Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549
ราคาน้ำมันจะทะลุ 100 ดอลลาร์             
 


   
search resources

Oil and gas




จากคำทำนายที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างความประหลาดใจ บัดนี้กลับกลายเป็นการพูดประสานเสียงกันจากนักวิเคราะห์

โลกอาจกำลังเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำมันแพง (oil shock) เป็นครั้งแรกของศตวรรษที่ 21 แม้ว่าขณะนี้ปัญหาราคาน้ำมันแพงจะยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกก็ตาม

แต่ดูเหมือนเราจะเริ่มได้เห็นผลที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นในบริบท ของการเมืองโลก ไม่ว่าจะเป็นความเย่อหยิ่ง ที่เพิ่มมากขึ้นของบรรดาชาติส่งออกน้ำมันอย่างเวเนซุเอลา การกระทำท้าทายของอิหร่าน การขยายตัวของรัฐวิสาหกิจน้ำมันของประเทศอย่างรัสเซีย และการที่บริษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ กำลังถูกเล่นงานจากประเทศที่ตนได้เข้าไปกอบโกยผลกำไร มหาศาล รวมทั้งการตกอยู่ในสภาพใกล้สิ้นหวังของบรรดาผู้นำการเมืองในประเทศผู้บริโภคน้ำมัน อย่างเช่น ผู้นำสหรัฐฯ และผู้นำเยอรมัน

เมื่อราคาน้ำมันพุ่งทะลุระดับ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นไปถึงระดับ 3 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ถึงกับสั่งการให้สอบสวนว่า มีการปั่นราคาจากบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่หรือไม่

และอีกไม่ช้าก็เร็ว เศรษฐกิจโลกจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน มีการคาดการณ์แล้วว่า เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลงครึ่งเปอร์เซ็นต์ การที่โลกมัวแต่ตื่นเต้นดีใจว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังไม่ได้ชะลอตัวลง อาจกำลังละเลยความจริงที่ว่า ถ้าหากเศรษฐกิจโลกยังคงสามารถรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้ แม้ จะต้องแบกราคาน้ำมันที่สูงถึง 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น ย่อมจะส่งผลให้ราคาน้ำมันยากที่จะลดลง ในขณะที่บริษัทต่างๆ เริ่มเก็บค่าเชื้อเพลิงต่างหากแล้ว และเงินเฟ้อก็กำลังเยี่ยมหน้าเข้ามา

นักวิเคราะห์เริ่มจะเห็นตรงกันแล้วว่า โลกเราอาจจำเป็นจะต้องยอมรับความจริงใหม่เกี่ยวกับราคาน้ำมัน นั่นคือ การที่น้ำมันจะมีราคาสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

เริ่มจากนักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาดเป็นอย่างมาก เมื่อหาญกล้าทำนายไว้ว่าตั้งแต่ เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับเพียง ประมาณ 47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้นว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงลิ่วจาก 50 ดอลลาร์เป็น 105 ดอลลาร์ แถมยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ราคาน้ำมันจะสูงอยู่ในระดับนั้นนาน 5-10 ปีเลยทีเดียว

แต่ขณะนี้ดูเหมือนว่า คำทำนายของ Goldman Sachs ใกล้ จะกลายเป็นจริงเข้าไปทุกที ยิ่งถ้าหันไปมองตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า ราคาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าซึ่งกำหนดไว้ที่ 100 ดอลลาร์ กำลัง กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นกันทุกวันไปเสียแล้ว

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คำทำนายที่ว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงอย่าง ชนิดที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน ดูน่ากลัวมากขึ้นทุกที เป็นเพราะคำทำนายเหล่านี้ ไม่ได้ตั้งอยู่บนคำกล่าวอ้างของนักทฤษฎีประเภท "peak oil" theorist ซึ่งยังไม่มีข้อพิสูจน์ ที่ว่า น้ำมันกำลังจะหมดโลก ซึ่งเราเคยได้ยินกันมานาน แต่ความจริงแล้ว ไม่มีใครสักคนเดียวที่สามารถจะพิสูจน์ได้ว่า น้ำมันจะหมดโลกจริงหรือไม่

ส่วนฝ่ายที่เห็นตรงข้ามกับพวกนักทฤษฎี peak oil ซึ่งเรียกว่า พวก oil bull กลับเชื่อไปในทางตรงข้ามว่า ยังมีน้ำมันอยู่ใต้โลกอีกมากมาย และเชื่อว่า ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน จะทำให้สามารถค้นพบน้ำมันได้อีก

ขณะนี้บรรดานักวิเคราะห์ชักจะเชื่อแล้วว่า ทฤษฎีของฝ่าย oil bull น่าจะถูกต้อง กล่าวคือยังคงมีน้ำมันอยู่มากมายใต้พื้นโลก แต่สิ่งที่นักวิเคราะห์ไม่เห็นด้วยคือ เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่คำตอบของปัญหาทั้งหมด หรืออย่างน้อยก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำมันแพงได้ในเร็วๆ นี้ ถ้าหากว่าประเทศผู้ผลิตและบริษัทน้ำมันไม่เอาด้วย

และนั่นก็คือปัญหา ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกต่างไม่ยอมลงทุนมากพอ ซ้ำยังไม่เคยคิดที่จะลงทุนให้มากพออีกด้วย ที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อให้สามารถสนองความต้องการบริโภคน้ำมัน ที่พุ่งขึ้นอย่างพรวดพราดได้ โดยเฉพาะความต้องการของประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีน เนื่องจากยังคงเข็ดกับการลงทุนจนล้นเกินในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้บริษัทน้ำมันเลือกที่จะนั่งทับกองเงินเฉยๆ หรือแบ่งสันปันส่วนผลกำไรจ่ายคืนผู้ถือหุ้น แทนที่จะนำเงินไปลงทุนด้านการผลิตหรือโรงกลั่นใหม่ๆ

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs เชื่อว่า น้ำมันจะยังคงเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่มีวันหมดไป และราคาน้ำมันจะค่อยๆ ลดลงจนกลับเป็นปกติ แต่ก่อนที่จะถึงเวลานั้น พวกเขาคาดว่า ช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันจะคงอยู่ในระดับสูง อาจกินเวลานานถึงตลอดปี 2009 ก่อนที่จะค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งถึงระดับปกติ ในปี 2014

นักวิเคราะห์ชี้ว่า ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในปัจจุบันนี้มีสภาพคล้ายกับช่วงทศวรรษ 1970 อย่างมาก ผลการศึกษาวิจัยของ Goldman Sachs ชี้ว่า ราคาน้ำมันมักจะพุ่งสูงขึ้น ในช่วงเวลาที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันและบริษัทน้ำมันกำลังทุ่มเงินลงทุนครั้งใหม่ และราคาน้ำมันจะตกลง เมื่อการลงทุนนั้นเริ่มเห็นผล กล่าวคือสามารถผลิตน้ำมันได้มากขึ้น

และในช่วงทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูง ขณะที่การลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ราคาน้ำมันได้ลดลง หลังจากที่การลงทุนเริ่มเห็นผล โดยทำให้กำลังการผลิตน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 และราคาน้ำมันก็ได้ลดลงเรื่อยๆ เป็นเวลานานจนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1990 เลยทีเดียว ซึ่งก็กลับกลายเป็นแรงกดดันต่อการลงทุนในการผลิตน้ำมัน ในขณะที่ในภาพรวม ตลาดได้หันเหความสนใจไปลงทุนในธุรกิจไฮเทคทั้งหลาย อันเป็นดาวรุ่งของ "เศรษฐกิจใหม่" (New Economy) ทำให้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กำลังสำรองการผลิต น้ำมันทั่วโลกได้ลดลงจากร้อยละ 15 จนเหลือ เพียงประมาณร้อยละ 1 ในปัจจุบันเท่านั้น และยังไม่มีทีท่าว่า สภาพการณ์เช่นนี้จะกระเตื้องดีขึ้น

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs คำนวณว่า อุตสาหกรรมน้ำมันจำเป็นจะต้องมีการลงทุนใหม่ถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ ตลอดช่วงทศวรรษหน้า เพียงเพื่อที่จะผลิตให้เพียงพอกับความต้องการเท่านั้น ยังไม่ต้อง พูดถึงการจะมีกำลังการผลิตเหลือสำรอง

แต่ดูเหมือนความไม่แน่นอนที่รายล้อมการลงทุนครั้งใหม่ในการผลิตน้ำมันทั่วโลกในทุกวันนี้ จะมีอยู่สูงกว่าในช่วงทศวรรษ 1970 เพียงแค่ความขัดแย้งเรื่องปัญหานิวเคลียร์อิหร่านเพียงเรื่องเดียว ซึ่งถ้าหากส่งผลให้อิหร่านลดการส่งออกน้ำมันลงจากระดับ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็จะไม่มีชาติใด ที่จะมีกำลังการผลิตสำรองที่จะเข้ามาชดเชย ได้ในทันที

นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank ชี้ว่า เพียงแค่การผลิตน้ำมันลดลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวันเท่านั้น ก็เพียงพอแล้วที่จะดันราคาน้ำมันให้พุ่งพรวดแตะระดับ 100 ดอลลาร์ ให้เราได้เห็น ส่วนนักวิเคราะห์จาก Global Insight เสริมว่า เพียงแค่ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองโลกเพียงเรื่องเดียว เช่นการบุกโจมตีอิหร่าน ก็สามารถจะทำให้โลกขาดแคลนน้ำมันได้ในทันที และราคาน้ำมัน อาจพุ่งสูงไปถึงระดับ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเลยทีเดียว

สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ล่อแหลมเช่นนี้ เป็นผลมาจากการขาดการลงทุนพัฒนาการผลิตน้ำมันมานานกว่า 25 ปี และเมื่อต้องใช้เวลาถึง 7 ปี กว่าที่การลงทุนในด้านการผลิตน้ำมัน จะเห็นผลเป็น ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น ถึงแม้จะเร่งทุ่มลงทุนอย่างมหาศาลเพียงใดในตอนนี้ ก็ไม่ทันเสียแล้ว ที่จะป้องกันไม่ให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงลิ่วได้

หันมาดูทางด้านกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก เอาเพียง 5 ประเทศรายใหญ่สุด ซึ่งควบคุมแหล่งสำรองน้ำมันรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก มีเพียงซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีแหล่งสำรอง น้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น ที่มีกำลังการผลิตสำรอง และเป็นประเทศที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะมีเรื่องการก่อการร้ายอยู่บ้าง นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียยังเตรียมจะลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันจาก 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 12.5 ล้านบาร์เรล ภายในปี 2009

แต่ที่เหลืออีก 4 ชาติ นอกจากจะไม่มีกำลังการผลิตสำรองแล้ว ยังผลิตน้ำมันน้อยลงด้วยซ้ำ ประเทศที่มีแหล่งสำรองน้ำมันใหญ่ เป็นอันดับสองของโลกรองจากซาอุดีอาระเบียคืออิหร่านนั้น ผลิตน้ำมันน้อยลงกว่าที่เคยผลิตเมื่อ 30 ปีก่อน และมีปัญหาในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งไม่กล้าเข้าไปลงทุนในอิหร่าน เนื่อง จากอิหร่านกำลังมีปัญหาเผชิญหน้ากับชาติมหาอำนาจ ว่าด้วยเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน

สำหรับอิรัก ซึ่งการผลิตน้ำมันได้ลดลงนับตั้งแต่ปี 2003 หลังจากถูกสหรัฐฯ บุกเข้ายึดครอง ผู้ก่อความไม่สงบได้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตน้ำมันไม่เว้นแต่ละวัน จึงไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนจะถอยหนีอย่างหวาดหวั่น

ในรัสเซีย การลงทุนด้านน้ำมันเพิ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตก็จริง แต่ต่อมาก็กลับลดลง จนสหภาพนักอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ยังกล่าวโจมตีรัฐบาลรัสเซีย อย่างเปิดเผยว่า ใช้จ่ายเงินน้อยเกินไปในการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ๆ

ด้านเวเนซุเอลาผลิตน้ำมันลดลงร้อยละ 50 นับตั้งแต่ปี 2003 ภายใต้สมัยการปกครองของประธานาธิบดี Hugo Chavez นักประชานิยมตัวยง ซึ่งขับไล่นักลงทุนต่างชาติออกจากประเทศ Chavez คุยว่ามีแผนการลงทุนขนาดใหญ่ถึง 56,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2012 ในการเพิ่มการผลิตน้ำมันและสร้างโรงกลั่นใหม่ๆ แต่นักวิเคราะห์ยังกังขา เพราะผู้นำเวเนซุเอลาใช้น้ำมันเป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยดึงรายได้จากน้ำมันมาสนับสนุนนโยบายประชานิยม ของเขา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน บ้านพักตากอากาศสำหรับลูกจ้างพนักงาน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เขาให้ความสำคัญกับการผลิตน้ำมันหรือการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเรื่องรอง

และแม้ว่าขณะนี้จะเริ่มมีการลงทุนในการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่น่าสงสัยว่า การลงทุนครั้งใหม่ในรอบนี้ เม็ดเงินที่จะถูกนำมาลงทุนคงมีปริมาณน้อยลงและเชื่องช้ากว่าในอดีต เหตุผลก็คือเรื่องการเมืองที่เข้ามาแทรกอย่างที่เกิดขึ้นในเวเนซุเอลาดังกล่าว และไม่ใช่แต่เพียงเวเนซุเอลาประเทศเดียว ชาติผู้ผลิตน้ำมันจากตะวันออกกลางจนถึงรัสเซีย ต่างนำรายได้จากน้ำมันไปใช้สนับสนุน โครงการสวัสดิการสังคมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้นำการเมืองได้รับความนิยมและอยู่ในอำนาจได้นานๆ

ทั่วทั้งตะวันออกกลางในขณะนี้ โครงการสวัสดิการสังคมกำลังแข่งกันดูดเงินออกจากรายได้ที่ได้รับจากการขายน้ำมัน ตะวันออกกลางเป็นหนึ่งในไม่กี่ภูมิภาคในโลก ที่จำนวนประชากรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวนคนหนุ่มสาวที่เข้าสู่ตลาดแรงงานของซาอุดีอาระเบียจึงกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าซาอุดีอาระเบียจำเป็นต้องเห็นราคาน้ำมันอยู่ในระดับอย่างต่ำ 40-50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จึงจะมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาใช้อุดหนุนค่าอาหาร ค่าบ้าน การศึกษาและการจ้างงานให้แก่ประชาชนได้เหมือนเดิม

ส่วนประธานาธิบดี Mahmoud Ahmadinejad แห่งอิหร่าน ได้สัญญากับชาวอิหร่านว่า จะดึงเงินรายได้จากการขายน้ำมันมาสนับสนุนโครงการด้านสังคม ในขณะที่ประธานาธิบดี Vladimir Putin แห่งรัสเซีย ก็สัญญากับประชาชนว่า กำไรจากการขายน้ำมันจะถูกนำมาใช้ต่อสู้ปัญหาความยากจนในรัสเซีย

คำสัญญาเหล่านั้นล้วนแต่ดูดเอาเงินที่อาจจะนำไปลงทุนเพิ่ม ในการผลิตน้ำมันออกไป และในขณะที่การใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น การขุดเจาะน้ำมันในแหล่งเก่าที่อยู่ไกล กลับมีความซับซ้อนมากขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

ด้านบริษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ซึ่งนั่งทับเงินสดมหาศาล ก็ไม่ได้นึกอยากที่จะลงทุนเพิ่ม เมื่อต้องเจอกับบรรยากาศการลงทุนที่อันตรายในเวเนซุเอลา เพื่อที่จะให้มีเงินมาสนับสนุนโครงการด้านสังคม ทำให้ผู้นำเวเนซุเอลาประกาศขึ้นภาษีรายได้ที่เก็บจากบริษัทน้ำมันต่างชาติ จากร้อยละ 34 เป็นร้อยละ 50 และยังเพิ่มค่าภาคหลวงน้ำมันเป็นร้อยละ 30 หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัว เดือนที่แล้ว เขายังยึดบ่อน้ำมันมาจาก Total บริษัทน้ำมันของฝรั่งเศส และฉีกสัญญากับ Eni บริษัทของอิตาลี ส่วนในรัสเซียก็เก็บภาษีสูงลิ่ว จนราคาน้ำมันต้องอยู่ในระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จึงจะทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติในรัสเซีย สามารถรักษาผลตอบแทนการลงทุนไว้ได้ที่ระดับร้อยละ 15

นอกจากนี้บริษัทน้ำมันข้ามชาติเอง เป็นผู้ทำลายแรงจูงใจในการที่จะลงทุนเพิ่ม สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากความล้มเหลวในการคาดการณ์ทิศทางราคาน้ำมัน นักวิเคราะห์จาก Columbia University ชี้ว่า ก่อนปี 2003 การตัดสินใจด้านการลงทุนใหม่ของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ มีพื้นฐานอยู่บนการคาดการณ์ราคาน้ำมันที่ระดับ 15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น แถมยังเชื่อมั่นเอามากๆ ว่า ราคาน้ำมันจะไม่มีทางพุ่งถึงระดับ 30 ดอลลาร์ได้

แต่ขณะนี้บริษัทน้ำมันได้ปรับปรุงการคาดการณ์ราคาน้ำมันในระยะยาว โดยเพิ่มเป็น 35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์ ชี้ว่า นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันเลยทีเดียว ซึ่งอาจจะช่วยเปิดประตูไปสู่การลงทุนเพิ่มในอนาคต

แต่ถึงอย่างไร ก็คงไม่ทันที่จะสามารถ ฉุดรั้งราคาน้ำมันให้ลดต่ำลงได้ในเร็ววันนี้ และยุคแห่งราคาน้ำมันแพงครั้งแรก (Oil Shock) ในศตวรรษใหม่ อาจกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว

เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
แปลและเรียบเรียงจาก
นิวสวีค 15 พฤษภาคม 2549   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us