Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549
มหกรรมดอกเบี้ยเงินฝาก             
 


   
search resources

Banking and Finance




หากต้องการพิสูจน์ผลสำเร็จของนโยบายดอกเบี้ยสูงจากธนาคารแห่งประเทศไทย อาจต้องมองไปที่งานมหกรรม Money Expo ซึ่งในปีนี้ผลิตภัณฑ์เงินออมเริ่มโดดเด่นขึ้นเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่งานมหกรรมทางการเงินนี้ได้เปิดตัวเมื่อ 6 ปีก่อน

งาน Money Expo 2006 เปิดตัวเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม และปิดตัวลงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วยผลงานที่มียอดตัวเลขธุรกรรมการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นจากงานนี้สูงถึง 60,000 ล้านบาท และมีคนเข้าร่วมชมงานมากถึง 600,000 คน

สีสันในงานเป็นไปตามคอนเซ็ปต์ "Color of Life" โดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 140 แห่ง ต่างใช้สีประจำองค์กรมาเป็นสีหลักประจำบูธ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ เน้นสีม่วง โดยเป็นธนาคารแรกที่เปิดตัวงานอย่างอลังการฉลองครบรอบอายุ 100 ปี แบบไม่เกรงใจสีน้ำเงิน ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งตั้งบูธประชันอยู่ตรงหน้า

ส่วนธนาคารสีเหลือง กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งบูธเยื้องไปทางด้านหลังของธนาคารไทยพาณิชย์เล็กน้อยก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะปีนี้มาพร้อมกับความชัดเจนในคอนเซ็ปต์ Entertainment Banking โดยเริ่มต้นเปิดตัวกันด้วยมินิคอนเสิร์ตบนเวทีลอยฟ้าของน้องออฟ พ่อกระรอกน้อยแห่งอะคาเดมี แฟนตาเซีย ซีรี่ส์ 2 ขนาดที่ว่า วิจิตร สุพินิจ ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังต้องแวะเข้ามา โดยยังไม่นับรวมการขนคนกันเองอย่างดาราจากจอ 7 สี มาช่วยกันเรียกลูกค้าอีกแรง เพื่อช่วยสะกดคนที่เดินผ่านไปผ่านมาอีก

ด้านสีส้ม ธนชาต อาศัยเสียงเพลงจากมาช่า วัฒนพานิช ศิลปินสาวสุดเซ็กซี่แห่งค่ายแกรมมี่ มาช่วยกวักเรียกท่านผู้ชม

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนปีนี้เป็นปีที่ทั้งผู้ออมและผู้กู้ได้มาเจอกันจริงๆ ในงาน Money Expo เพราะผลิตภัณฑ์ด้านเงินฝากเริ่มมีบทบาทโดดเด่นให้เห็นบ้างแล้ว จากการแทรกตัวเข้ามาเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจของผู้ร่วมชมงาน ด้วยมูลค่าเงินฝาก 1,000 ล้านบาท

เหตุแห่งความนิยมที่เพิ่มขึ้นในฝั่งเงินฝากนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ จากแรงจูงใจในอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยดอกเบี้ยที่โดดเด่นโดนใจผู้ชมในงาน เห็นไม่มีใครเกินเงินฝากประจำสินเคหะ 2 ปีของธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงสุดในตลาดคือ 6.50% แถมปลอดภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีกต่างหาก

โดยผู้ฝากต้องเปิดบัญชีเริ่มต้นที่ 1,000 บาท แต่สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และทุกๆ เดือนผู้ฝากต้องใส่เงินเข้าบัญชีด้วยจำนวนที่เท่ากันกับเงินที่เปิดบัญชีครั้งแรก โดยคอนเซ็ปต์เงินฝากประจำแบบปลอดภาษีนี้ เริ่มมาตั้งแต่สมัยสมัยธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ธนาคารออมสินที่ตั้งบูธอยู่ข้างๆ กันนั้น นำสลากออมสินพิเศษงวดที่ 31 อายุ 3 ปี ให้อัตราผลตอบแทนหน่วยละ 4.25 บาท มาเปิดตัวให้จองครั้งแรกกันถึงในงาน เช่นเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ที่เอาสลากออมทรัพย์ทวีสิน ชุด 40 ปี ธ.ก.ส.หน่วยละ 500 บาท มาเสนอขาย โดยให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยสูงสุดถึง 3.29% สำหรับผู้ซื้อสลากตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป

สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ ดูราวกับว่าทั้งธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มนอนแบงก์อย่าง Cetelem จะนัดกันขายสินเชื่อในกลุ่ม personal loans โดยฝั่งธนาคารพาณิชย์ยังอาศัยบัตรเครดิตมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ตัวรอง

แต่ที่ผิดคาดเห็นจะเป็นค่าย KTC ไม่รู้จะเป็นด้วยเหตุที่อาจเริ่มมีหนี้เสียจากการทำตลาดเมื่อปีก่อนหรือเปล่า เพราะกิจกรรมในงานมหกรรม Money Expo ปีนี้ KTC ไม่เน้นเรื่องการขาย แต่เน้นที่การจัดกิจกรรมร่วมกับลูกค้า เพื่อตอกย้ำสิทธิพิเศษแก่สมาชิกเดิม และตอกย้ำตราสินค้าให้ติดตลาด ควบคู่การสร้างความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของ KTC เสียมากกว่า ส่วนผู้ที่สนใจถือบัตร KTC อาจขอยื่นใบสมัครได้ในภายหลัง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us