Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤษภาคม 2549
แบงก์ชาติจับตาค่าบาทผันผวนหวั่นต่างชาติทุบหุ้นขนเงินออก             

 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
บัณฑิต นิจถาวร
Economics




"บัณฑิต นิจถาวร" ชี้เริ่มมีเม็ดเงิน ไหลออกมาประมาณ 1 เดือน ต้องจับตาเม็ดเงินลงทุน จากต่างชาติอย่างใกล้ชิด ขณะที่ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติระบุค่าเงินบาทเริ่มนิ่ง และแข็งค่าในระดับใกล้เคียงประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุน พร้อมเตรียมเข้ารายงานสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไปได้ดีต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ เตือนหากรัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณไม่ทันตุลาคม 2549 จะกระทบต่องบลงทุนใหม่

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงว่า ธปท.ยังไม่พบสัญญาณการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ แม้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯจะลดลงก็ตาม โดย ธปท.ได้ติดตามการไหลเข้า-ออกของเงินทุนมาตลอด 5 ปี นับแต่ที่เข้ารับตำแหน่ง ซึ่งพบว่าขณะนี้สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนเริ่มนิ่ง โดยเงินบาทเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพียง 30 สตางค์ จึงไม่ถือว่ามีความผันผวน

ขณะที่ภาคการส่งออก ผู้ประกอบการเริ่มปรับตัว ได้แล้ว ขณะที่ภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังเชื่อว่าจะเติบโต ได้ 4% โดยเศรษฐกิจยังคงเดินหน้าต่อได้ ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ดุลบริการเกินดุล ขณะที่ดุลการค้า ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบ แต่ขณะนี้ดุลการค้าบางเดือนสามารถเกินดุลได้ แต่เชื่อว่าตลอดปีดุลการค้าจะขาดดุลตามที่ ธปท.คาดไว้ อีกทั้งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีขนาดถึง 6 หมื่นเหรียญ สหรัฐ ถือว่ามีความมั่นคงพอสมควร

สำหรับการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนนั้น ขณะนี้ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง จึงไม่จำเป็นต้องออกมาตรการอะไรมากระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจภาคเอกชนเดินหน้าค่อนข้างดี ซึ่งจะเห็นได้จาก ตัวเลขการส่งออก ที่ขยายตัวได้สูง การบริโภคภาคเอกชนก็อยู่ที่ระดับ 4% ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนก็มีการขยายตัวถึง 8% ในภาวะที่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงตาม เพราะราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการโดยตรง รวมไปถึงปัญหาการเมืองระหว่างภูมิภาคด้วย

ส่วนการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจกับกระทรวงการคลังเพื่อร่วมหารือในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (23 พ.ค.) เท่าที่ดูในขณะนี้ตัวเลข เศรษฐกิจต่างๆ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยเฉพาะดุลการค้าจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขดุลการค้าทั้งปีนี้จะขาดดุล แต่ตอนนี้ตัวเลขที่ออกมาบางเดือนก็เกินดุล ขณะที่บางเดือนดุลการค้าก็ขาดดุล ทำให้ไม่ต้องห่วงอะไรมากนัก ซึ่งตัวเลขดุลการค้าจะต้องมีการประเมินใหม่อีกครั้ง ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังไม่รู้ว่าจะเป็นบวกหรือลบ ซึ่ง ธปท.จะต้องติดตามดูให้ละเอียดอีกครั้ง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า การเบิกจ่ายงบประมาณในสถานการณ์ที่ยังไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาดูแลนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนใหม่ๆ เท่านั้น ส่วนของการลงทุนในโครงการเดิมนั้นยังสามารถเบิกจ่ายได้ตามปกติ รวมทั้งงบผูกพันที่สามารถใช้ได้อยู่ แต่หลังเดือนตุลาคมนี้ก็ต้องติดตามดูอีกครั้งว่าจะส่งผลกระทบหรือไม่ ซึ่งจะมีการพิจารณาเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณอีกครั้ง

"ค่าใช้จ่ายปกติและงบผูกพันตามงบประมาณปีที่ผ่านมายังคงใช้ตามงบประมาณเดิมอยู่ เหลือแค่การลงทุนโครงการใหม่ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งเราก็ต้องมีความอดทนเรื่องของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องใช้เวลา การเมืองต้องรอการเลือกตั้ง จะไปเร่งก็ไม่ได้ เพียงแค่เราก็ต้องดูแลประเทศให้ดีที่สุด อย่าตกใจหรือโวยวายเกินกว่าเหตุ" ผู้ว่าการธปท.กล่าว

ธปท.เผยเงินนอกเริ่มไหลออกมา 1 เดือน

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสรียรภาพ การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย ถึงการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนในช่วงนี้ว่า ในปีนี้ตลาดเงินในหลายประเทศค่อนข้างมีความผันผวน โดยในช่วงต้นปีระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาในไทยจำนวนมากทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ในขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นก็ปรับตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม มองว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเม็ดเงินดังกล่าวเริ่มไหลออก เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับขึ้นไปอีก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติปรับมุมมองเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ซึ่งรวมถึงไทยด้วย

"อยากแนะนำให้นักลงทุนจับตาดูการเคลื่อนไหว และความผันผวนของเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการลงทุนตลอดทั้งปีนี้" นายบัณฑิตกล่าว

รับไตรมาส 2 ศก.ชะลอกว่าไตรมาสแรก

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย นายบัณฑิตกล่าวว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 จะเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยปรับตัวจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยจากไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมาเรื่องการอุปโภคในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกก็ยังขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีอยู่ โดยสิ่งที่เศรษฐกิจไทยยังต้องปรับตัวอยู่ คงจะเป็นเรื่องการลงทุนในประเทศ เพราะในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาอยู่ในอัตราที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี ปัจจัยด้านการลงทุนของประเทศน่าจะปรับตัวได้ดีขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อที่น่าจะลดลงอย่างชัดเจน และจากการลดลงของเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง ก็จะช่วยกระตุ้นให้การใช้จ่ายในประเทศปรับตัวและเริ่มฟื้นตัวได้

"ช่วงไตรมาส 2 และ 3 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยปรับตัวจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่ลดลง โดยหลังจากนั้นเชื่อว่าการใช้จ่ายในประเทศก็น่าจะได้ประโยชน์ ส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาส 2 จะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องพิจารณาถึงการขยายตัวของไตรมาส 1 ที่ผ่านมาด้วยว่าจะออกมาเป็น อย่างไรเพราะถ้าหากปรับตัวลดลง ตัวเลขของไตรมาส 2 ก็น่าจะต่ำกว่าอีกเล็กน้อย" นายบัณฑิตกล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของ ธปท.จะให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยจะพยายามคุมเงินเฟ้อไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากหากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้เอกชนขาดแรงจูงใจในการลงทุนเพราะไม่สามารถคำนวณต้นทุนได้ขณะที่ต้นทุนของผู้ประกอบการก็จะสูงขึ้นด้วย ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงตามไปด้วย

"ที่ผ่านมา กนง.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พีอย่าง ต่อเนื่อง แต่ภาคเอกชนก็สามารถปรับตัวรองรับการดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัญหามากนัก" นายบัณฑิตกล่าว

แนะรัฐไม่ควรแทรกแซงนโยบายการเงิน-น้ำมัน

ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ไม่มีรัฐบาลถาวรว่า ที่จริงแล้วเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนได้โดยภาคเอกชนเป็นหลัก โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว เอกชน การลงทุนธุรกิจ ซึ่งในส่วนของรัฐหากเข้ามาดูแลจัดการการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนให้เหมาะสม เชื่อว่าเศรษฐกิจก็คงจะขยายตัวได้ดีขึ้น โดยคาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทย น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4-5%

ทั้งนี้ ในการทำงานของภาครัฐบางหน่วยงานก็ทำหน้าที่ได้อย่างมีอิสระในการประคอง เศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไปได้ ในขณะที่นักการเมืองก็เข้ามาตัดสินใจบางเรื่องที่เป็นนโยบายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในบางเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวนโยบายต่างๆ ก็สามารถเดินหน้าต่อไปและถือว่าเป็นเรื่องดีได้ เช่น นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่สามารถทำหน้าที่ได้ดี โดยไม่ต้องมีรัฐบาลเข้ามากำกับดูแลราคาน้ำมันที่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดหากรัฐเข้ามาแทรงแซงบ่อยก็อาจจะไม่ดี

"ในบางเรื่องการที่ไม่มีรัฐบาลรักษาการเข้ามายุ่ง ก็สามารถเดินต่อไปได้ และอาจจะไม่มีผลเสียเท่าไหร่ แต่ในบางเรื่อง เช่น การแปรรูป กฟผ.อาจจะมีความ จำเป็นที่ต้องมีรัฐบาลถาวรเข้ามาดูแล" นายปิยสวัสดิ์กล่าว

นักค้าเงินคาดบาทอ่อนต่อตามภูมิภาค

ด้านนักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า เงินบาทวันนี้ (22 พ.ค.) มีทิศทางอ่อนค่าลงตามค่าเงินสกุล อื่นๆ ในภูมิภาคยกเว้นค่าเงินหยวน โดยเปิดตลาดที่ระดับ 38.22/25 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าสุดขอวันที่ระดับ 38.19 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 38.50 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนตัวลงมาปิดตลาดที่ 38.39/42 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น เนื่องจากตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมากในช่วงนี้ จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีเงินทุนไหลออก ซึ่งเป็นทั้งภูมิภาคในช่วงนี้ ประกอบกับปัจจัยภายในประเทศเองก็ยังไม่ค่อย จะดีนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอน ตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง และปัญหาความรุนแรงทางภาคใต้ที่กลับมาส่งผลทางจิตวิทยาอีกครั้ง

ประกอบกับปัจจัยภายนอก โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากการที่บรรดาเฮดจ์ฟันด์ทยอยขายสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ น้ำมัน และหันมาถือครองสินทรัพย์ที่เป็นดอลลาร์มากขึ้น ทำให้ทิศทางค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทจะยังอยู่ในทิศทาง ที่อ่อนค่าต่อเนื่อง โดยมีแนวรับที่ 38.50 บาทต่อดอลลาร์ และแนวต้านที่ 38.20 บาทต่อดอลลาร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us