Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
ปกรณ์ บุณยเกื้อกูล ต้องล้างหนี้ บง. บางกอกเงินทุนให้หมดในปีนี้             
 


   
search resources

บางกอกเงินทุน, บง.
ปกรณ์ บุณยเกื้อกูล
Financing




บริษัทเงินทุน บางกอกเงินทุน ในอดีตถือเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนทางการต้องเข้ามาดูแล และถูกบรรจุเข้าไปอยู่ในโครงการทรัสต์ 4 เม.ย. เมื่อปี 2527

และในที่สุดเมื่อปี 2535 ที่ผ่านมานี้ กลุ่มไรมอนและตระกูลศรีไกรวินซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไรมอนแลนด์ และบริษัทสวีเดนมอเตอร์ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ ได้จับมือกันเข้าไปประมูลใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนของบริษัทบางกอกเงินทุนมาจากกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และเริ่มเข้ามาบริหารบริษัทตั้งแต่เดือน มีนาคม 2536

แม้ว่าจะประมูลมาด้วยราคาเพียง 300 ล้านบาทซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างถูก แต่ก็แถมหนี้สินติดมาด้วยเกือบ 2,000 ล้านบาท จึงไม่ใช้เรื่องง่ายเลยสำหรับผู้ที่จะเข้ามาบริหารและทำให้บริษัทอยู่ในภาวะที่มีกำไร

บริษัทบางกอกเงินทุน จัดว่าเป็นสถาบันการเงินขนาดเล็ก มีสินทรัพย์เพียงประมาณ 6 พันล้านบาท ในปัจจุบันถือว่ายังไม่ค่อยมีฐานลูกค้าเป็นของตัวเองเท่าไหร่นัก เนื่องจากบริษัทเริ่มทำธุรกิจอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นการเติบโตของบริษัทถือว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานให้แน่นเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะแยกหรือแตกตัวเข้าไปสู่ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกันอยู่

ปกรณ์ บุณยเกื้อกูล กรรมการผู้จัดการคนใหม่ที่เพิ่งถูกทาบทามให้เข้ามารับตำแหน่งใหม่เพียงระยะเวลาปีกว่า จึงจำเป็นต้องทำงานหนักอย่างแรก คือ ต้องทำตัวเลขติดลบหนี้เก่าให้เป็นศูนย์ รวมทั้งต้องเริ่มต้นสร้างรายได้ให้กับบริษัทควบคู่ไปด้วย เพราะว่ารายได้หลักจากธุรกิจสินเชื่อขณะนี้แทบไม่มีเข้ามาเลย จึงต้องอาศัยการขายสินทรัพย์ถาวรไปบางส่วนเพื่อเคลียร์หนี้ที่ติดค้างมา

กรรมการผู้จัดการคนใหม่ กล่าวให้ฟังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การแข่งขันของธุรกิจประเภทนี้จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การทำงานมีความยากขึ้นเป็นเงาตามตัว ผู้บริหารจำต้องใช้ความสามารถมากขึ้น

เขาย้อนให้ฟังว่าในอดีตตลาดค่อนข้างปิด การแข่งขันไม่มากนัก จะทำอะไรก็ง่ายไม่ต้องออกแรงมากก็ทำกำไรได้ดี แต่นับจากนี้ไปการดำเนินธุรกิจจะยากขึ้น เพราะฉะนั้นการที่บริษัทของเราเล็กอาจจะมีความเสียเปรียบที่ไม่สามารถทำธุรกิจได้หลากหลายมากนัก คงจะเลือกทำธุรกิจที่ดีและมีอนาคตดีเท่านั้น

แนวความคิดของปกรณ์ก็คือการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันควรจะมีความหลากหลายแต่ต้องไม่มากจนเกินไป

"ในระยะแรกที่เรายังนับหนึ่งอยู่ ก็ควรจะเริ่มจากธุรกิจขั้นพื้นฐานก่อน ต่อมาเมื่อมีความเข้มแข็งดีแล้วอาจจะหันไปทำธุรกิจที่มีความหลากหลายขึ้นก็เป็นได้"

ในระยะแรกนั้นปกรณ์เล่าว่าคงจะเน้นธุรกิจทางด้านสินเชื่อเป็นหลัก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดตอนนี้ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด การทำธุรกิจเงินทุน หรือธนาคารพาณิชย์ก็ยังคงมีรายได้หลักมาจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ส่วนธุรกิจอื่นที่คิดว่าทำได้ไม่ดี สู้คนอื่นไม่ได้ก็จะไม่ทำ

" สำหรับเป้าหมายในเบื้องต้นที่จะเน้น มี 3 กลุ่มเท่านั้น คือ สินเชื่อเคหะ สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่ออุตสาหกรรม เพราะถือว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จากดอกเบี้ยมากกว่ารายได้ที่เก็บแต่ค่าธรรมเนียม ซึ่งการปล่อยสินเชื่อทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องและบริษัทยังสามารถประเมินรายได้ได้ล่วงหน้า ทำให้บริษัทสามารถรู้และกำหนดทิศทางการเติบโตของบริษัทได้ "

ในขั้นแรกนี้ปกรณ์บอกว่าบริษัทยังไม่มีฐานลูกค้ามากนัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างฐานธุรกิจของบริษัทให้อยู่ได้ก่อนซึ่งอาจจะต้องเป็นการพึ่งพาเอื้อกันเองก่อน ระหว่างธุรกิจในเครือของ 2 กลุ่มหลักซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ จากกลุ่มไรมอนและจากกลุ่มตระกูลศรีไกรวิน เมื่อธุรกิจของบริษัทแข็งแรงดีแล้ว ค่อยขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มอื่น ๆ ขยายวงกว้างออกไป

สำหรับกลุ่มศรีไกรวินและกลุ่มไรมอนนั้นถือหุ้นใหญ่อยู่ในบริษัทบางกอกเงินทุนถึง 80% โดยเฉพาะกลุ่มศรีไกรวินนั้นทำธุรกิจค้ารถ เพราะเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ และไครสเลอร์สของบริษัทสวีเดนมอเตอร์ ซึ่งสามารถหาประโยชน์จากการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่เป็นดีลเลอร์ของบริษัทได้ ขณะเดียวกันก็ยังจะขยายสินเชื่อไปยังกลุ่มลูกค้าของไรมอนแลนด์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

" การที่เรามุ่งตลาดไปตรงนี้เพราะว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกัน และกันในระยะแรก อีกทั้งบริษัทเองก็รู้ข้อมูลของลูกค้าทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นอย่างดีก็น่าจะทำงานได้ง่ายขึ้น เราน่าจะใช้จุดนี้ที่ได้เปรียบคู่แข่งขัน สำหรับเป้าหมายในระยะต่อไป คือ 3 ปีข้างหน้านั้น บริษัทบางกอกเงินทุนตั้งเป้าว่าด้านการปล่อยสินเชื่อต้องไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท"

ในส่วนของสินทรัพย์นั้น ปกรณ์บอกว่าภายในต้นปี 2540 นี้ บริษัทตั้งเป้าเอาไว้ว่าต้องมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มจากปีนี้เกือบ 100% และมีกำไรสุทธิประมาณ 180 ล้านบาท ซึ่งในปี 2538 บริษัทสามารถทำกำไรได้ 150 ล้านบาท

ปกรณ์ชี้แจงว่า หลังจากที่ซื้อใบอนุญาตมาราว 3 ปี ทางผู้บริหารแทบจะไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะเหมือนกับเพิ่งเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด การที่บริษัทตั้งเป้าการเติบโตไว้ถึง 100% นั้นไม่ถือว่าเป็นตัวเลขที่มากมายอะไร

"สิ่งที่เราหวังมากที่สุดและพยายามเดินไปให้ถึงเป้าหมาย คือการที่จะทำให้สินทรัพย์ของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 พันล้านบาทให้ได้ตั้งแต่ปี 1997 จนถึงปี 2001 ซึ่งคงต้องเหนื่อยกันพอสมควร"

ทางด้านส่วนตัวนั้น ปกรณ์ถือว่าเป็นผู้ที่คร่ำหวอดทางด้านการเงินคนหนึ่งมีประสบการณ์ทำงานกับธนาคารทั้งในและต่างประเทศ ก่อนหน้าที่จะถูกทาบทามมาอยู่ที่นี่เขาเคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อของลูกค้ารายใหญ่ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ จนเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำสาขาประเทศไทย และเป็นผู้จัดการภาคพื้นประเทศไทยด้านไพรเวทแบงก์กิ้ง

จากนั้นย้ายไปประจำที่สำนักงานใหญ่ที่นิวยอร์กและเลื่อนเป็นผู้ประสานงานด้านไพรเวทแบงก์กิ้งประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค และเป็นหัวหน้าส่วนไพรเวทแบงก์กิ้ง ประจำสาขาซานฟรานซิสโก และลอสแองเจลิส ซึ่งผ่านประสบการณ์ทางด้านสินเชื่อในสหรัฐอเมริกามากว่า 5 ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us