Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
BDC แหล่งระดมทุนใหม่ที่ยังมีอนาคต             
 

 
Charts & Figures

มูลค่าการซื้อขายใน BDC


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย

   
search resources

ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
สมจินต์ ศรไพศาล
Financing




ชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ หรือ BDC (Bond Dealers' Club) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 แม้ชื่อจะเป็นเพียงชมรมแต่โดยสถานะแล้วเทียบเท่าตลาดรองตราสารหนี้ที่มีอยู่ในต่างประเทศทีเดียว (Secondary Market) จวบจนถึงทุกวันนี้ BDC กำลังย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 3 หากมองย้อนหลังลงไปจะยบว่าตลาดแห่งนี้มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและเติบโตอย่างเห็นได้ชัด

"ในตลาดการเงิน (Financial Market) จะเห็นว่า สัดส่วนเงินกู้ที่มาจากธนาคารพาณิชย์สูงที่สุด โดยในปี 1995 มีมูลค่าถึง 4,294 พันล้านบาท รองลงมามาจากตลาดหุ้นมีมูลค่า 3,564 พันล้านบาท ส่วนการระดมทุนจากตลาดตราสารหนึ้ยังมีสัดส่วนน้อยมาก มีมูลค่าเพียง 415 พันล้านบาท นั่นก็หมายความว่าตลาดนี้ยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีกมาก" สมจินต์ ศรไพศาล Senior Vice President ชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ กล่าวถึงอนาคตของตลาดนี้ในงานสัมมนา "Thai Bond '96"

หากพิจารณาเปรียบเทียบตลาดตราสารหนี้ของไทยเมื่อสิ้นสุดเดือนธันวาคม 1995 กับมูลค่าสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด จะพบว่ามีขนาดเพียง 8 % และเมื่อเทียบกับผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีสัดส่วน 10% และ 12% เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น

"ในต่างประเทศโดยทั่วไป ตลาดตราสารหนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าตลาดหุ้นถึง 2 เท่า อย่างไรก็ตาม สำหรับไทยการที่จะทำให้ตลาดตราสารหนี้ใหญ่เท่าตลาดหุ้นยังเป็นหนทางอีกยาวไกล"

ราวปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา BDC พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปเยี่ยมชมตลาดตราสารหนี้ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และที่โยฮันเนสเบิร์ก อาฟริกาใต้ ซึ่งรูปแบบตลาดของยุโรป และสหรัฐฯ มีลักษณะเป็นตลาด Over The Counter หรือ OTC ในขณะที่โยฮันเนสเบิร์กมีรูปแบบเป็นศูนย์ซื้อขาย หรือที่เรียกว่า Exchange ซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก ทั้งนี้ก็เพื่อศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสียทั้งในรูปแบบของ OTC และ Exchange ก่อนที่จะนำมาประยุกต์ใช้ยกระดับตลาดตราสารหนี้ของไทย

ปัจจุบัน BDC มีสมาชิกทั้งสิ้น 87 ราย เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 58 ราย บริษัทหลักทรัพย์ 11 ราย บริษัทเงินทุน 1 ราย ธนาคารพาณิชย์ไทย 10 ราย และธนาคารพาณิชย์ต่างชาติอีก 7 ราย ซึ่งสมาชิกแต่ละรายจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า 1 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมประจำปี 200,000 บาท และสมาชิกทุกรายจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับจรรยาบรรณ (Code of Conduct) ของ BDC โดยในการซื้อ-ขายแต่ละครั้งจะต้องมีการบันทึกลงในระบบของ BDC

ด้านตัวสินค้าในตลาด จนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หุ้นกู้ภาคเอกชนมีสัดส่วนสูงถึง 32% ของยอดคงค้างของตลาดรวมที่มีมูลค่า 123,237.5 ล้านบาท โดยสามารถแยกออกเป็นยอดคงค้างหุ้นกู้ มูลค่า 102,747.5 ล้านบาทจำนวน 86 Issues หุ้นกู้แปลงสภาพที่เข้ามาซื้อขายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1995 มูลค่า 4,490 ล้านบาทจำนวน 5 Issues และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเข้าซื้อขายในตลาดเมื่อ 24 ตุลาคม 1995 มูลค่า 16,000 ล้านบาทจำนวน 15 Issues

อย่างไรก็ตาม ในราวเดือนกันยายนคาดว่าจะสามารถนำพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF : Financial Institutions Development Fund) เข้ามาทำการซื้อขายพร้อมทั้งหุ้นกู้ประเภทคืนเงินต้นทุก 6 เดือน หรือ Amortizing Debenture

"ขณะนี้เราอยู่ระหว่างการทดสอบโปรแกรม เพราะตราสารประเภทนี้ใช้ระบบ Bonds net ไม่ได้ เนื่องจากมีการจ่ายคืนเงินต้นทุก 6 เดือน ดังนั้นปัญหาคือ เราไม่สามารถอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ทันที เพราะในระบบ Bonds net จะสามารถคำนวณออกมาได้เฉพาะ Clean price และ Dirty price เท่านั้น ซึ่งในช่วงเริ่มต้นเราให้ความสำคัญกับ Straight bond มากกว่า ดังนั้นเมื่อบอนด์ประเภทนี้เกิดขึ้นเราจึงไม่สามารถคำนวณหาความสัมพันธ์ของราคาได้ ตอนนี้โปรแกรมของเราพร้อมที่จะทดลองแล้ว และคิดว่าจะใช้ได้กับตราสารทั้งแบบ Step up / down bond" สมจินต์ ให้รายละเอียด

เนื่องจากโครงสร้างของตราสารหนี้เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น BDC จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบสนับสนุนเพื่อนำมารองรับ ซึ่งคาดว่าจนถึงปลายปีนี้ BDC จะมีโปรแกรมหลัก ๆ 3 โปรแกรม สำหรับตราสาร 3 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ในตลาดทั่วไป (Regular program) สำหรับตราสารธรรมดา Table of cash flow สำหรับตราสารประเภท Amortizing debenture หรือ Step up / down Debenture และโปรแกรมการซื้อ-ขายตามราคา (trading by prices) โปรแกรมนี้จะใช้ในกรณีทั้ง 2 โปรแกรม ไม่สามารถรองรับตราสารพิเศษบางชนิดได้

นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยังมีนโยบายที่จะผลักดันให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล บริษัทประกัน และสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้สามารถเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ได้

ขณะเดียวกัน BDC ก็กำลังอยู่ในระหว่างร่างข้อเสนอและโครงสร้างของตลาดซื้อคืน (Repurchase Market) ปัจจุบันไทยมีตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพียงแห่งเดียว คือ ที่ธปท. ซึ่งจะมีการซื้อขายวันละ 2 ครั้งในรูปแบบของการประมูล ซึ่งหากตลาดนี้เกิดขึ้นได้สำเร็จจะทำให้ตลาดตราสารหนี้มีสภาพคล่อง และสามารถดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนได้มากขึ้น

ในเรื่องของภาษี ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ของไทยได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษี Capital gain แต่นักลงทุนจะต้องจ่ายภาษีดอกเบี้ย (Interest tax) โดยนักลงทุนไทยประเภทบุคคลจะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ในกรณีที่ราคาตราสารหนี้มีราคาต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว นักลงทุนจะถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บ Discount tax เพราะถือว่าเป็นดอกเบี้ยประเภทหนึ่ง ดังนั้นนักลงทุนจะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 15% แต่นักลงทุนไทยประเภทสถาบันจะจ่ายเฉพาะภาษีนิติบุคคล 30% ในตอนปลายปี และอีก 3% สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับสถาบันการเงิน

ในกรณีของนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนประเภทบุคคลจะต้องจ่ายเหมือนกับนักลงทุนไทย ส่วนนักลงทุนสถาบันจะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15 หรือ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอนุสัญญาภาษีซ้อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีกว่า 20 ประเทศ

"ด้านปัญหาการขาดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ขณะนี้กระทรวงการคลังพยายามที่จะแก้ไข ก.ม.ให้กระทรวงการคลังสามารถออกบอนด์ได้แม้ว่างบประมาณจะสมดุล โดยออกได้ 10% ของงบประมาณ และเงินที่ระดมมาได้จะนำไปปล่อยกู้แก่รัฐวิสาหกิจที่ต้องการใช้เงิน ซึ่งหากเป็นไหได้ก็จะทำให้เกิดอัตราอ้างอิงมาตรฐานขึ้นได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ในปลายปี" สมจินต์ ให้ความหวัง

การปรับปรุงประสิทธิภาพในการชำระเงินและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing & Settlement) ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ BDC จะต้องทำการพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งสมจินต์ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะจะต้องคำนึงถึงทุกฝ่าย ปัจจุบัน BDC ใช้ระบบ T+2 ซึ่งค่อนข้างช้าในกรณีที่มีความต้องการใช้เงินเร่งด่วน ซึ่งปัจจุบันระบบของ BDC ยังไม่สามารถทำได้เร็วกว่านี้ ณ ขณะนี้ ทั้งธปท.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และ BDC กำลังร่วมกันทำงานเพื่อที่จะพัฒนาให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบัน ธุรกรรมที่เกิดขึ้นในตลาด จะมีทั้งที่เป็นแบบ Dealing Transaction ซึ่งเป็นการซื้อ-ขายกันโดยตรงระหว่างดีลเลอร์ที่เป็นสมาชิก BDC และ Crossing Transaction ที่เป็นการซื้อ-ขายระหว่างสมาชิกกับนักลงทุนที่มิใช่สมาชิก มิใช่การซื้อขายผ่านระบบ Bondnet ของ BDC เพียงแต่มีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบของ BDC เท่านั้น จากสถิติตัวเลขในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธุรกรรมแบบ Crossing Transaction มีมูลค่ากว่า 23,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกรรมแบบ Dealing Transaction มีมูลค่าประมาณ 13,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่มีมูลค่า 18,000 ล้านบาท และ 12,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งนั่นหมายความว่าธุรกรรมทั้งสองประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต (ดูตารางมูลค่าการซื้อขายใน BDC)

นอกจากนี้ ส่วนต่างระหว่างราคาการเสนอขาย-ซื้อ (Bid-Offer Spread) ของตราสารหนี้ที่มีการซื้อ-ขายสูงสุด 10 อันดับแรก ยังสามารถบ่งบอกได้ว่าตลาดเริ่มมีสภาพคล่องมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยส่วนต่างได้ปรับตัวลดลงมาเรื่อย ๆ จากระดับประมาณ 0.1% ลดลงเหลือประมาณ 0.05 %

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us