ปีแพะธุรกิจบัตรเครดิตแข่งดุ พลิกโฉมงัดกลยุทธ์จัดโครงการดึงยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นแทนการหาสมาชิกบัตรรวมทั้งหา
ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆนำเสนอ หลังจากปีที่ผ่านมายกเครื่องธุรกิจทั้งระบบเริ่มจากธุรกิจเติบโตสูงหลายเท่าตัวจากแบงก์พาณิชย์ดิ้นหารายได้ทดแทนการ
ปล่อยกู้รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้ จ่ายภายในประเทศออกเกณฑ์ยกเลิกเงินเดือนขั้นต่ำ
ช่วงปลายปี 45 ช็อกวงการแบงก์ชาติกลืนน้ำลายตัวเองประกาศเกณฑ์ควบคุมเงินเดือนขั้นต่ำและดอกเบี้ย
ปี 2545 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ธุรกิจบัตรเครดิต ได้เปลี่ยนแปลงมากที่สุดเป็นการยกเครื่องทั้งระบบบัตรเครดิตก็ว่าได้
โดยเริ่มจากอัตราการเติบโต ที่สูงยอดผู้ถือบัตรเครดิตพุ่งขึ้นหลายเท่าตัว
หลังจาก ที่ระบบเครดิตได้ล้มสลายไปกับวิกฤตเศรษฐกิจจน ทำให้เป็นช่องทางของธุรกิจเครดิตนอกระบบ
ซึ่งรวม ไปถึงธุรกิจบัตรเครดิตNON-BANK ด้วย
จากที่ NON-BANK เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในการทำธุรกิจส่งผลให้สถาบันการเงิน
ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจบัตรเครดิตควบคู่กับการปล่อยสินเชื่อมาโดยตลอดเริ่มขยับตัวตาม
NON-BANK บาง เพราะเริ่มจะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดบ้างแล้ว แต่ภายใต้การแข่งขันในปีที่ผ่านมายังไม่เท่าเทียมกันระหว่างสถาบันการเงินกับ
NON-BANKเพราะสถาบันการเงินทำธุรกิจบัตรเครดิตต้องอยู่ใน การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะที่NON-BANK
ไม่มีการควบคุมทำให้มีศักยภาพใน การแข่งขันที่สูง
ในปีนี้ 2546 ถือว่าเป็นปีเริ่มต้นของการแข่งขันอย่างแท้จริงของธุรกิจบัตรเครดิตภายใต้กฎกติกาเเดียวกันทั้งสถาบันการเงินและ
NON-BANK ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกเกณฑ์มา ซึ่งเชื่อว่าทุกแห่งจะต้องสรรหากลยุทธ์ดึงลูกค้าสิทธิประโยชน์ต่างๆ
จากการแข่งขันจะต้องตกอยู่กับผู้บริโภคแน่นอนธุรกิจบัตรเครดิตเริ่มมีการพูดถึง
กันในกลุ่มสถาบันการเงินในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
ระบบเครดิตต่างๆได้ ล้มสลายโดยเฉพาะธุรกิจบัตรเครดิตธุรกิจต่างๆต้องใช้เงินสดเทานั้นที่จะทำธุรกิจได้
ธนาคารพาณิชย์เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)จำนวนมาก
และปฏิเสธไม่ได้ว่าบัตรเครดิตก็เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นพีแอลเช่นกันจน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่กำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์โดยตรงต้องออกเกณฑ์การทำบัตรเครดิตให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้นโดยเพิ่มเป็น
2 หมื่นบาทต่อเดือนจากเดิมที่อยู่ในระดับ 1 หมื่นบาทต่อเดือน
ระบบเครดิตล่มสลายจุดเริ่มบัตรเครดิจ NON-BANK
ความล่มสลายในระบบเครดิตของธนาคารพาณิชย์ส่งผลให้เป็นจุดเริ่มต้นของสินเชื่อนอกระบบรวมทั้งบัตรเครดิตที่ไม่ใช้สถาบันการเงิน
(NON-BANK)ที่ใช้จังหวะของความไม่ไว้ใจกันระหว่างธนาคารพาณิชย ์และลูกค้าสร้างธุรกิจบัตรเครดิตให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
จากเดิมบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกจะมีเฉพาะกลุ่มแคบๆเท่านั้น
เช่นกลุ่มลูกค้าเซ็นทรัล แต่ ขณะนี้ธุรกิจบัตรเครดิต NON-BANK ได้กระจายไปในกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่มีประสบการณ์ในธุรกิจบัตรเครดิตมานาน
เช่น AEON, GE, EASY BUY
จากตัวเลขการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตNON-BANK มากกว่า 2 เท่าตัวต่อปี
เนื่องจากได้ จำกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับเงินเดือนต่ำกว่า 1 หมื่น บาท
ซึ่งเป็นฐานที่สูงที่สุดในประเทศไทย เมื่อเทียบกับผู้ที่มีเงินเดือนทั้งหมดของประเทศและจำนวนกลุ่มลูกค้าประเภทดังกล่าวไม่ได้เข้าเกณฑ์การทำบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ตามที่แบงก์ชาติได้
กำหนดและควบคุมไว้ โดยที่ NON-BANK นั้นสามารถทำธุรกิจกับลุกค้ากลุ่มดังกล่าวได้เพราะไม่ได้อยู่ในการควบคุมของแบงก์ชาติ
ส่งผลให้อัตราการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิต NON-BANK เติบโตอย่างมาก
เศรษฐกิจฟื้นแบงก์หันทำธุรกิจบัตรเครดิต
หลังจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการ ฟื้นตัวธนาคารพาณิชย์มีการขยับทำธุรกิจได้บ้าง
หลังจากวิกฤตได้พยายามแก้ไขเอ็นพีแอลซึ่งจะต้อง เพิ่มทุนเพื่อให้ดำเนินธุรกิจอยู่ได้และการเพิ่มทุนของ
แบงก์พาณิชย์ไทยนั้นเอง ได้มีต่างชาติเข้ามาถือหุ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาสนใจธุรกิจบัตรเครดิตอีกครั้งหนึ่งโดยธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้นธนาคารกสิกรไทยถือว่าเป็น
ผู้นำทางด้านธุรกิจนี้ รองมาจะเป็นธนาคารกรุงเทพ ไทยพาณิชย์ กรุงศรี กรุงไทย
ตามลำดับและในส่วนของธนาคารต่างชาติคงไม่มีใครปฏิเสธซิตี้แบงก์ ไปได้ที่ยังคงครองตลาดบัตรเครดิตในประเทศไทย
สูงที่สุดในระบบการเข้ามาถือหุ้นของต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทยทำให้เริ่มหันมามองธุรกิจบัตรเครดิตมากยิ่งขึ้นเนื่องจากธุรกิจมีอัตราการเติบโตที่สูง
และลูกค้าที่ส่วนใหญ่ของธนาคารยังคงเป็นรายย่อยซึ่งธุรกิจบัตรเครดิตจึงน่าจะเป็นฐานของการหารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียม
หลังจากที่รายได้จากดอกเบี้ยได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าระดับหนึ่ง
และการแข่งขันเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ
แบงก์ชาติกระตุ้นใช้จ่ายภายในประเทศ
แบงก์ชาติได้มองถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่ต้อง การการบริโภคภายในประเทศเป็นเรื่องขับเคลื่อนให้
เศรษฐกิจเดินต่อไปได้จึงพิจารณาถึงบัตรเครดิตเข้าไปด้วย ประกอบการสมาคมธนาคารไทยได้ยื่นหนังสือขอให้แบงก์ชาติได้พิจารณาทบทวนเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำของการทำบัตรเครดิตด้วย
ซึ่งที่สุดแล้วแบงก์ชาติได้ยกเลิกเพดานเงินเดือนของการทำ บัตรเครดิตซึ่งจะปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งกำหนดความเสี่ยงกันเอง
เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ NON-BANK ได้
ยกเลิกเกณฑ์เงินเดือนจำนวนบัตรพุ่ง
เกณฑ์ใหม่ของแบงก์ชาติ ทำให้บัตรเครดิตมี เพิ่มมากอย่างก้าวกระโดดโดยจากเดิมที่ฐานบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์จาก
1.8 ล้านบัตรได้เพิ่ม ขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นเป็น 2.6 ล้าน
บัตร และในสิ้นปี 2544 ฉุดให้จำนวนบัตรในระบบธนาคารพาณิชย์พุ่งสูงสุดที่ทำสถิติใหม่
2.8 ล้าน บัตรคิดเป็นอัตราเพิ่มจากปีก่อนถึง 45-50% และในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีทองของธุรกิจบัตรเครดิต
โดยมีการเพิ่มของจำนวนบัตรมากรวม ทั้งการแข่งขันก็มีความรุนแรง เพราะมองว่ายังมีโอกาสเติบโตสูงกว่าธุรกิจอื่นๆ
โดยในเดือนมกราคม เพียงเดือนเดียวจำนวนบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นถึง
1.96 ล้านบัตร เป็นบัตรของ ธนาคารต่างชาติในประเทศไทย 6.44 แสนบัตรรวมยอดบัตรทั้งระบบในเดือนมกราคมประมาณ
2.61 ล้านบัตรและตัวเลขของแบงก์ชาติที่ระบุยอดของบัตรเครดิตในเดือนกันยายนปี
2545มียอดบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย 2.55 ล้านบัตรยอดบัตรธนาคารต่างชาติที่อยู่ในไทย
7.09 แสนบัตร รวมทั้งระบบยอดพุ่งถึง 3.26 ล้านบัตร และมีการคาดการณ์ว่ายอดบัตรเครดิตในสิ้นปี
2545 ที่ผ่านมาตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการพุ่งสูงถึง 3.5-4 ล้านบัตรแน่นอน
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งหมดระหว่างปี 2541-เดือนกันยายน 2545
โดยในปี 2541 มียอดทั้งปี 8,940 ล้านบาท มีปริมาณการใช้จ่ายต่อ บัตรต่อปี
46,920 บาท และปริมาณการใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน 3,910 บาท ปี 2542 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร
9,160 ล้านบาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี 56,264 บาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน
4,688 บาท ปี 2543 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร พุ่งสูงขึ้นถึง 10,650 ล้านบาทปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี
60,318 บาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน 5,026 บาทปี 2544 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร
14,410 ล้านบาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี 56,237บาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน
4,686 บาท และในเดือนกันยายน 2545ปริมาณใช้จ่ายผ่าน บัตรอยู่ที่ 23,276 ล้านบาท
ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน 5,222 บาท
ซึ่งสังเกตว่านอกจากจำนวนบัตรจะพุ่งขึ้นสูงแล้วปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรก็สูงขึ้นตามไปด้วย
แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่รุ่นแรง จากการหาจำนวนผู้ถือบัตรแล้วซึ่งก็จะใช้วิธีการขายตรงไปยังกลุ่มลูกค้าเปิดโครงการเป็นแรงจูงใจโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมทั้งแรกเข้าและรายปีบางแห่งถึงขนาดใช้
กลยุทธ์ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพพร้อมทั้งยังมีกลยุทธ์ทางด้านการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องโดยทำ
ให้ผู้ถือบัตรมีการใช้จ่ายผ่านบัตรประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมฟื้นตัวทำให้มีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคมากยิ่งขึ้น
ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรวัดความเป็นหนึ่ง
ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรถือเป็นปัจจัยการ วัดใครมีความเหนือชั้นทางด้านธุรกิจ
ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมา ธนาคารจะมีการตัดสินความเป็นผู้นำทาง ตลาดบัตรเครดิตด้วยฐานบัตรเครดิตแต่ขณะนี้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงกลยุทธ์ของการเพิ่มจำนวนบัตรโดยการตัดรายได้จากค่าธรรมเนียมออก
โครงการฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ ดังนั้น จึงไม่สามารถวัดได้ว่าเป็นผู้นำทางด้านบัตรเครดิตจากจำนวนบัตรสิ่งที่จะวัดกันได้ในขณะนี้คือ
ปริมาณการ ใช้จ่ายผ่านบัตรเท่านั้นโดยทันทีที่มีการอนุมัติบัตรธนาคารจะเสนอสิทธิพิเศษต่างๆ
ให้ลูกค้าทันทีเพื่อจูงใจการใช้จ่ายผ่านบัตรซึ่งธนาคารผู้ออกบัตรจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมของร้านค้าดอกเบี้ยที่เกิดจากลูกหนี้ผิดนัดชำระ
ด้าน NON-BANK ก็มีการขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าแบงก์ชาติได้ยกเลิกเกณฑ์เงิน
เดือนขั้นต่ำสำหรับการทำบัตรเครดิตของสถาบันการ เงินแล้วก็ตามยังคงใช้จุดแข่งเรื่องของระบบป้อง
กันความเสี่ยงที่ดี เงื่อนไขที่ผ่อนผันรวมทั้งการอนุมัติที่รวดเร็ว ยังถือว่าเป็นจุดที่ขยายฐานบัตรได้
ดีมีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่อง และล่าสุดได้นำกลยุทธ์ของการนำสินเชื่อบุคคลเข้ามาใช้ร่วมกับบัตรเครดิต
NON-BANK เร่งขยายฐานบัตร
โดยนางสาวพรรณพร คงยิ่งยง กรรมการผู้จัดการ สินเชื่อเพื่อการซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระบริษัทจีอี
แคปิตอล(ประเทศไทย)กล่าวว่า เฟิร์ส ชอยได้ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าปีละ 40 %หรือคิดเป็นจำนวน
ลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนรายในปีนี้ จากปัจจุบันที่มี ลูกค้าประมาณ 8 แสนราย
และจะขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า คาดว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 1
ล้านรายในปัจจุบันบริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 5,000 ล้านบาท และในปีที่ผ่านมาเฟิร์ส
ชอยอนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 800 ล้านบาท และในช่วง 9 เดือน
บริษัทสามารถมีธุรกิจเพื่อการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นถึง 26%
ในขณะที่ยอดผู้ถือบัตรที่มีการผ่อนชำระมากกว่า 30% และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตามลำดับจากอัตราการเติบโตของจำนวนบัตร
ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมทั้งกลยุทธ์ในการแข่งขันที่รุนแรงอีกทั้งแนวโน้มของการผ่อนชำระบัตรเครดิตของลูกค้ามี
เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายของประชาชนเกินตัว อาจจะเป็นปัญหาขึ้นในอนาคตได้ถึงแม้ว่าตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังมีน้อยมาก
เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้จ่ายของประชาชนทั้งประเทศก็ตามแต่แนวโน้มของการใช้จ่ายก็มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลกลัวการใช้จ่ายเกินตัวของประชาชน
รัฐบาลโดยเฉพาะหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ได้ออกเริ่ม ออกมาแสดงความเป็นหว่งถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของประชาชนทั่วไปว่าจะเกิดปัญหาของการใช้จ่ายเกินตัวมากขึ้นซึ่งได้สั่งการให้รัฐมนตรีคลัง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และแบงก์ชาติ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล พยายามหาแนวทางกำกับดูแลไม่ให้เกิดปัญหาของการใช้จ่ายเกินตัว
ซึ่งแบงก์ชาติได้ออก มาเตือนถึงผู้ออกบัตรให้มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
ก็ไม่ได้ทำให้ธนคารพาณิชย์และ NON-BANK หยุด การแข่งขันเพื่อเพิ่มจำนวนของบัตรเครดิตเลยมีการ
ออกโครงการพิเศษต่างๆเพื่อกระตุ้นให้จำนวนบัตรและการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น
นายกฯสั่งแบงก์ชาติออกเกณฑ์ควบคุม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ออกมาสั่งให้แบงก์ชาติออกเกณฑ์ที่กำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตอย่างชัดเจนและเหมาะสมภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
ซึ่ง จะร่วมทั้งเรื่องของการออกบัตรโครงการพิเศษต่างๆ ที่ธนาคารพาณิชย์ออกมาแข่งขันกันโดยเฉพาะเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่นายกฯ
ได้มองว่าลูกค้าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ออกบัตร ที่มีการ คิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินความเป็นจริง
ทั้งสถาบันการ เงินและ NON-BANK ซึ่งนอกจากที่จะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดแล้วยังคิดค่าปรับสำหรับลูกค้า
ที่ผิดนัดชำระอีก ถือว่าลูกค้ามีแต่เสียกับเสียอัตราค่า ปรับในแต่ละงวดไม่ใช่เล็กน้อย
คิดในอัตรา 100-200 บาทต่องวดนอกจากนี้ยังมีการคิดดอกเบี้ยในอัตรา 18-25
%ซึ่งก็ต้องรอดูว่าแบงก์ชาติจะมีการแก้ไข หรือออกกฎเกณฑ์อะไรมาเพิ่มเติมที่จะกำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล
ช็อกคลังประกาศเกณฑ์ควบคุมบัตรเครดิต
กระทรวงการคลังได้ประกาศเกณฑ์ควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งจะรวมไปถึง NON-BANKด้วย
โดยหลักๆจะควบคุมเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่คิดสูง เกินไปได้กำหนดเพดานไว้ทั้งอัตราดอกเบี้ยและอัตราค่าธรรมเนียมต้องไม่เกิน
18% และเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำจะต้องไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเกณฑ์ทั้ง
2 ข้อนั้นถือว่าช็อกวงการบัตรเครดิต ทำ ให้ต้องหันกลับมาตั้งต้นใหม่ปรับแนวทางและกลยุทธ์ธุรกิจใหม่
หลังจากกระทรวงการคลังได้ประกาศเกณฑ์การดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการ
โดยเฉพาะ NON-BANK ที่มีรายได้ส่วนใหญ่จากการคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมซึ่งขณะนี้ได้กำหนดเพดานไว้แล้ว
นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่คือการขยายฐานบัตรเพื่อให้มีจำนวนมากที่สุด
จะได้มีรายได้จากค่าธรรมเนียมจากเดิมที่ฐานเงินเดือนต่ำกว่า 1 หมื่นบาทมีจำนวนมากถึง
6 ล้านคน ซึ่งกลุ่มที่มีเงินเดือนตามเกณฑ์ใหม่ 1.5 หมื่นบาทมีน้อยมาก
พลิกกลยุทธ์เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทน
นายนิวัตต์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน)กล่าวว่าบริษัทต้องพลักกลุยุทธ์ในการหารายได้ใหม่เพื่อมาทอแทน
รายได้จากค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ตามเกณฑ์ธุรกิตบัตรเครดิตใหม่โดยจะหันเข้ามาทำ
ธุรกิจสินเชื่อบุคคลขณะนี้ได้ตั้งฝ่ายสินเชื่อบุคคลจัดทีมงานอย่างสมบูรณ์พร้อมที่จะบุกตลาดสินเชื่อบุคคลในปีหน้า
สินเชื่อบุคคลของบริษัทจะเน้นออกผลิต ภัณฑ์ที่พิเศษเฉพาะกลุ่มลูกค้าซึ่งจะเป็นการตอบสนองความต้องการได้ตรงเป้าหมายมากที่สุดนอก
จากนี้ บริษัทยังคงเน้นการหาลูกค้าบัตรเครดิตเพิ่ม อย่างต่อเนื่องซึ่งจะเน้นกลุ่มลูกค้าเงินฝากของธนาคารกรุงไทยรวมทั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีบัญชีเงิน
เดือนไว้กับธนาคารซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของบริษัทใน การทำธุรกิจที่มีธนาคารเป็นบริษัทแม่ให้การสนับสนุน
นายธนชัย ธนชัยอารีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจผู้บริโภค ธนาคารยูโอบีรัตนสิน
จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ บัตรเครดิตธนาคารจะปรับเปลี่ยนบ้างเนื่องจากทุกแห่งได้ใช้กลยุทธ์ในการเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรมากที่สุด
แต่ขณะนี้กลุ่มลูกค้าได้แคบลง ทำให้ต้องหาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาทดแทน เช่น
บัตรเดบิต หรือสินเชื่อบุคคล รวมทั้งการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร
นอกจานี้ธนาคารยังใช้กลยุทธ์เดิมที่จะเป็นสิทธพิเศษให้กับผู้ถือบัตรเครดิตทั้งรายเก่าและราย
ใหม่ของธนาคารคือ การยดเว้นค่าธรรมเนียมตลอด ชีพให้กับลูกค้า แต่ลูกค้าจะต้องมีการใช้จ่ายผ่านบัตรทุกๆเดือนหากไม่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรธนาคาร
ก็จะคิดค่าธรรมเนียมรายปีกับผูถือบัตรซึ่งถือว่าเป็น เกณฑ์ที่ลูกค้ารับได้
นอกจากนี้ลูกค้ายังเน้นเรื่องของ การให้บริการจัดโครงการพิเศษเพื่อจูงใจให้ลุกค้าใช้
จ่ายผ่านบัตรยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารก็จะยังคงใช้นโยบายเพิ่มจำนวนบัตรอย่างต่อเนื่องโดยจะยึดฐานลูกค้าเงินฝากของธนาคาร
ถึงแม้ว่าจะไม่มีเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทก็ตาม แต่ถ้ามีเงินฝากก็สามารถถือบัตรของธนาคารได้ซึ่งในกลุ่มดังกล่าว
ก็มีจำนวนมากเพียงพอที่จะขยายฐานบัตรได้ขณะนี้ธนาคารมีฐานบัตรเครดิตประมาณ
1.2 แสนบัตร
นายนิวัฒน์ ทุติยภาค ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ธนาคารทหารไทยจำกัด(มหาชน) กล่าวว่า
ธนาคาร จะเน้นเรื่องการติดตั้งเครื่อง EDC ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับรูดบัตรเครดิตและบัตรเดบิตให้มากที่สุด
เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาดด้านหนึ่งที่จะเพิ่มราย ได้จากค่าธรรมเนียม โดยธนาคารจะอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่จะมีเครื่องรับบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของธนาคารมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์อื่นๆก็สามารถเข้ามาใช้บริการเครื่อง
EDC ของธนาคารด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมอีกทางหนึ่ง
"ในปีนี้แบงก์ได้ติดตั้งเครื่อง EDC ไปแล้วจำนวนมากกว่า 2,500 เครื่องและคาดว่าในปี
2546 จะมีการติดตั้งเครื่องเพิ่มเติมอีกประมาณ 3,500 เครื่องเพื่อให้ความสะดวก
และเพิ่มรายได้" นาย นิวัฒน์กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารยังคงจะใช้กลุยทธ์เดิมที่จะขยายฐานผู้ถือบัตรเครดิตอย่างต่อเนื่องแต่จะไม่
ลงเข้าไปแข่งขันกันทุกรูปแบบอย่างธนาคารพาณิชย์ อื่นๆเพราะธนาคารมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตแล้วประมาณ
1.5 แสนบัตรซึ่งเป็นฐานบัตรที่มีคุณภาพที่มีฐานเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาททั้งสิ้นโดยธนาคาร
ไม่ได้มีการปรับเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำเลยจึงไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับเกณฑ์บัตรเครดิตใหม่ของ
ทางการอีกทั้งธนาคารเชื่อว่าสามารถแข่งขันในธุรกิจ บัตรเครดิตได้โดยเฉพาะแข่งขันกับ
NON-BANKเพราะมองว่าธนาคารมีต้นทุนที่ต่ำกว่า NON-BANK จึงมีการดำเนินธุรกิจที่คล่องตัวมากกว่า
ปีแพะธุรกิจแข่งดุ
ปีแพะเป็นปีที่มีแนวโน้มการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตอย่างดุเดือดและจะมีการแข่งขันอย่างต่อ
เนื่อง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกกฎเกณฑ์ใหม่ให้ผู้ขอบัตรเครดิตจะต้องมีรายได้
ไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ทำให้กลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์เริ่มน้อยลงในขณะที่การหารายได้จากการปล่อยสินเชื่อยังไม่เต็มเม็ดเต็ม
หน่วยอย่างเดิมที่เคยทำกันมาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจึงต้องมุ่งหาธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นทั้งดอก
เบี้ยและค่าธรรมเนียมซึ่งธุรกิจบัตรเครดิตถือว่าเป็น ธุรกิจที่ทำรายได้ให้กับธนาคารพาณิชย์เป็นกอบเป็นกำเหมือนกัน
ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ธนาคารทุกแห่ง จะมุ่งหากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจหรือแข่งขันได้ใน
เชิงธุรกิจ โดยวิธีเดิมการขยายฐานบัตรเครดิตปีหน้า จะชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ที่มีรายได้
1.5หมื่นบาทต่อเดือนคงมีจำนวนไม่มากนักนอกจากนี้หากเกิดภาวะสงครามในปีหน้าก็อาจทำให้ธุรกิจดังกล่าวหดตัวลงได้
การขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตคงจะไม่โต อย่างก้าวกระโดดเหมือนกับปีที่ผ่านมาเพราะผู้ประกอบการจะพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้
และเพิ่มยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าเพิ่มมาก ขึ้น จากเดิมที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยทั้งระบบประมาณ
6,000-7,000 บาทต่อเดือนต่อบัตรส พร้อมทั้งผลักดันให้ลูกค้าเข้าใช้บริการอื่นๆ
และเพิ่มสิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์บัตรเครดิตใหม่ของ ธปท.ที่ออกมาคงจะจบปัญหาไปแล้วเพราะทุกๆแห่ง
ต่างก็ปรับตัวและหากลยุทธ์ใหม่เข้ามาเสริมแล้วคง จะเป็นปีของการต่อสู้ในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างรายได้จาก
ธุรกิจให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแข่งขันทุกแห่ง ต่างก็ยอมรับถึงจุดนี้ดีแล้ว