Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
รัชนีพรรณ ยุกตะเสวี ผู้จัดการบริหารกองทุนสำรองเลื้ยงชีพของ BBL             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Cash Management
รัชนีพรรณ ยุกตะเสวี




"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นวิธีการระดมเงินออกเพื่อใช้พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมได้ทางหนึ่งและประเทศไทยเองก็ยังมีโอกาสที่จะระดมเงินออมในลักษณะนี้ได้อีกมาก เพราะในปีที่ผ่านมายอดคงค้างของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่แล้วในระบบมีไม่ถึง 1.5% ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก และมีผู้เข้าร่วมกองทุน หรือผู้ร่วมในการออมแบบนี้ประมาณร้อยละ 2 ของแรงงานทั้งหมด" ผลจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และการเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์เข้าเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองประเภทนี้ ได้จะช่วยทำให้การออกรูปแบบนี้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีสมาชิกมากขึ้น และน่าจะเป็นแหล่งเงินทุนหลักของประเทศได้ในอนาคต

นั่นเป็นคำกล่าวอย่างมั่นอกมั่นใจของดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่รับผิดชอบเรื่องอินเวสต์เมนต์ แบงคกิ้ง ของธนาคารกรุงเทพหลังจากที่เปิดหมวกอำลาชีวิตราชการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมาได้เกือบ 2 ปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นงานล่าสุดที่ ดร.พิสิฐ เตรียมผลักดันอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นงานใหม่ที่ท้าทายทีเดียว

ดร.พิสิฐ กล่าวเพิ่มเติมถึงเจตนารมณ์ต่อไปว่า ธนาคารมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะสนองนโยบายของรัฐในการให้บริการด้านการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะตระหนักถึงความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนเพื่อระดมเงินออมในการพัฒนาเศรษฐกิจ อันเป็นการสนองตอบนโยบายการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมของประเทศ

นอกจากนี้ก็ยังเป็นการส่งเสริมสวัสดิการของผู้ทำงานในยามเกษียณอายุ ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรอย่างมากแก่ผู้เป็นสมาชิก และบริษัทหรือนายจ้างที่เป็นผู้จัดตั้งกองทุนอีกด้วย รัชนีพรรณ ยุกตะเสวี ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งถือว่าเป็นมือขวาของ ดร.พิสิฐ ได้กล่าวเสริม

เธออธิบายว่า กลุ่มงานจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ธนาคารกรุงเทพจัดตั้งขึ้นมานั้น จะให้บริการทางด้านต่าง ๆ แบบครบวงจรที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวอย่างเช่น บริการให้คำปรึกษาและจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับองค์กรหรือสถาบันที่ยังไม่มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา รับบริหารและจัดการกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาแล้ว โดยจะทำหน้าที่ทางด้านการบริการจัดเก็บเอกสารสำคัญของกองทุนของแต่ละบริษัท

รวมทั้งจัดทำรายงานเพื่อนำส่งกระทรวงการคลัง คณะกรรมการกองทุนและสมาชิกกองทุนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นยังมีการรับจัดทำเช็คเพื่อจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ที่พ้นจากสมาชิกภาพและบริการอื่น ๆ แทนกองทุนและสมาชิกกองทุนหรือนำเงินไปบริหาร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อกำหนดของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 6 รายที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งกองทุนในครั้งนี้

ส่วนรายละเอียดของกองทุนของธนาคารกรุงเทพนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กองทุนใหญ่ตั้งแต่ 10 ล้าน จนถึง 1,000 ล้านบาท และกองทุนเล็กซึ่งอาจจะมีกองทุนจำนวนเงินไม่มากนักแต่หลายกองทุนเข้ามาบริหารด้วยกัน ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนขณะนี้เป็นบริษัทเอกชนมีเข้ามาแล้ว 2-3 ราย และธนาคารพยายามที่จะขยายไปสู่กองทุนของพนักงานรัฐวิสาหกิจรายใหญ่อีกหลายราย ซึ่งกำลังศึกษาความเป็นไปได้

การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครั้งนี้เป็นผลมาจากการเปิดเสรีทางการเงินที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง และไม่อาจพึ่งพารายได้หลักจากส่วนต่างของดอกเบี้ยอีกต่อไปเหมือนเช่นในอดีต ทำให้ต้องเร่งหารายได้อื่นเข้ามาเสริม เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการ รวมทั้งการเสนอรูปแบบการบริการใหม่ ๆ ออกมา

ประกอบกับการที่ทางการได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต และบริษัทหลักทรัพย์สามารถเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา

"ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้ธนาคารกรุงเทพเสนอตัวเข้ามารุกธุรกิจด้านการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อย่างไรก็ตามบริการใหม่ของธนาคารนี้ เพิ่งเริ่มต้น ส่วนจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นคงต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ของธนาคาร รวมทั้งสาขาและฝ่ายสินเชื่อทั้งในเขตนครหลวง และต่างจังหวัดอันถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาธนาคารไปสู่การเป็นธนาคารที่ให้บริการได้อย่างครบวงจร และเป็นธนาคารอันดับหนึ่งต่อไป นั่นคือคำกล่าวอย่างมุ่งมั่นของผู้จัดการกองทุน

การรุกธุรกิจด้านการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของธนาคารกรุงเทพครั้งนื้ นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สถาบันการเงินที่เคยครองความเป็นเจ้าตลาด ต้องปรับแผนเพื่อรองรับกับการเข่งขันที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น

สำหรับพนักงานในสายงานกิจการการเงินธนกิจ มีประมาณ 10 คนนำทีมโดยรัชนีพรรณ ขึ้นตรงกับ ดร.พิสิฐ

ตัวรัชนีพรรณเองนั้นถือว่าเป็นลูกหม้อของกระทรวงการคลัง ในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือ สศค. หลังจากนั้นได้ใช้ชีวิตการทำงานที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง จึงได้มาลงตัวที่ธนาคารกรุงเทพตามคำชักชวนของ ดร.พิสิฐ

ประวัติการศึกษาของเธอ จบปริญญาตรีที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมาต่อปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วจึงบินลัดฟ้าไปต่อปริญญาโททางด้านการเงินอีกใบที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ถือว่าเป็นผู้หญิงทำงานในแวดวงการเงินที่น่าจับตามองดีคนหนึ่งของวงการ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us