลง ก่อนจะซื้อคืนในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อทำกำไรจาก SET 50 Index Futures
ด้วยเหตุนี้หุ้นขนาดใหญ่จึงมีโอกาสที่ราคาจะแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้ครบกำหนดสัญญา SET 50 Index Futures
"ผู้จัดการ" รวบรวมรายชื่อหุ้นขนาดใหญ่ 15 อันดับแรกในดัชนี SET 50 ซึ่งมีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 75% ของมูลค่าตลาดทั้งหมดของดัชนี SET 50 เพื่อเปรียบเทียบราคาระหว่างวันที่ 27 เมษายน ซึ่งเป็นวันก่อนเปิดทำการตลาดอนุพันธ์และราคาหุ้นในวันที่ 18 พฤษภาคมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นเหล่านี้และ SET 50 Index Futures ก่อนครบกำหนดงวดมิถุนายน 2549
SET 50 Index Futures งวดมิถุนายน 2549 มีการปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ที่เริ่มเปิดให้ซื้อขายสะท้อนถึงความคิดของนักลงทุนที่เชื่อว่าดัชนี SET 50 ในเดือนมิถุนายนจะมีการปรับตัวลงจากช่วงปลายเดือนเมษายน ซึ่งในที่สุดก็ส่งผลมาสู่ราคาหุ้นขนาดใหญ่ใน SET 50 ที่มีการปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ โดยในช่วงเวลาตั้งแต่ 28 เมษายนถึง 18 พฤษภาคม มีหุ้นขนาดใหญ่ใน 15 อันดับแรกของดัชนี SET 50 เพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นคือ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ที่ราคาเพิ่มขึ้น 6.78% และท่าอากาศยานไทย ราคาเพิ่มขึ้น 8.7%
ส่วนหุ้นที่ราคาปรับลดลงมากที่สุดได้แก่ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ราคาลดลง 15.2% และปูนซีเมนต์นครหลวง ราคาลดลง 14.89%
|
|
|
|
|