|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอที หนักใจกับการประกาศใช้ค่าไอซี สูญรายได้ไปเกือบหมื่นล้าน เร่งเตรียมข้อมูลเสนอบอร์ด ยังยึดอัตราเก่า ทั้ง 3 แบบ หวั่นใจค่าทรานซิตมากสุด พร้อมรับมือดีแทค ทรูมูฟ เลิกจ่ายแอ็กแซสชาร์จ ส่วนเอไอเอสขอแก้สัญญาลดค่าต๋ง ขณะที่ “ศุภชัย” สั่งฝ่ายกฎหมายเตรียมข้อมูลดูสัญญาหาทางออก วอน กทช.ไม่ควรมีดับเบิลแสตนดาร์ด
แหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูง บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มงานเทคนิค และด้านการเงินได้เตรียมจัดเตรียมข้อมูลและสรุปตัวเลขของบอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือไอซี (อินเตอร์คอนเนกชัน ชาร์จ) ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำเสนอเป็นวาระเข้าสู่คณะกรรมการ (บอร์ด) ให้มีมติสรุปเห็นชอบ ก่อนยื่นนำเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ภายใน 15 วัน
สำหรับอัตราไอซี ที่จะนำเสนอ กทช. ทีโอทีจะนำเสนอตัวเลขทั้งของแบบเก่าที่เคยจัดทำไว้ก่อนหน้านี้ คือ อัตราเก็บแบบต้นทาง (Originate) 3 บาทต่อนาที อัตราเก็บปลายทาง (Terminate) 3 บาทต่อนาที และแบบเชื่อมต่อผ่าน (Transit) 1.07 บาทต่อนาที ขณะเดียวกันจะนำเสนออัตราแบบใหม่ให้บอร์ดพิจารณาควบคู่ พร้อมกับจัดทำข้อสรุปถึงผลกระทบที่ ทีโอที จะได้รับหลังจาก กทช.ประกาศใช้
“เป็นเรื่องน่าห่วงและหนักใจ มากที่สุดของทีโอที ในขณะนี้หาก กทช.นำค่าไอซีมาใช้เมื่อไหร่ และเอกชนยกเลิกค่าเชื่อมวงจร หรือแอ็กแซสชาร์จ 200 บาทต่อเลขหมาย หันมาจ่ายค่าไอซีแทน รายได้ที่มาจากตรงนี้ของทีโอทีจะหายไปทันที ซึ่งในจุดนี้ยังไม่รู้ว่าค่าแอ็กแซส ชาร์จ กทช.จะพิจารณาอย่างไรให้เก็บหรือไม่ให้เก็บ”
เขากล่าวว่า ผลกระทบหรือสถานการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความชัดเจนได้ ทุกอย่างจะต้องรอให้ กทช.สรุปผลออกมาทั้งหมด ถึงแนวทางหรือมาตรฐานในการจัดเก็บไอซี แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงยกเลิกแอ็กแซสชาร์จ ทีโอที จะได้รับผลกระทบทางด้านรายได้อย่างชัดเจนที่สุด และเป็นสถานการณ์รุนแรงอย่างมากต่อการปรับตัวด้านการแข่งขันและแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ค่าทรานซิต เป็นอัตราที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะอัตรานี้ทุกฝ่ายเรียกร้องมากที่สุด และเป็นตัวที่จะใช้แทนค่าแอ็กแซส ชาร์จโดยตรง ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายก็ได้มีการต่อตรงกันไม่มีผ่านทีโอทีแล้ว”
ทั้งนี้ รายได้ต่อปีของทีโอทีกว่า 12,000 ล้านบาท จะหดหายลงทันที และรายได้ที่เกิดจากการใช้ไอซีอาจจะไม่ถึงระดับ 5,000 ล้านบาท เนื่องจาก เอกชนหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องการที่จะไม่จ่ายในจุดนี้ อีกทั้งได้เริ่มมีการขอให้มีเชื่อมต่อตรงด้วยกัน และจะนำค่าไอซี มาใช้ตกลงค่าใช้จ่ายร่วมกันมากกว่าที่จะจ่ายให้ ทีโอที ซึ่งได้มีการคำนวณกันแล้วการเชื่อมต่อผ่านจะให้ผลดีมากกว่าการจ่ายในรูปแบบแอ็กแซส ชาร์จ
การยกเลิกค่าแอ็กแซส ชาร์จ ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค บริษัท ทรูมูฟ ที่ ทีโอที จะได้รับผลกระทบแล้ว ในส่วนของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส อาจจะต้องมีการเรียกร้องเรื่องแก้ไขสัญญาสัมปทานตามมา ส่วนของการจัดส่งรายได้ เนื่องจากเห็นว่าได้มีการจ่ายค่าไอซี เข้ามาทดแทนแล้ว และไม่เป็นธรรมต่อการจัดส่งรายได้ให้กับ ทีโอที
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า อยากรู้มาตรฐานที่ กทช.จะกำหนดออกมาจะมีลักษณะเป็นอย่างไร จะให้ค่าแอ็กแซส ชาร์จจะยังคงอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มี ทีโอที ก็ต้องทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น หากยังคงให้อยู่ก็ไม่มีปัญหา แต่เรื่องนี้เชื่อว่าทุกฝ่ายหรือเอกชน อาจจะไม่ยินยอมในเรื่องนี้อย่างแน่นอนกับการที่จะเสียค่าใช้จ่าย 2 ส่วน
ด้าน นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า หากมีการประกาศใช้ไอซี กทช.ไม่ควรให้มีการจัดเก็บค่าแอ็กแซสชาร์จ เพราะอาจจะทำให้เหมือนมีมาตรฐานที่ทับซ้อนกัน มีความเหลื่อมล้ำไม่ชัดเจน โดยระหว่างนี้ตนได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปศึกษาผลกระทบและรูปแบบการจัดเก็บจากร่างประกาศกิจจานุเบกษา ที่ กทช.ได้ประกาศใช้ ก่อนที่จะเสนอตัวเลขหรือการเจรจาถึงปัญหาเรื่องค่าแอ็กแซสชาร์จ กับ ทีโอที และ กทช.
“ภายในสัปดาห์นี้ก็จะมีข้อสรุปของจุดยืนของทรู ที่จะออกมาในลักษณะใด ในการหาทางออกกับการประกาศใช้ค่าไอซีและการตกลงเรื่องอัตราที่จะนำมาใช้”
|
|
|
|
|