Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549
TPI ดีลประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึก             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) - ทีพีไอ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ปตท., บมจ.
Chemicals and Plastics
Cement




หลังตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่มากมายในการปรับโครงสร้างหนี้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งต้องใช้เวลายืดเยื้อยาวนานเกือบ 10 ปี จนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย หรือทีพีไอ จึงได้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง

ปัจจุบันสถานะของทีพีไอ ธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจร ที่เคยโด่งดังระดับภูมิภาค ตั้งแต่ก่อนและหลังประกาศล้มละลาย ได้เปลี่ยนมือจากตระกูลเลี่ยวไพรัตน์มาเป็นบริษัทร่วมของ ปตท. ที่ใช้เงินกว่า 20,000 ล้านบาท เข้าถือหุ้นข้างมาก 31.5% ในทีพีไอ

วัตถุประสงค์ของ ปตท. ชัดเจนตั้งแต่เริ่มวาดหวังว่าจะได้ทีพีไอมาเป็นส่วนหนึ่งในแผนเพิ่มความแข็งแกร่งในกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี โดยการเพิ่มความหลากหลายในตัวผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกๆ ความต้องการในทุกๆ พื้นที่ของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ภาพนี้อาจจะชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะขณะที่ศาลล้มละลายกลางกำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาว่าจะมีคำสั่งให้ทีพีไอพ้นจากแผนฟื้นฟูฯ หรือไม่ ปตท.ก็เริ่มยิงสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์ตัวใหม่ที่มุ่งชี้ให้เห็นว่า ปตท.นั้นเป็นเจ้าของแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตสินค้าที่มาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

"เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความเจริญบนเวทีโลก" เป็นธีมของโฆษณาชิ้นนี้

มีการคาดการณ์กันว่า ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีได้เริ่มเข้าสู่วัฏจักรขาลงนับจากปีนี้ไปจนถึงปี 2552 จากกำลังการผลิตปิโตรเคมีของโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเลื่อนการผลิตจากปีก่อนมาเป็นปีนี้

ส่วนจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคหลักยังสามารถผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ได้มากขึ้นก็ตาม และในปีนี้ผู้ผลิตอาจต้องหันมาลงทุนขยายหรือพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อรองรับวัฏจักรราคาขาขึ้นในรอบต่อไป

แต่ปัจจัยเหล่านี้ดูจะไม่มีผลต่อราคาหุ้นทีพีไอ ที่แม้จะยังติดอยู่ในกลุ่มบริษัทที่ต้องฟื้นฟูกิจการฯ แต่ได้ดีดตัวทะยานขานรับการเริ่มต้นที่จะเดินร่วมทางสู่ความเจริญคู่กับ ปตท. เพราะนักลงทุนต่างก็รับกำไรอย่างทั่วถึงกัน จากการซื้อๆ ขายๆ เก็งกำไรกันเป็นช่วงๆ ตั้งแต่เช้ายันบ่ายระหว่างรอเวลาที่ศาลล้มละลายกลางจะประกาศคำตัดสิน

ปตท. ที่ถือหุ้นทีพีไอรายใหญ่กว่า 61,000 ล้านหุ้น น่าจะมีกำไรส่วนต่างราคาร่วม 30,000 ล้านบาทแล้ว หลังหักต้นทุนที่ซื้อมาในราคาหุ้นละ 3.30 บาท เช่นเดียวกับธนาคารกรุงเทพ ในฐานะเจ้าหนี้ใหญ่ ซึ่งมีหุ้นอยู่ 2.59% หรือ 504 ล้านหุ้น จากการแปลงหนี้เป็นทุนในราคาหุ้นละ 5.50 บาท กำไรส่วนต่างตรงนี้ก็จะอยู่แถวๆ กว่าพันล้านบาท

ไม่นับเงินที่ธนาคารกรุงเทพได้รับจากการชำระหนี้โดยการขายหุ้นทีพีไอโพลีน บริษัทลูกของทีพีไอ ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ 10,250 ล้านบาท และเงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กลุ่มพันธมิตรใหม่ และผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 57,000 ล้านบาท ซึ่ง ปตท.ได้จ่ายคืนให้เจ้าหนี้แล้ว

จากการเข้ามาของ ปตท.ในทีพีไอ ได้ช่วยให้หนี้เสียของธนาคารกรุงเทพเมื่อสิ้นปี 2548 ลดลงเหลือ 100,800 ล้านบาทหรือลดลง 10.7% จากที่เคยมีสูงถึง 159,100 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17% เมื่อสิ้นปี 2547 นอกจากนั้นยังขยายผลไปถึงเครดิตเรตติ้งของ ธนาคารที่เพิ่มขึ้นอีกหลายรายการ ซึ่ง Fitch Ratings เพิ่งจะประกาศ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา

กรณีทีพีไอถือเป็นหนึ่งในที่สุดของประวัติศาสตร์แห่งวงการธุรกิจไทยที่ควรต้องบันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จจากการสร้างธุรกิจ หรือความล้มเหลวในกิจการที่เกิดจากการก่อหนี้จำนวนมากมาย จนท้ายที่สุดต้องกลายไปเป็นธุรกิจที่มีหนี้เสียสูงสุดในประเทศถึง 2,700 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ จากจำนวนเจ้าหนี้ที่มากมาย 150 ราย จาก 40 ประเทศทั่วโลกนั้น การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้จึงเต็มไปด้วยความซับซ้อน จนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

เมื่อกระทรวงการคลังเปิดปฏิบัติการในแบบที่ไม่เคยทำในอดีต คือการแทรกแซงกิจการเอกชนโดยตรง ด้วยการส่งคนเข้ามานั่งเป็นทีมผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ ผลการปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นออกมาอย่างที่เห็นคือ กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์เหลือหุ้นที่ถืออยู่ในนามประชัย และบริษัทเลี่ยวไพรัตน์วิสาหกิจ 0.65% และ 0.64% ตามลำดับ

ขณะที่ ปตท.กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 31.5% ตามมาด้วยธนาคารออมสิน 10% กองทุนบำเหน็จบำนาญ 8.6% กองทุนวายุภักษ์ 1 และ 2 ที่ถือหุ้นเท่ากันคือฝ่ายละ 10%

อนาคตของประชัยในทีพีไอก็ยังไม่แน่ว่าจะเป็นเช่นไร หลังผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ยื่นขอต่อศาลล้มละลายให้มีคำสั่งปลดเขาออกจากการดำรงตำแหน่งกรรมการ และผู้บริหารทุกตำแหน่งในทีพีไอ จากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างราคาหุ้นทีพีไอโพลีน เมื่อเดือนสิงหาคมปีก่อน

ด้านบอร์ดใหม่ของทีพีไอก็เตรียมจะประชุมพิจารณาประเด็นนี้เช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้นตลาดฯ จะไม่อนุมัติให้หุ้นทีพีไอออกจากกลุ่มฟื้นฟูกิจการ ทั้งที่ศาลล้มละลายได้มีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูฯ ไปแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us