Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549
ถึงยุคคุมเข้มต้นทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้

   
search resources

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้, บมจ.
Real Estate




ในยุคราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดในระยะเวลาอันใกล้เช่นนี้ สำหรับบริษัทอสังหาริมทรัพย์แล้วเหมือนโดนผลกระทบ 2 เด้งด้วยกัน เด้งแรกก็คือต้นทุน เพราะเมื่อราคาน้ำมันขยับขึ้นมาได้สักระยะ ราคาวัสดุก่อสร้างก็เริ่มขยับตัวขึ้นตามไปบ้าง จนขณะนี้มีการประเมินกันคร่าวๆ แล้วว่า ราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนบ้านสูงขึ้นแล้วประมาณ 10-15%

แต่การจะหาทางออกด้วยการขึ้นราคาบ้านก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะยังมีเด้งที่สองค้ำคออยู่ นั่นก็คือกำลังซื้อของประชาชนที่หดหายไปตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เพราะปัจจัยสี่ตัวอื่นๆ ที่จำเป็นยิ่งกว่าบ้านต่างพากันทยอยขึ้นราคา ทำให้งบประมาณที่เหลือพอจะมาผ่อนบ้านได้ลดลง การตัดสินใจซื้อบ้านจึงต้องละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จะเอาตัวรอดได้จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ ทั้งในด้านการควบคุมต้นทุนและการตลาด

"ปีนี้จะเป็นปีที่วัดประสิทธิภาพการบริหารงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ทั้งระดับบน กลาง และล่าง เพราะตลาดจะแข่งขันกันมากขึ้น ยกเว้นระดับล่างที่การแข่งขันยังมีไม่มากนัก" ไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ กล่าว

เขาระบุว่าปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงนี้คือการมีวินัยทางการเงิน การขยายโครงการต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่ควรมียอดหนี้สูงเกินกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt/Equity ratio) มากจนเกินไป เพราะหากอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น บริษัทที่มีเงินกู้มากจะมีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูง โอกาสที่จะรักษาผลดำเนินงานให้มีกำไรก็ทำได้ยากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันลลิลฯ มี D/E อยู่ที่ 0.4 เท่า ต่ำเป็นอันดับ 3 ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหุ้น ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่มี D/E เฉลี่ย 1.32 เท่าและค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นที่ 3.39 เท่า

นอกจากการควบคุมเรื่องเงินกู้แล้ว ลลิลฯ ยังได้ทำสัญญาซื้อวัสดุก่อสร้างเอาไว้จนถึงสิ้นปีนี้ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาของวัสดุก่อสร้างมากนัก

"เรายืนยันว่าต้นทุนเรายังแข็งแกร่ง สามารถสู้ได้ในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์"

ไม่เพียงการดูแลต้นทุนเท่านั้น การพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง โดยจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดหายไป ทำให้ลลิลฯ เน้นโครงการในระดับราคา 3-5 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดสำคัญในปัจจุบันมากขึ้น โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้เปิดตัว 2 โครงการคือ The Young Executive บ้านเดี่ยวระดับราคา 3.2-5 ล้านบาท และ The Balcony Home รวมทั้ง 2 โครงการ มูลค่าราว 1,100 ล้านบาท นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 3 ยังจะเปิดโครงการบ้านเดี่ยวในย่านสุวรรณภูมิอีก 1 โครงการ มูลค่า 1,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us