Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549
โรงกลั่นค่าย ปตท.             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

 
Charts & Figures

ฐานะการเงินโรงกลั่นน้ำมันระยอง


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Oil and gas
โรงกลั่นน้ำมันระยอง, บมจ.




ในยุคน้ำมันแพงเช่นปัจจุบันถือเป็นโอกาสดีสำหรับโรงกลั่นน้ำมันระยอง ที่จะอาศัยจังหวะนี้เข้าตลาดหุ้น เพื่อนำเงินที่ได้ไปลงทุนขยายธุรกิจตามที่วางแผนเอาไว้

บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) ระดมทุนโดยการขายหุ้นจำนวนทั้งสิ้น 1,379.5 ล้านหุ้น แบ่งให้นักลงทุนรายย่อย 479.5 ล้านหุ้น นักลงทุนสถาบันในประเทศ 220 ล้านหุ้น ส่วนที่เหลือเป็นของนักลงทุนต่างประเทศ โดยเตรียมหุ้นสำหรับการจัดสรรส่วนเกิน (Greenshoe Option) ในกรณีที่นักลงทุนให้ความสนใจมากกว่าที่เตรียมไว้อีก 200 ล้านหุ้น

หลังจากการกระจายหุ้นครั้งนี้จะทำให้ ปตท.ลดสัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันระยอง จาก 99.99% เหลือประมาณ 46.66% โดยมีระยะเวลาห้าม ปตท.ขายหุ้นส่วนที่เหลือในเวลาหนึ่งปีครึ่ง นอกจากนี้ในสัญญากู้เงินของโรงกลั่นน้ำมันระยองยังมีเงื่อนไขที่กำหนด ให้ ปตท.ต้องถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 45%

โรงกลั่นน้ำมันระยองก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยมีเชลล์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 64% และ ปตท.ถือหุ้น 36% ด้วยงบลงทุนในขณะนั้น 2,250 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินกู้ 1,500 ล้านดอลลาร์และทุน 750 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จและเริ่มทำการผลิตได้เพียงไม่นาน รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งในที่สุด ปตท. ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจากเชลล์และกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงผู้เดียว

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ที่เข้าร่วมชี้แจงข้อมูลการขายหุ้นโรงกลั่นน้ำมันระยองกล่าวเน้นย้ำอยู่หลายครั้งว่า สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ในโรงกลั่นน้ำมันระยองภายหลังการเข้าตลาดหุ้นยังมีจำนวนมากกว่าการถือหุ้นเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งบริษัท ดังนั้นการเข้าตลาดหุ้นครั้งนี้จึงไม่ใช่การลดสัดส่วนหุ้นของ ปตท. แต่อย่างใด

ธุรกิจหลักของโรงกลั่นน้ำมันระยอง ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป โรงกลั่นของบริษัทมีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ 145,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 14.3% ของกำลังการกลั่นทั้งหมดของไทย โดยเงินที่ได้จากการขายหุ้นในครั้งนี้จะนำไปใช้ขยายกำลังการผลิตมูลค่าโครงการรวมประมาณ 560 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้บริษัทเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 65,000 บาร์เรลต่อวัน และยังสามารถผลิตรีฟอร์เมต ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมีส่งต่อให้บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

โครงการขยายกำลังการผลิตดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2551 โดยไม่มีความเสี่ยงในเรื่องการหาวัตถุดิบและการตลาดแต่อย่างใด เนื่องจาก ปตท.เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้ทั้ง 100% ขณะเดียวกันผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้ทั้งรีฟอร์เมตและน้ำมันสำเร็จรูปจะจำหน่ายให้กับอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) และ ปตท.ทั้งหมด

ผลการดำเนินงานของโรงกลั่นน้ำมันระยองถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 89,215 ล้านบาทในปี 2546 มาเป็น 117,106 ล้านบาท และ 142,766 ล้านบาทในปี 2547 และ 2548 ตามลำดับ ขณะที่ไตรมาส 1 ปีนี้มียอดขายจำนวน 44,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว 35%

ส่วนของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติเพิ่มขึ้นจาก 3,991 ล้านบาทในปี 2546 มาเป็น 7,616 ล้านบาทและ 6,568 ล้านบาทในปี 2547 และ 2548 โดยสาเหตุที่กำไรของปีที่แล้วลดต่ำลงเป็นผลมาจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงไตรมาส 4 เป็นเวลา 36 วัน

"การซ่อมใหญ่จะทำทุก 4 ปี ครั้งต่อไปในปี 2010 เพราะฉะนั้นจนถึงตอนนั้นจะไม่มีการ shutdown ใหญ่ เลยสามารถกลั่นได้เต็มที่" ชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่โรงกลั่นน้ำมันระยองกล่าว

สำหรับกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติงวดไตรมาสแรกปีนี้มีจำนวน 2,337 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว 43%

นโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจของโรงกลั่นน้ำมันระยอง จะยังคงเน้นที่การกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจหลัก โดยใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากอายุโรงกลั่นเพียง 10 ปี ถือว่ามีความทันสมัยและเป็นโรงกลั่นเดียวในประเทศที่ใช้น้ำมันดิบจากตะวันออกกลางในการกลั่นได้ทั้ง 100% ขณะเดียวกันการขยายการลงทุนจะพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ไม่ต่ำกว่า 15% ขึ้นอยู่กับลักษณะการลงทุนของแต่ละโครงการ

ชายน้อยกล่าวถึงจุดเด่นของโรงกลั่นน้ำมันระยองตั้งแต่มี ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ให้การสนับสนุนทั้งการจัดหาวัตถุดิบ 100% ตามราคาตลาดและยังรับซื้อน้ำมันสำเร็จรูปในสัดส่วน 80% ที่ราคาตลาดในประเทศ นอกจากนี้ความต้องการน้ำมันยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งในประเทศและทั่วโลก ขณะที่การเพิ่มซัปพลายยังต้องใช้เวลา เนื่องจากการสร้างโรงกลั่นใหม่ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us