Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤษภาคม 2549
หนี้สาธารณะเหลือ41.44%ของจีดีพี             
 


   
search resources

พรรณี สถาวโรดม
Economics
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ




สบน.เผยหนี้สาธารณะมี.ค.เหลือ 41.44% ของจีดีพีลดจากเดือนก.พ.กว่า 18,219.92 ล้าน บาท ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศกว่า 6 พันล้านบาท ก่อหนี้ใหม่เดือนเดียวรวม 14,829 ล้านบาทตามแผนก่อหนี้ รสก.และบอนด์กองทุนฟื้นฟู

นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สรุปผลการดำเนินการบริหาร จัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนเมษายน 2549 และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ตุลาคม 2548-เมษายน 2549 พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 ดังนี้

การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐในเดือนเมษายน 2549 ด้านต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ วงเงิน รวม 156 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยชำระคืนหนี้เงินกู้จากธนาคารโลกก่อน ครบกำหนด 0.63 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 24 ล้านบาท และออกตราสาร ECP (Euro Commercial Paper) เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลกวงเงิน 155.39 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ เทียบเท่า 6,033 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 24 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 9 ล้านบาท

ด้านในประเทศ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 2,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ด้านต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ เงินกู้ต่างประเทศ โดยชำระคืนก่อนครบกำหนดวงเงินรวม 191 ล้านเหรียญ สหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,699 ล้านบาท และ Roll Over เงินกู้ ECP ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลก 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,908 ล้านบาท ซึ่งภายหลังได้กู้เงินในรูปตราสารอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes : FRNs) วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อชำระคืนเงินกู้ ECP ดังกล่าว และ Refinance เงินกู้จาก ธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลก 155.39 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 6,033 ล้านบาท โดยการใช้เงินกู้ ECP เป็น Bridge Financing ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถ ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 7,699 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 1,062 ล้านบาท

สำหรับรัฐวิสาหกิจได้ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก JBIC ก่อนครบกำหนด 14,506 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 4,995 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 14,754 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,000 ล้านบาท และได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการทำ Swap เงินกู้ต่างประเทศเป็นเงินบาท วงเงินรวม 24,209 ล้านบาท เพื่อปิดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย ในอนาคตได้ 1,290 ล้านบาท

ด้านในประเทศ กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 10,000 ล้านบาท พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อ การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) 50,000 ล้านบาท และ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 21,900 ล้านบาท

ส่วนการกู้เงินของภาครัฐ ในเดือนเมษายน 2549 กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) ซึ่งได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 13,900 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 900 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 13,000 ล้านบาท

สำหรับรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นทุนหมุน เวียนในการดำเนินงาน 929 ล้านบาท

ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบ ประมาณ 2549 ภาครัฐได้กู้เงินรวม 92,737 ล้านบาท เป็นการกู้ของรัฐวิสาหกิจตามแผนก่อหนี้จากต่างประเทศ 4,955 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 87,782 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 54,939 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 32,843 ล้านบาท

ขณะที่การชำระหนี้ของภาครัฐ ในเดือนเมษายน 2549 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 5,665 ล้านบาท เป็นการชำระ คืนเงินต้น 442 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,223 ล้านบาท

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF2) ได้ไถ่ถอนพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ที่ครบกำหนด 20,000 ล้าน บาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 579 ล้านบาท และกองทุนฯ ทดรองจ่ายส่วนที่เหลืออีก 19,421 ล้านบาท

โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยจากงบประมาณรวม 71,517 ล้านบาท และกองทุนฯ ชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอน 40,000 ล้านบาท

สำหรับสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 มีจำนวน 3,223,246 ล้านบาท หรือ 41.44% ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,915,875 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 991,015 ล้านบาท และหนี้สินของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน 316,356 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 18,220 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 12,439 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 13,930 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 16,729 ล้านบาท

หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 554,557 ล้านบาท หรือ 17.20% และหนี้ในประเทศ 2,668,689 ล้านบาท หรือ 82.80% และเป็นหนี้ระยะยาว 2,650,723 ล้านบาท หรือ 82.24% และหนี้ระยะสั้น 572,523 ล้านบาท หรือ 17.76% ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us