Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
4 แผนงานเพื่อสานฝันของไทยเอนจิน ฯ             
 

 
Charts & Figures

ประมาณการยอดขายและกำไรสุทธิของ TEM ใน 5 ปี
ยอดขายแยกตามแหล่งที่มา


   
search resources

ไทยเอนจิน เมนูแฟ็คเจอริ่ง, บมจ.
ธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ชัย
Economics




เสียงบ่นหนาหูว่าปีนี้เศรษฐกิจซบเซา ยอดขาย และกำไรของธุรกิจต่าง ๆ พลาดเป้าไปตามกัน ทว่าผลประกอบการของ บริษัท ไทยเอนจิน เมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ TEM ผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเกษตร ยี่ห้อ "มิตซูบิชิ" กลับออกมาสวนกระแสภาวะดังกล่าว

ล่าสุด 6 เดือนแรกของปีนี้ TEM มียอดขาย 737 ล้านบาท กำไรสุทธิ 98 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเติบโต 43% และ 103% ตามลำดับ

"ยอดขายที่สูงขึ้นมาจากทางภาคเหนือและอีสาน เนื่องจากเราเพิ่มศูนย์บริการและกระจายสินค้าทางภาคเหนือและอีสาน และเพิ่มศูนย์ย่อยเข้าไปอีก 20 แห่ง ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมา" ธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ชัย กรรมการผู้จัดการกล่าวถึงที่มาของตัวเลขสวย ๆ

เดิม 2 ภาคดังกล่าวบริษัทมีสัดส่วนยอดขายค่อนข้างน้อยรวมกันประมาณ 20% ของยอดขายทั้งหมด แต่จุดแข็งของบริษัทอยู่ในภาคใต้ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายกว่า 50% แต่ในครึ่งปีมานี้ ภาคเหนือ และอีสานทำยอดขายรวมกัน 38% ของยอดขายรวมบริษัทและภาคใต้มีสัดส่วนเหลือประมาณ 35%

"แต่ยอดขายในภาคใต้ก็ยังไม่ได้ตกไปแต่อย่างใด เรายังครองส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดที่ในภาคใต้" เขาย้ำ

จากกลยุทธ์ด้านคุณภาพสินค้าที่สูงกว่าคู่แข่ง เนื่องจากเครื่องยนต์มิตซูบิชิทำงานด้วยระบบ DIRECT INJECTION หรือระบบเผาไหม้โดยตรง ทำให้ประหยัดน้ำมัน อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบาและให้กำลังแรงม้าสูง ขณะที่ราคาใกล้เคียงหรือต่ำกว่าเครื่องยนต์อื่น ๆ ในท้องตลาดซึ่งทำงานด้วยระบบเผาไหม้ธรรมดาซึ่งกินน้ำมันมากกว่า

ที่สำคัญคือการบริการหลังการขายซึ่งธีระศักดิ์ยืนยันว่า TEM มีศูนย์บริการหลังการขายแพร่หลายกว่าบริษัทอื่น จากการที่มีศูนย์บริการประจำ 4 ภาค ศูนย์บริการย่อยระดับหมู่บ้านและอำเภอ และรถบริการอีกกว่า 70 คัน

"มิตซูบิชิ" จึงแย่งส่วนแบ่งตลาดจากผู้นำตลาดได้อย่างไม่ยากเย็นแม้ว่าจะเข้ามาสู่ยุทธภูมินี้เพียงแค่ 5-6 ปี

โดยสิ้นพฤษภาคมที่ผ่านมาเครื่องยนต์มิตซูบิชิมีส่วนแบ่งตลาด 24% เป็นที่สองรองจากยี่ห้อคูโบต้า ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 56% จากที่เคยมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 60-70% และที่สามเป็นของยันมาร์จากค่ายซูซูกิ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 16% โดยรายหลังนี้แต่เดิมอยู่ในอันดับที่สอง แต่ถูกเบียดตกไปตั้งแต่กลางปีที่แล้ว

ทว่าเป้าหมายของธีระศักดิ์ไม่ใช่แค่นั้น ในระยะยาว TEM หวังเป็นผู้นำตลาดทั้งในและนอกประเทศ แผนงานในอนาคตจึงถูกถักทอขึ้นเพื่อสานฝันดังกล่าว

แผนแรกคือการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในประเทศ TEM ประมาณการว่าจะต้องมีส่วนแบ่งตลาด 34% หรือมียอดขาย 2,387 ล้านบาทในปี 2543 โดยจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดปีละ 2% นับจากปีนี้ ซึ่งคาดว่าสิ้นปีจะมีส่วนแบ่งตลาด 26% หรือยอดขาย 1,393 ล้านบาท

ใช่เพียงแค่นี้ TEM ยังมีแผนขยายตลาดต่างประเทศซึ่งในปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 16% ของยอดขายรวม แต่บริษัทคาดว่าจะเพิ่มให้เป็น 30% ในระยะยาว โดยมีตลาดหลักที่มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว

เหตุที่ TEM หวังว่ารายได้จากต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น เพราะมองว่าตลาดเหล่านี้มีศักยภาพการเติบโตสูง โดยเฉพาะในแถบอินโดจีน ซึ่งยังมีการใช้เครื่องจักรทางการเกษตรจำนวนน้อย แต่มีการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้มีอำนาจซื้อสูงขึ้น

การรุกล่าสุดคือจับมือกับรัฐบาลเวียดนาม ร่วมทุนในสัดส่วน 70% ต่อ 30% เพื่อนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องยนต์จากประเทศไทยไปประกอบและขายในนั้น คาดว่าจะเริ่มได้ในปีหน้า และในอีก 2-3 ปีถัดไปก็จะรุกคืบเข้าไปในพม่าในลักษณะเดียวกัน

"เราจะต้องถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50% หรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีอำนาจในการบริหารงาน" ประสิทธิ์ กาญจนศักดิ์ชัย มือขวาทางการเงินของธีระศักดิ์กล่าวถึงนโยบายคร่าว ๆ ในการลงทุนต่างแดน

ว่าไปแล้วคู่แข่งที่ต้องเผชิญก็หนีไม่พ้น "เครื่องจักรหน้าเต็ม" ที่เจอะเจอในประเทศ นั่นคือ ยี่ห้อคูโบต้าและยันมาร์ เนื่องจากว่าทั้งสามบริษัทเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลประเภท WATER COOLING SYSTEM ซึ่งเหมาะกับเมืองร้อนเพียง 3 รายในโลกเท่านั้น

แต่การแข่งขันในต่างประเทศไม่ใช่ปัญหาหนักอกของ TEM เพราะบริษัทสยามคูโบต้าและบริษัทยันมาร์ เอส.พี. ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น จึงทำให้ในเวทีระหว่างประเทศ สองบริษัทดังกล่าวไม่ใช่คู่แข่งของ TEM ซึ่งได้รับอนุญาตจากบริษัทมิตซูบิฃิ ญี่ปุ่น ให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องยนต์ "มิตซูบิขิ" รายเดียวในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งกลุ่มอินโดจีน ดังนั้นคู่แข่งของ TEM จึงได้แก่บริษัทแม่ของคูโบต้าและยันมาร์จากญี่ปุ่น

ธีระศักดิ์ชี้ว่า TEM ได้เปรียบเรื่องต้นทุนสินค้า "เราผลิตในประเทศไทยและส่งจายไปในแถบนี้ ส่วนทางคู่แข่งเราต้องนำมาจากญี่ปุ่นซึ่งก็มีค่าขนส่งสูงกว่า เพราะเขาก็ไม่มีโรงงานในแถบประเทศเหล่านั้นเช่นกัน" แน่นอนว่าการรุกทั้งในและต่างประเทศจะประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นก็คือการมีต้นทุนต่ำ แผนงานสนับสนุนที่วางไว้ก็คือการลดต้นทุนผลิตด้วยการผลิตชิ้นส่วนเอง ซึ่งเริ่มมาตั่งแต่กรกฎาคมปีที่แล้ว

ชิ้นส่วนหลัก 6 รายการที่ผลิตได้คือ เสื้อสูบเครื่องยนต์ ฝาสูบเครื่องยนต์ ล้อช่วยแรง เฟืองเกียร์ ฝาครอบชุดเฟืองและปลอกสูบ ทั้งหมดได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เขต 3

"แต่ละชิ้นส่วนที่ผลิตได้จะประหยัดต้นทุน 40% ซึ่งเราคิดว่าจะทยอยเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ต้นทุนต่ำลงอีก" ประสิทธิ์กล่าวย้ำ

นอกเหนือจากสินค้าเดิม TEM ยังมีแผนเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ โดยในเดือนตุลาคมปีนี้ จะนำเข้าเครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็กที่ใช้ในการเกษตรเข้ามาจำหน่ายซึ่งในช่วงปีแรกหวังรายได้เพียง 92 ล้านบาท "สินค้าสองตัวนี้ไม่แย่งตลาดกัน เพราะเครื่องยนต์ดีเซลเหมาะกับการใช้งานที่หนักกว่า ถ้าซื้อเป็นเครื่องแรกเกษตรกรก็จะซื้อดีเซล และจะซื้อเบนซินมาช่วยเสริมการทำงานตามมา" ธีระศักดิ์ชี้แจง

ตลาดเครื่องยนต์เบนซินเป็นตลาดที่มีคู่แข่งขันน้อยราย มีเพียง 2 ค่ายที่ฟาดฟันกันอยู่นั่นคือ ฮอนด้า ซึ่งกินส่วนแบ่งกว่า 80% และคาวาซากิ โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 3-4 พันล้านบาท และอัตราเติบโตปีละ 10%

แต่ TEM ก็ไม่ได้ย่นย่อต่อการเจาะตลาด เพราะชื่อมิตซูบิขิก็เป็นที่รู้จักและยังมีเครือข่ายจัดจำหน่ายที่เข้าแข็ง

โดยมีหัวหอกหลักในการกระจายสินค้าในประเทศด้วยตัวแทนจำหน่ายประจำภาค 22 แห่งซึ่งมีเครือข่ายดีลเลอร์กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้มีบริษัทไทยธุรกิจเกษตรของธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ไม่เพียงเท่านั้น TEM ยังจะนำเข้าเครื่องจักรกลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างต่าง ๆ ยี่ห้อมิตซูบิชิเข้ามาขายอีกด้วย โดยได้รับอนุญาตจากฝ่ายญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะทยอยทำตลาดตามภาวะที่เหมาะสมต่อไป

การหันมาทำตลาดสินค้าใหม่ ๆ มากขึ้น ก็เพื่อต้องการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยเฉพาะเพื่อลดความผันผวนของยอดขายสินค้าปัจจุบัน ซึ่งจะมีรายได้เข้ามามากในปลายปีและค่อนข้างน้อยในต้นปี ส่วนรายได้จากสินค้าใหม่จะมากน้อยเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับแนวโน้มของเครื่องจักรเกษตรและเครื่องจักรอื่น ๆ

แม้งานทั้งหมดจะเน้นการผลิตและการตลาด แต่ในส่วนการเงิน TEM ก็มิได้ละเลย โดยได้ปรับโครงสร้างทางการเงินครั้งใหม่ไป เมื่อเดือนสิงหาคม ด้วยการเพิ่มทุนจดทะเบียน 2 ล้านหุ้น ซึ่งระดมทุนได้ 460 ล้านบาท อันจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อผู้ถือหุ้นลดจาก 1.6 เท่าเหลือ 1 เท่า อันเป็นระดับตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 1-1.4 เท่า

อีกทั้งจะออกหุ้นกู้จำนวน 600 ล้านบาทตามมาในปลายปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

ประสิทธิ์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "จริง ๆ เราออกหุ้นกู้ก็ได้ แต่ถ้าทำอย่างนั้นสัดส่วนหนี้ก็จะสูงเกินไป การเพิ่มทุนจะทำให้มีช่องว่างในการกู้ยืมมากขึ้น"

รวมทั้งการเพิ่มทุนและออกหุ้นกู้ยังทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยต่ำลง 3-4% จากเดิมที่มีต้นทุนดอกเบี้ย 13-15% ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดเหลือเพียง 1% กว่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากเดิมที่เคยสูงถึง 3%

นั่นคือในท้ายที่สุดแล้ว กำไรสุทธิของบริษัทก็คงมีตัวเลขงาม ๆ ออกมาให้เห็นอีกเช่นเคย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us