|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2549
|
|
แถวยาวเหยียดของผู้โดยสารที่ยืนรอหน้าเคาน์เตอร์ check-in ตั้งแต่เวลาตีห้าครึ่งของทุกๆ วัน ก่อนเดินทางไปยังจุดหมายในเส้นทางบินต่างๆ ของสายการบินนกแอร์ กลายเป็นภาพเก่าในทันทีเมื่อสายการบินแห่งนี้เปิดให้บริการ check-in แบบใหม่ที่เรียกว่า "PDA Check-in"
ด้วยข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ในอาคารผู้โดยสารขาออก ในประเทศ ทำให้สายการบินต้นทุนต่ำอย่างนกแอร์ได้รับการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้เป็นเคาน์เตอร์สำหรับ check-in ผู้โดยสารทั้งหมดเพียง 3 เคาน์เตอร์เท่านั้น ซึ่งนั่นไม่เพียงพอกับความต้องการของทั้งผู้โดยสารและสายการบินในเวลาเดียวกัน นี่เองเป็นที่มาของการเปิดตัว "PDA Check-in" ในเวลาต่อมา
ทุกวัน "นก" ทั้งชายและหญิง สรรพนามที่มีไว้เรียกชื่อพนักงานที่ให้บริการของสายการบินนกแอร์ จะเดินเข้าไปทักทายผู้โดยสารที่มุ่งหน้าเข้ามายังเคาน์เตอร์ check-in หลังสอบถามเป็นที่แน่ใจว่าผู้โดยสารคนดังกล่าวจะเดินทางไปยังเป้าหมายของตนด้วยสายการบินนกแอร์ โดยที่ไม่มีสัมภาระสำหรับบรรทุกไว้ที่ใต้ท้องเครื่องบิน
"นก" เหล่านี้จะเริ่มต้นให้บริการ check-in ผ่านอุปกรณ์พกพาหรือพีดีเอในทันที เธอและเขาจะขอเพียงหมายเลขที่ใช้สำหรับระบุว่าเป็นเจ้าของที่นั่ง หรือ Booking Number ซึ่งมักได้มาทุกครั้งเมื่อทำการจองหรือซื้อตั๋วโดยสาร พร้อมกับเรียกดูบัตรประชาชนเจ้าของตั๋วเพื่อยืนยันตัวตนอีกครั้ง
ปากกาเล่มเล็กถูกจิ้มลงบนหน้าจอพีดีเอ เพื่อทำการ check-in ไม่ถึงนาที Boarding Pass ขนาดเท่ากับใบเสร็จรับเงินในร้านคอนวีเนียนสโตร์ก็ถูกสั่งพิมพ์ออกมาจาก Wireless Printer ขนาดย่อมซึ่งต่อพ่วงกับเครื่องพีดีเอและเหน็บเอาไว้ที่เอวของ "นก" เหล่านั้น รวมระยะเวลาในการให้บริการไม่ถึง 5 นาที
วิรัตน์กุล ศิวะเพ็ชรานาถ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า สายการบินนกแอร์ บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่านอกเหนือจากบริการใหม่ ดังกล่าวจะช่วยให้จำนวนผู้โดยสารที่รอคิวลดลง ที่มักส่งผลกับความรู้สึกพึงพอใจในการให้บริการของสายการบิน ซึ่งมาตรฐานของสายการบินทั่วโลกเคยระบุเอาไว้ว่า ลูกค้าต้องรอคิว check-in ไม่ควรเกิน 10 นาที และต้องไม่เกิน 3 นาทีในการรอให้บริการจากเคาน์เตอร์
บริการรูปแบบนี้ยังส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่พบเห็นความแปลกใหม่จากสายการบินไปด้วย ไปจนถึงภาพลักษณ์ที่ดีต่อสายการบิน ที่สำคัญคือการลดปัญหาเรื่องการดีเลย์ของเครื่องบินในแต่ละไฟลต์อันเนื่องมาจากการรอให้บริการ check-in ณ เคาน์เตอร์นั้นเสร็จสิ้น
เร็วๆ นี้นกแอร์เตรียมขยายการบริการ check-in ผ่านพีดีเอในทุกจังหวัดที่มีเส้นทางการบิน ยกเว้นจังหวัดเลยที่ติดขัดปัญหาเรื่องการส่งข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
สิ้นเดือนพฤษภาคม นกแอร์ยังเพิ่มการ check-in แบบใหม่ที่เรียกว่า Telephone check-in โดยผู้โดยสารโทรศัพท์เข้าคอลเซ็นเตอร์หมายเลข 1318 ของนกแอร์เพื่อทำการ check-in ด้วยตนเองก่อนการเดินทาง 2 ชั่วโมงที่เหลือแค่เพียงรับตั๋วที่นั่งได้ที่เคาน์เตอร์ได้เลยทันที ลดภาระให้กับผู้โดยสารและสายการบินไปในตัว
นี่ยังไม่รวมกับการเตรียมพร้อมจะให้บริการ check-in ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ของนกแอร์ ซึ่งหากเปิดให้บริการได้ครบเมื่อไรก็ถือว่าครอบคลุมแทบทุกช่องทางที่มีอยู่เลยทีเดียว
|
|
|
|
|