ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และผู้วิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างวิเคราะห์อย่างระมัด
ระวังในแง่ที่ดีว่า ความเป็นไปได้ ที่จะเกิดภัยคุกคามจากวิกฤติเศรษฐกิจระลอก
ที่สองได้ผ่านพ้นไปแล้ว อย่างไร ก็ดี เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างต่อเนื่องไปได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งเสริมให้เกิดโครงสร้าง
ที่เหมาะสม ที่จะส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการกระตุ้นให้ธนาคารต่างๆ เริ่มปล่อยเงินกู้อีกครั้ง
ผู้บริหารจากธนาคารชั้นนำหลายแห่ง ที่มีความสามารถในการให้กู้เงิน ยังมีความไม่แน่ใจในการปล่อยสินเชื่อใหม่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
และทางเลือกในการให้สินเชื่อมีจำกัด
กระบวนการให้สินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral Based Lending)
ไม่เพียงพอ ที่จะปกป้องสิทธิ์ของผู้ให้กู้ในขณะที่การ ให้สินเชื่อโดยการพิจารณาจากความสามารถในการชำระ
และกระแสเงินสดมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่ยังไม่มีโครงสร้างกฎหมาย ที่รองรับ
และให้ความคุ้มครอง และยังมีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้กู้ และผู้ให้กู้
โดยที่ลูกหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้มากจนเป็นอุปสรรคในการให้สินเชื่อในอนาคต
"วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า การใช้หลักทรัพย์ และบุคคลค้ำประกัน
มิได้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่ให้ความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ได้ในกรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้"
เดวิด เอ็ดมอนส์ กรรมการบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ประเทศไทย
ฝ่ายบริการที่ปรึกษาด้านการเงินกล่าว
โดยหลักการแล้ว การใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แต่ในทางปฏิบัติ การยึดทรัพย์สิน และจำหน่ายทรัพย์สินเป็นกระบวนการที่ทำให้สำเร็จได้ยากมาก
เนื่องจากต้องผ่านขั้นตอนทางกฎหมาย หลายประการ "จึงอาจกล่าวได้ว่า การ ปรับปรุงกฎหมายล้มละลาย
และกฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ที่ได้ทำไปแล้วนั้น ช่วยให้กระบวนการในการยึดทรัพย์มีความซับซ้อนน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงต้องใช้เวลา อีกหลายปีกว่า ที่เจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนจากทรัพย์สิน
ที่ใช้เป็นหลักประกัน" เอ็ดมอนส์บอกโอกาส ที่เจ้าหนี้จะให้สินเชื่อโดยพิจารณาจากกระแสเงินสดของกิจการยังมีน้อยในระบบการให้สินเชื่อในปัจจุบัน
หากผู้ให้กู้สามารถนำกิจการ ทั้งหมดมาเป็นหลักประกัน จะช่วยให้เจ้าหนี้มีความไว้วางใจ
และให้วงเงินสินเชื่อมากขึ้น
"ในกรณีเช่นนี้หากมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น เจ้าหนี้สามารถเข้ามาควบคุมกิจการ
และดำเนินการ เพื่อรักษาธุรกิจทั้งหมด ที่ตนให้สินเชื่อไว้ แทน ที่จะยึดทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันในการกู้ยืมได้เพียงบางรายการ เช่นในระบบปัจจุบัน"
การนำเอากิจการทั้งหมดมารวมเป็นหลักประกัน หรือ ที่เรียกว่า Floating Charge
นั้น เป็นกระบวน การปกติ ที่พบได้โดยทั่วไปภายใต้กฎหมายของประเทศ หลายประเทศ
การที่สามารถทำหลักประกันประเภทนี้ได้ ทำให้เจ้าหนี้มีความคล่องตัวในการเข้าควบคุมกิจการมากขึ้น
และยังช่วยหลีกเลี่ยงการเข้าพึ่งพากระบวน การทางศาลได้อีกด้วย
อุปสรรคอีกประการหนึ่งในระบบการให้สินเชื่อใหม่ คือ ระดับของการไว้วางใจ
ซึ่งกัน และกันระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ธนาคารหลายแห่งให้ความเห็นว่า สาเหตุดังกล่าวเป็นผลมาจากความล่มสลายของการไว้ใจกันทางสังคมระหว่างเจ้าหนี้
และลูกหนี้
"การสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีในการให้สินเชื่อ เป็นสิ่งที่สำคัญในการฟื้นฟูความเชื่อถือของธนาคาร
ที่มีต่อภาคเอกชนขึ้นอีกครั้ง และต้องมั่นใจว่า ในกรณี ที่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ไม่สามารถตกลงกันหรือแก้ปัญหาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้
ก็มีกฎหมาย เพื่อ ที่จะช่วยให้ผู้ให้กู้มีโอกาสได้เงินคืน และสนับสนุนให้ผู้กู้มีความตั้งใจ
ที่จะคืนเงินตามสัญญา หลักการนี้มิได้ส่งผลดีต่อการปล่อยสินเชื่อเท่านั้น
แต่รวมถึงการลงทุนในธุรกิจด้วย" เอ็ดมอนส์กล่าว
บุคคลหรือสถาบันใดก็ตาม ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาหรือสนับสนุนเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเงินให้กู้ยืม
หรือถือหุ้นในธุรกิจต้องมีความ เชื่อมั่นในคณะผู้บริหารของธุรกิจนั้น ๆ เพื่อ
ที่จะมั่นใจได้ว่าผู้บริหารจะใช้เงินทุนหรือเงินกู้อย่างเหมาะสม และไม่มีความเสี่ยงจนเกินไป
(Undue Risk) ถึงแม้จะมีโครงการการลงทุนหรือสินเชื่อที่น่าสนใจ แต่หากขาดธรรมาภิบาลที่ดีย่อมทำให้มูลค่าของโครงการเสื่อมถอยด้อยลง
ในสภาพของสายตาของสถาบันการเงินหรือนักลงทุน
ประเด็นธรรมาภิบาลกำลังเริ่มเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ
โดยเท่า ที่ผ่านมา มีหน่วยงาน ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว
เช่น การก่อตั้งสถาบันผู้บริหาร และการเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลองค์กรตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
การริเริ่มดังกล่าวจะทำให้สถาบันการเงิน และนักลงทุนมีความมั่นใจ และเต็มใจให้เงินทุน
และเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต้นทุน ที่ต่ำลง เนื่องจากเมื่อนักลงทุนหรือเจ้าหนี้มีความมั่นใจในกิจการมากขึ้น
"นอกจากนี้ กระแสดังกล่าวจะยิ่งก่อให้เกิดการจัดการธุรกิจที่ดีขึ้น และข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ จะต้องมีการดำเนินการให้เกิดความโปร่ง ใส ที่มีประสิทธิภาพ และมาตรฐานของการกำกับดูแลองค์กรให้มากขึ้น"
เอ็ดมอนส์กล่าว
เป็นที่เห็นเด่นชัดว่า เพื่อให้การระดมทุนหรือการหาทุนมาลงในภาคเอกชนกลับมาอีกครั้ง
ปัจจัยสำคัญ ที่ควรปฏิบัติ คือ ไม่ให้มีความได้เปรียบ เสียเปรียบกันระหว่างผู้ปล่อยกู้
และลูกหนี้ในกระบวนการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนใหม่ๆ
การปรับโครงสร้างในการกู้ยืมให้เจ้าหนี้ (สถาบันการเงิน) สามารถมีบุริมสิทธิเหนือกิจการทั้งหมดของผู้กู้
(Floating Charge) เพื่อปกป้องสิทธิของเจ้าหนี้ และ เพื่อกระตุ้นให้มีสินเชื่อใหม่เกิดขึ้น
การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้
(สถาบันการเงิน) และนักลง ทุนให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
"จากกระแสข้อมูลที่ได้มาจากตลาดจะเห็นได้ชัดว่า หากหยุดการปฏิรูปปรับปรุงโครงสร้างดัง
ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง ที่จริงแล้วเป็นการดำเนินการปรับปรุงที่ทางรัฐบาลได้เริ่มมาแล้วในช่วงสองปีที่ผ่านมา
แต่ถ้าไม่มีการดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ภาคเอกชนจะไม่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนตาม
ที่ต้องการ และพลาดโอกาส ที่จะฉกฉวยการเติบโตของธุรกิจ ภาคเอกชนในอนาคต"
เอ็ดมอนส์อธิบาย
เอ็ดมอนส์เป็นผู้นำทีมด้าน การให้บริการด้าน Loan Portfolio ในภูมิภาคเอเชีย
เขามีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ในการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินแก่สถาบันต่างๆ
เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของการกู้ยืม ทั้ง ที่เป็นระดับ Portfolio และในระดับส่วนบุคคล
เอ็ดมอนส์มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางจากการสอบทาน Loan Portfolio ของธนาคาร
และสถาบันการเงินไทยมากกว่า 30 แห่ง นอก จากนี้ยังเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านระบบการจัดการ
Portfolio ที่ได้รับปรับปรุง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสำหรับตลาดการเงิน และกฎข้อบังคับต่างๆ
ในไทย ซึ่งการสอบทานดังกล่าวเป็นการจัดหาผลประกอบการที่แท้จริงของ Portfolio
นั้น รวมถึงการประเมินการปรับปรุงโครงสร้าง และการปรับเปลี่ยนโดยรวมของ Portfolioที่ดีขึ้นทั้งหมดให้แก่ผู้ออกสินเชื่อรายต่างๆ
เอ็ดมอนส์ได้เป็นผู้นำทีมฝ่ายให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ธนาคารกรุงไทย ในการระดมทุนครั้งใหญ่
รวมถึงงานชิ้นสำคัญๆ ในการประเมิน Portfolio และสอบทานกระบวนการออกสินเชื่อในการจัดตั้งแผนกการบริหารสินทรัพย์
นอกจากนี้เขายังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรวมกิจการของธนาคารไทยธนาคาร
ซึ่งการรวมกิจการดังกล่าว นับได้ว่าเป็นหนึ่งในการรวมกิจการ ที่มีความซับซ้อนมากที่สุดของโลก
เนื่องจากการรวมกิจการดังกล่าวประกอบไปด้วย บงล.กรุงไทยธนกิจ สถาบันการเงิน
12 แห่ง ที่ถูกสั่งปิด และธนาคารสหธนาคาร