Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤษภาคม 2549
"BTS"ยันหนี้สินล้นพ้นตัว-ทุนติดลบกว่า6พันล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ

   
search resources

ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ, บมจ.
Transportation




ผู้บริหาร "บีทีเอส" ยืนยันส่วนทุนติดลบกว่า 6 พันล้านบาท และต้องลงทุนซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มในโครงการส่วนต่อขยาย เผยขณะนี้บริษัทกำลังเข้าสู่ภาวะที่ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยจ่ายได้ เนื่องจากภาระดอกเบี้ยจ่ายเท่ากับรายได้รับวันละ 7 ล้านบาท และก่อให้เกิดภาระหนี้สินล้นพ้นตัว จนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ด้านศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวนพยานเจ้าหนี้เพิ่มเติมอีก 29 พ.ค.นี้

วานนี้ (22 พ.ค.) ศาลล้มละลายกลางได้นัดไต่สวนพยานนัดแรกตามคำร้องฟื้นฟูกิจการบริษัท รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท หลังจากกองทุน เอเวนิว เอเชีย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ซื้อหนี้จาก KFW และ IFC คิดเป็น 125 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10% ของมูลหนี้รวม ได้ยื่นคัดค้านคำร้องโดยระบุว่าบีทีเอสไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เนื่องจากมีการโยกรายการหุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพจากเดิมที่บันทึกในรายการทุนมาอยู่รายการหนี้สิน ทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้น

ในการไต่สวนพยานผู้ยื่นคำร้อง ประกอบด้วย นายสุรพงษ์ เลาหอัญญา กรรมการรองผู้จัดการใหญ่สายปฏิบัติการ บีทีเอส กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทกำลังเข้าสู่ภาวะที่ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยจ่ายได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมวันละ 5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7 ล้านบาท เท่ากับรายได้ของบีทีเอสวันละ 7 ล้านบาท แต่บริษัทยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ เงินเดือนพนักงาน ทำให้บริษัทฯไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ จึงต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

"เรายืนยันว่าบีทีเอสมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเป็นต้องเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็ตาม แต่เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทผิดนัดชำระหนี้ และเจ้าหนี้ยังไม่เคยฟ้องดำเนินคดีกับบริษัท แต่เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้รวมกับคิดค่าชดเชยได้ เมื่อบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็นำไปสู่การฟ้องร้องล้มละลาย ขณะนี้บริษัทหนี้สินรวมประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และทรัพย์สินประมาณ 4.2 หมื่นกว่าล้านบาท ทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบประมาณ 6 พันกว่าล้านบาท"

นอกจากนี้ บริษัทยังมีความจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากสถานีตากสิน-วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 2 กม. ที่กรุงเทพมหานครได้ลงทุนในระบบรางไปแล้ว และในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ทางสภากทม.จะพิจารณาส่วนต่อขยายจากอ่อนนุช-แบร์ริ่ง ระยะทาง 5 กม. คาดว่าบริษัทฯจะต้องใช้เงินลงทุนในซื้อขบวนประมาณ 6-7พันล้านบาทในโครงการส่งต่อขยายหลายโครงการ ซึ่งซีเมนส์ได้แสดงความกังวลว่า บริษัทฯจะไม่มีเงินชำระค่ารถไฟฟ้าหากตัดสินใจขายรถไฟฟ้าให้ จนกว่าบริษัทฯจะปรับโครงสร้างหนี้ได้ ขณะที่บริษัทฯมีเงินฝากธนาคารประมาณ 1 พันล้านบาท ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้บีทีเอสสามารถนำไปใช้ลงทุน โดยไม่ได้นำไปชำระดอกเบี้ยจ่าย

ก่อนหน้านี้ บีทีเอสได้มีการเจรจาประนอมหนี้นอกศาลมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2543 โดยได้มีการขอลดหนี้เงินต้น และดอกเบี้ยค้างชำระบางส่วน โดยช่วงแรกบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยได้ แต่หลังจากที่บีทีเอสมีรายได้เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ยจ่ายลดลง จึงได้มีการชำระดอกเบี้ย แต่ขณะนี้บริษัทฯกำลังเข้าสู่ภาวะไม่สามารถชำระดอกเบี้ยจ่ายแล้วหากไม่เร่งดำเนินการบริษัทฯจะยิ่งประสบปัญหามากขึ้น

ทั้งนี้ ทนายความฝ่ายเจ้าหนี้ได้ซักถามถึงความจำเป็นในการขอฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งประเด็นการนำหุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพ 2.7 พันล้านบาทที่จากเดิมได้ลงบัญชีในงบดุลในรายการส่วนของผู้ถือหุ้น และได้ย้ายมาอยู่ในส่วนของหนี้สิน รวมทั้งการแต่งตั้งกรรมการใหม่เพิ่มเติมหลังจากที่ปลดนายเกษม จาติกวนิช ออกจากประธานกรรมการ โดยมีการจดทะเบียนกรรมการใหม่ต่อกระทรวงพาณิชย์ในวันรุ่งขึ้นหลังจากประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญในวันที่ 16 ก.พ. 2549 พร้อมทั้งลดจำนวนกรรมการที่เข้ามาเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูจากเดิม 10 คนเหลือเพียง 4 คน โดยมีตัวแทนจากนิว เวิลด์ร่วมด้วย แสดงให้เห็นว่าได้มีการวางแผนที่จะนำบีทีเอสเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2548 แล้ว

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงการบันทึกรายการหุ้นกู้แปลงสภาพที่เปลี่ยนจากบันทึกในส่วนผู้ถือหุ้นมาอยู่ในรายการหนี้สินนั้น เนื่องจากบริษัทฯเห็นว่าเจ้าหนี้คงไม่ใช้สิทธิในการแปลงหนี้เป็นทุน เนื่องจากปัจจุบันส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ โอกาสที่เจ้าหนี้ต้องการรับชำระหนี้เป็นเงินสดจึงมีความเป็นไปได้มากกว่า

ส่วนกรณีที่ว่าจ้างบริษัทประเมินทรัพย์สินเองนั้น เพื่อต้องการให้สะท้อนข้อเท็จจริงในปัจจุบัน เพราะเกรงว่าถ้าบริษัทฯไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายว่าตกแต่งตัวเลข โดยว่าจ้างบริษัทอเมริกัน แอ๊บเพอซัล ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่เจ้าหนี้เคยว่าจ้างให้ประเมินทรัพย์สินบีทีเอส ซึ่งผลประเมินทรัพย์สินล่าสุดลดลงไป 6 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามหากไม่มีรายการหนี้ บีทีเอสก็มีส่วนทุนติดลบอยู่อีก เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยตัดค่าเสื่อมรถไฟฟ้าเลยตลอด 6-7 ปี

นายวิสุทธิ์ อุดมปิติทรัพย์ ผู้จัดการส่วนการเงิน บีทีเอส กล่าวว่า ส่วนต่อขยายจากสถานีตากสินไปวงเวียนใหญ่อีก 2 กม.นั้น อาจจะเพิ่มตู้เปล่ารถไฟฟ้า โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มรถไฟฟ้าก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันบีทีเอสมีรถไฟฟ้า 35 ขบวนๆละ 3 ตู้ โดยวิ่งในแต่ละวัน 30-32 ขบวน

ด้านตัวแทนบริษัท เอินส์แอนด์ยัง ในฐานะผู้ตรวจสอบบัญชีบีทีเอส กล่าวว่า ในการตรวจสอบบัญชีของบีทีเอส ทางเอินส์แอนด์ยังไม่ได้แสดงความเห็นในงบการเงินบีทีเอส เนื่องจากสถานการณ์หนี้สินมีความไม่แน่นอน ดังนั้นผู้ใช้งบจำเป็นต้องใช้วิจารณญานเอง

ส่วนการบันทึกหุ้นกู้แปลงสภาพจากเดิมในอยู่ในส่วนทุนมาเป็นหนี้สินนั้นจะ ผิดมาตรฐานการบัญชีหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาจากเนื้อหาเป็นหลัก เพราะบางครั้งรายการที่พิจารณาอาจมีความไม่แน่นอน เช่นหุ้นกู้ ที่มีองค์ประกอบว่าจะเป็นทุนหรือหนี้สินก็ได้ ซึ่งได้รับการอธิบายจากบริษัทบีทีเอสถึงเหตุผลที่บันทึกรายการหุ้นกู้แปลงสภาพอยู่ในรายการหนี้สินว่า โอกาสที่หุ้นกู้ดังกล่าวจะถูกเรียกชำระเป็นเงินสดมากกว่าจะแปลงเป็นหุ้น

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 29 พ.ค. ศาลล้มละลายกลางจะนัดไต่สวนในส่วนของพยานเจ้าหนี้อีก 4 ปาก หลังจากนั้นศาลจะพิจารณาว่าจะบีทีเอสเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือไม่

ปัจจุบันบีทีเอสมีหนี้ที่ต้องเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ 3.9 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สกุลบาท 1.2 หมื่นล้านบาท และหนี้สกุลดอลลาร์สหรัฐ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเจ้าหนี้หลักในการปล่อยกู้ซินดิเคทโลน ล่าสุดธนาคารไทยพาณิชย์ได้แจ้งบริษัทว่าจะมีการขายหนี้ดังกล่าวออกไป ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นบีทีเอส ประกอบด้วยนายคีรี กาญจนพาสน์ 28% กลุ่มนิวเวิลด์ 20% ADM 10% เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us