Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
ถนอม อังคณะวัฒนา ขอเวลานอกเป็น " เกษตรกร" ชั่วคราว             
 


   
search resources

โมเดอร์นโฮม ดีเวลลอปเม้นท์
ถนอม อังคณะวัฒนา
Investment




ปะหน้าถนอม อังคณะวัฒนา วันนี้คงจะไม่ค่อยจะคุ้นตากันนัก สำหรับผู้ที่เคยพบปะกับเขาในฐานะ ประธานกรรมการบริษัทโมเดอร์นโฮม ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

เพราะแทนที่จะมีสีหน้าขาวนวลเหมือนคนนั่งอยู่แต่ในห้องแอร์ ยิ่งช่วงที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่มีอะไรให้ทำอย่างนี้แล้ว ถนอมกลับกลายเป็นคนเข้มขึ้นอย่างผิดหูผิดตา แต่ความไวและรอบรู้ในสิ่งรอบตัวยังคงเดิม

"ปีนี้เราทุ่มที่ตลาดไทที่เดียว เพราะภาวะอย่างนี้ไปทำอย่างอื่นก็ไม่กระเตื้อง ผมกับทีมงานก็ต้องมาลงพื้นที่กันด้วย" ถนอมกล่าวถึงสาเหตุที่ผิวเขาเข้มขึ้น

โครงการตลาดไท บนเนื้อที่ 500 ไร่ บริเวณถนนพหลโยธิน กม.42 เป็นศูนย์ค้าส่งและค้าปลีกพืชผลเกษตร ที่ถนอมจะทำให้มีความครบวงจรในเรื่องของผลิตภัณฑ์เกษตรแห่งแรกของเมืองไทย เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2538 โดยร่วมทุนกับอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศรวม 4 แห่ง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไทยแอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด หรือ เทโก้ ซึ่งถนอมรับเป็นประธานกรรมการบริหาร

และนี้เอง เป็นเหตุให้ถนอมต้องเปลี่ยนจากการติดต่อกับ ธ.อ.ส. หรือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่เป็นประจำ กลายสภาพมาเป็น "เกษตรกรชั่วคราว" ที่ต้องมีการติดต่อกับ ธ.ก.ส. แทน

"ผู้จัดการ" เคยเขียนถึงตลาดไทครั้งหนึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ครั้งนั้นเราพูดถึงกลยุทธ์การดึงพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาค้าขายในตลาดไทว่า ผู้ค้าพืชผลเกษตรทั่วภูมิภาคของประเทศจะมารวมตัวกันได้อย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่งนอกจากการวางแผนและดูงานอย่างหนักของทีมบริหารตลาดไท ก็คือโปรโมชั่นด้วยการแจกเงินค่าน้ำมันรถ ทั้งรถผู้ซื้อและรถผู้ขายที่เข้ามาทำการค้าในตลาดไท และคงเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีและยังมีอีกเป็นช่วง ๆ

"ผมคุ้นกับตลาดมาตั้งแต่เด็ก บ้านผมที่จันทบุรีเดินออกไปไม่กี่ก้าวก็เป็นตลาด แถมที่บ้านก็มีสวนพวกเงาะ ทุเรียน ทำให้ผมคุ้นเคยกับพวกพ่อค้าแม่ค้าดี โดยมีหลักง่าย ๆ ให้จำไว้ว่าถ้าคุณจะทำตลาด คุณต้องทำ 4 อย่างนี้ให้ได้ คือ หนึ่งหาคนมาขาย สองหาคนมาซื้อ สามให้คนขาย ๆ มีกำไร และสี่ให้คนซื้อไปขายมีกำไร เท่านั้นเอง"

คำพูดของถนอม ที่กล่าวจนติดปากอยู่เสมอ ขณะมาเดินชมตลาดไท พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า

แต่ที่ตนมารู้จักและเข้าใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริงก็เมื่อครั้งไปทำสวนเกษตร เพราะเห่อตามแฟชั่นอยู่พักหนึ่ง เมื่อประมาณ 4 ปีก่อนที่บ้านเกิดเมืองจันท์ และให้บังเอิญว่าอยากจะช่วยแก้ปัญหาที่เห็น ด้วยการทำตลาดค้าส่งที่เป็นศูนย์กลางขึ้นมาสักแห่ง

"ตอนนั้นผมร่วมกับคุณสายัณห์ มั่นเหมาะ ทำโครงการบางใหญ่ซิตี้อยู่ด้วย ก็เลยใช้ที่ด้านหน้า 60 ไร่ ลองทำตลาดค้าส่งที่เป็นศูนย์กลางดู แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะพื้นที่ไม่พอสำหรับตลาดกลางค้าส่ง มันเล็กไป และบางใหญ่ ฯ ก็ไม่ใช่ทำเลที่ออกแบบไว้สำหรับตลาดกลาง เพราะผู้ค้าที่ไปมาได้สะดวกมีเพียงคนจากฝั่งตะวันตกและใต้ของกรุงเทพฯ เท่านั้น" ถนอมกล่าว

ขณะเดียวกันแม้จะไม่ประสบความสำเร็จกับตลาดแรก ถนอมก็ยังได้แรงหนุนจากภาครัฐบาล ที่อยากจะให้ประเทศไทยมีศูนย์ค้าส่งพืชผลเกษตรอย่างแท้จริงขึ้นมาบ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นเมืองเกษตรกรรมแท้ ๆ

"ผมมองเห็นทางเป็นไปได้ ประมาณปี 2537 ก็ลองหาทำเล ซึ่งมาลงเอยที่นี่เพราะเป็นจุดที่มีวงแหวนรอบนอกตัดผ่าน ทำให้ผู้ค้าขายมาได้จากทุกภาค ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน หาซื้อที่ได้ 1,000 ไร่ ก็เริ่มลงมือทำ ศึกษาและดูงานทั้งในและต่างประเทศ อย่างญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ ทุกที่ที่มีตลาดแบบที่เราต้องการ"

ดังนั้น สัดส่วนพืชผัก ผลไม้ จากตลาดไท ที่ส่งออกไปทั่วประเทศจึงกระจายได้ถึง 85% ที่เหลือกระจายไปในกรุงเทพฯ ประมาณ 25%

"หากคุณสังเกตในแต่ละวัน ประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป ที่นี่จะมีรถจากทั่วทุกภาคเข้ามาขายและซื้อ ตอนนี้เฉลี่ยวันละ 10,000 คัน แต่เราเตรียมพื้นที่ให้รับรถได้ 25,000 คัน วันหนึ่งๆ มีเงินหมุนเวียนจากการซื้อขายหลายร้อยล้าน รถสิบล้อบางคันขนเงินมาซื้อวันละ 1 ล้าน หรืออย่างร้านขายปลาร้าก็ขายได้เฉลี่ยวันละ 1 แสนเศษ หรือ 2 แสนขึ้นถ้าขายดี "

ถนอมเล่าให้ฟังถึงภาวะการซื้อขายในตลาด และกล่าวเสริมว่าเรื่องเงินที่สะพัดในการซื้อขายทางโครงการก็มีการดูแลป้องกันความปลอดภัยไว้บางส่วนแล้ว

พร้อมกับให้ข้อสังเกตว่าจะรู้ได้อย่างไรว่ารถคันไหนมาซื้อ คันไหนมาขาย ก็ดูได้จาก ถ้าเป็นรถผู้ขายสินค้าจะเป็นชนิดเดียวกันทั้งคัน แต่ถ้าเป็นรถผู้ซื้อสินค้าจะคละ ๆ กันไปหลาย ๆ ชนิด

"วิธีการซื้อขายจะมีตั้งแต่เดินดูตามอาคารแยกประเภทสินค้าอย่างส้ม สับปะรด แตงโม หรืออาคารผัก ผลไม้รวม ลานรถเร่ หรือตัดซื้อกันท้ายรถผู้ขายที่ขนมาโดยยังไม่ต้องวางแผง บางทีถ้าต้องการเป็นคันรถอย่างส้ม ผู้ซื้อผู้ขายมาเจอกันที่ตลาดจริง แต่สินค้าไม่จำเป็นต้องมา เขาใช้มือถือสั่งตัดจากแหล่งไปปลายทางได้เลย" ถนอมเล่าง่าย ๆ ถึงการซื้อขาย

วงจรการขายจะเริ่มมาจากเกษตรกรผู้ผลิต ไปสู่พ่อค้าคนกลางท้องถิ่น พ่อค้าคนกลางสู่ตลาดค้าปลีกหรือห้าง ไปยังผู้บริโภค และถูกสุดที่รถเร่ขายตามบ้าน แต่ถ้ายังอยู่ในกลุ่มเดียวกัน การซื้อขายราคาจะไม่ต่างกัน

"พ่อค้าที่มาขาย จะไวมาก ก่อนรถจะถึงลานจอดเขาจะใช้โทรศัพท์มือถือโทรถามกันก่อนแล้วว่า ราคาสินค้าวันนี้เท่าไร เดินเช็กได้ตั้งแต่หัวแถวจรดปลายแถวราคาจะเท่ากันหมด กลายเป็นกลไกการกำหนดราคาโดยอัตโนมัติของกลุ่มผู้ค้า ซึ่งสามารถส่งราคาสินค้ากลางโดยเฉลี่ยให้กับกรมการค้าฯ ได้ ในขณะที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครกำหนดราคากลางพวกนี้ได้" ถนอมกล่าว และยังเล่าเลยไปถึงวงจรอัตโนมัติของผลไม้ที่จะเลี่ยงกันไปเองให้ฟังว่า

ผลไม้ไทยจะหนีช่วงกัน อย่างส้มแม้จะมีทั้งปี แต่ถ้าสังเกตให้ดี ช่วงที่เงาะ ทุเรียน มังคุด ออกขาย ส้มจะซาไป เพราะเป็นผลไม้ที่ตรึงไว้ได้นาน เช่นเดียวกับองุ่นที่มีตลอด แต่หากเป็นช่วงลำใย ลองกอง ลองสาดมาเมื่อไร องุ่นก็จะน้อยลงไปเช่นกัน แล้วส้มกับองุ่นก็จะหลับมาเมื่อสินค้าตัวอื่นค่อย ๆ หมดฤดูกาลลง

ถึงวันนี้ หากจัดตลาดไทเข้ากลุ่มของการพัฒนาที่ดินด้วยแล้ว ก็คงจะเรียกได้ว่าเป็นโครงการที่ขายดีที่สุด สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ ในยุคซบเซาเช่นที่เป็นอยู่นี้ เพราะแม้จะยังไม่เห็นตัวเลขรายได้ที่แน่ชัด แต่ในระยะยาว "โครงการนี้เก็บกินจนตายก็ไม่หมด"

แต่กระนั้นก็ตาม ผู้บริหารเองกลับยังไม่วางใจ โดยกล่าวกันว่า จะวางใจได้ก็ต่อเมื่อ สิ่งนี้แล้วเสร็จเสียก่อน ทั้งโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของอาคารพาณิชย์ในโครงการ การขยายพื้นที่อาคารสินค้าต่าง ๆ ให้ครบตามแผนที่กำหนดในพื้นที่ 500 ไร่ การมีโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรที่ครบวงจรเป็นรูปร่างชัดเจน

ที่สำคัญ แผนงานที่จะใช้ "ตลาดไท" เป็นตัวเสริมความเด่นของทำเลให้กับโครงการมินิแฟคตอรี่ ที่จะเกิดในเวลาอันใกล้ ของบริษัทโมเดอร์นโฮม ฯ ที่วางแผนกันไว้คร่าว ๆ สำหรับพื้นที่ติดกันอีก 500 ไร่ ที่ซื้อเผื่อไว้นั้น

จะได้รับการตอบรับอย่างดี เหมือนความสำเร็จที่ "ถนอม อังคณะวัฒนา" ได้ไปเต็ม ๆ จากตลาดไทหรือไม่ ยังต้องรอดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us