|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้เติบโตทั้งกลุ่ม โดย DELTA MPT HANA และ TEAM ที่กำไรโตต่อเนื่องและก้าวกระโดดเกินกว่า 100% ขณะที่ KCE ขาดทุนลดลง ส่วน DRACO ฟื้นจากขาดทุนในงวดเดียวกันของปีก่อนเป็นมีกำไร เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนฯ มีเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 48 หลังจากซบเซามาหลายปี แถมได้ส่วนต่างจากค่าเงิน ส่วน KCE ขาดทุนลดลง ขณะที่ EIC เพียงตัวที่พบว่ากำไรตก เนื่องจากยกเลิกการขายสินค้าที่สั่งผลิตในประเทศจีนและส่งมอบประสบปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้า บวกกับขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยผลการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่มนี้กำไรเพิ่ม 40.09% หรือเพิ่มจาก 1,186.84 ล้านบาท เป็น 1,162.67 ล้านบาท
TEAM กำไรเพิ่มสูงสุด DELTA และ MPT ก้าวกระโดด
โดย DELTA หรือบริษัท เดลต้า อีเล็คทรอนิกส์ จำกัด(มหาชน) โชว์ผลงานไตรมาสแรกปีนี้กำไรทะยาน 176% แม้ว่ายอดขายของบริษัทจะลดลง เนื่องจากการลดลงของยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ PSBG1 (ได้แก่ผลิตภัณฑ์สวิตช์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์และอแดปเตอร์) และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจอแสดงภาพ โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงในกลุ่มจอแสดงภาพได้แก่ มอนิเตอร์ทั้งแบบ CRT และ LCD อย่างไรก็ตาม ยอดขายของทีวีแอลซีดีได้เพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 200% จึงสามารถทดแทนยอดขายของมอนิเตอร์ที่ลดลงได้บางส่วน
การที่บริษัทเปลี่ยนนโยบายหันมาผลิตสินค้ามาร์จิ้นสูง เพื่อดันกำไรขั้นต้นของบริษัทให้เติบโตต่อเนื่อง และกำไรขั้นต้นของบริษัทในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนเกือบทุกสายผลิตภัณฑ์ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลงดังนั้นจากกำไรขั้นต้นสูงขึ้นจึงดันให้ผลงานของบริษัทปีนี้เติบโตตาม
สำหรับ MPT ผลงานไตรมาสแรกปีนี้ก้าวกระโดดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยผลงานพุ่งไป 134 % เนื่องจากยอดขายสินค้าในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากปริมาณการขายที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนขายในไตรมาสนี้ก็เพิ่มตาม จากจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและต้นทุนค่าเสื่อมราคา ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการคาดการณ์ในการเจริญเเเติบโตของธุรกิจในอนาคต ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นของค่าใช้จ่ายพนักงานอย่างมาก ค่าเสื่อมราคาและการใช้ประโยชน์ที่ต่ำลงของการเริ่มต้นการผลิตสินค้าใหม่ นอกจากนี้ ยังมีผลมาจากอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลกระทบในทางด้านลบต่ออัตรากำไรขั้นต้นที่เกิดจากการแปลงค่าจากยอดขายที่เป็นดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาไปเป็นสกุลเงินบาท
TEAM หรือบริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน) งบไตรมาสแรกปีนี้พบว่ากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 672.77% โดยเพิ่มจาก 7.86 ล้านบาท เป็น 60.74 ล้านบาท จากปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์ควบคุมสำหรับกลุ่มลูกค้าในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้รายได้จากการขายเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตของรายได้ 96.38 % และยังมีกำไรขั้นต้น 19.10 % ของรายได้จากการขายซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ถึง 13.34% ของรายได้ เนื่องจากความพยายามในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในไตรมาสนี้ แม้มี จำนวนเพิ่มขึ้นจำนวน 17.47 ล้านบาทเนื่องจากการบันทึกค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแต่อย่างไรก็ตามเมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ยังคงน้อยกว่างวดเดียวกัน ของปีก่อน คือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.35 ของรายได้จากการขายลดลงจากปีก่อนที่คิดเป็น 9.88 %ของรายได้จากการขาย
ขณะที่หุ้นในกลุ่มที่เหลืออีก 5 ตัวพบว่ากำไรยังคงเติบโตต่อเนื่องคือ CCET ผลงานไตรมาสแรกปีนี้ยังเติบโตเพิ่มได้เกือบ 13% โดยเป็นผลจากรายได้จากสินค้าที่ยังคงเติบโตแม้ว่าจะไม่ก้าวกระโดดก็ตาม ขณะที่ต้นทุนขายลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อสนับสนุนการเติบโตของยอดขายของบริษัท
ส่วน IEC พบว่าไตรมาสแรกปีนี้ผลการดำเนินงานลดลง จากเดิมที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีกำไรแต่ปีนี้กลับขาดทุน อันเป็นผลจากยอดขายสินค้าลดลง จากที่บริษัทมีการยกเลิกการขายสินค้าที่สั่งผลิตในประเทศจีนและส่งมอบในจีนเพราะประสบปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้า โดยการยกเลิกการขายสินค้าดังกล่าวส่งผลให้รายได้รวมจากการขายสินค้าในไตรมาสนี้ลดลง และค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้บริษัทเกิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะที่ HANA ดูเหมือนจะเป็นบริษัทที่ผลงานเติบโตต่อเนื่อง จากยอดขายของบริษัทที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้บริษัทได้รับส่วนต่างจากค่าเงิน ซึ่งรายได้เพิ่มขึ้นเกิดจากหน่วยงานที่เซี่ยงไฮ้ยอดขายเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ฟื้นตัวในไตรมาส 3ปี 48 และต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน แม้กำไรขั้นต้นจะลดลงอันเป็นผลจากการปรับมูลค่าวัตถุดิและการปรับขึ้นค่าแรง ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้กำไรขั้นต้นลดลง แม้ที่โรงงานเจียซิงได้เริ่มเปิดดำเนินการ แต่ยอดขายของโรงงานแห่งนี้กลับลดลงขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายเท่ากับ 6%
SPPT บริษัท กำไรเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 8.67% โดยกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มจาก 33.08 ล้านบาท เป็น 35.97 ล้านบาท ส่วน SVI หรือ บริษัท เอสวีไอ จำกัด(มหาชน) ไตรมาสแรกปีนี้เติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยกำไรสุทธิโตขึ้นจาก 33.08 ล้านบาท เป็น 50.37 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 52.26% จากงวดเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากต้นทุนค่าวัตถุดิบลดลง และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ลดลง เนื่องจากผลิตในโครงการที่ได้รับส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น ผลประกอบการขาดทุนจากบริษัทย่อยในไตรมาสนี้มีจำนวน 5.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผลประกอบการขาดทุนจากโรงงานที่เทียนจิน ประเทศจีน เนื่องจากเพิ่งเริ่มมีการผลิตในเดือนมีนาคมปีนี้ ขณะที่กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 8% อันเป็นผลจากโรงงานในเทียนจิน ประเทศจีนเพิ่งเริ่มมีการผลิตในเดือนมีนาคมปีนี้
DRACO และ KCE ขาดทุนลด
สำหรับ DRACO เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกเติบโต โดยพลิกจากขาดทุนเป็นมีกำไร เนื่องจากความต้องการใช้แผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าประเภท Single-sided มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องจากอดีต ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทฯ มุ่งเจาะตลาดลูกค้าสำหรับแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าประเภท Double-side Silver Through Hole ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนคำสั่งซื้อที่เกิดจากความต้องการแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าประเภท Single-sided ที่ลดลง โดยใช้ระยะเวลาในการพัฒนาลูกค้าใหม่ๆ ประมาณ 6-8 เดือน และในไตรมาสที่ 1 ปี 49 บริษัทฯ มียอดขายจากลูกค้ารายใหม่ๆ และเป็นคำสั่งซื้อของแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าประเภท Double-sided Silver Through Hole เพิ่มสูงขึ้น โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ต้นทุนขายลดลง
ส่วน KCE ไตรมาสแรกปีนี้ฟื้นตัวแล้ว โดยพบขาดทุนลดลง หรือผลการดำเนินงานดีขึ้นถึง 52 % เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่บริษัทในเครือทุกบริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น แต่จากเดิมที่บริษัทยังประสบปัญหาการขาดทุนอยู่ จึงทำให้บริษัทขาดทุนลดลง บวกกับการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้บริษัทขาดทุนลดลง และเดิมเคยส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งในเรื่องของอัตราความสูญเสียหรือประสิทธิภาพในการใช้กำลังการผลิต ก็ได้รับการแก้ไข และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาเป็นลำดับ จึงมีผลกระทบต่อการดำเนินงานในไตรมาสนี้น้อยลง
EIC ตัวเดียวในกลุ่มนี้ที่ไตรมาสแรกขาดทุน
โดยพบว่า EIC หรือบริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ขาดทุนสุทธิ จำนวน 3.89 ล้านบาท ลดลง 12.91 ล้านบาท จากไตรมาสเดียวกันในปี 2548 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 9.02 ล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลงกว่า 143.12 % เนื่องจากบริษัทได้มีการยกเลิกการขายสินค้าที่สั่งผลิตในประเทศจีนและส่งมอบในจีนเพราะประสบปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้า โดยการยกเลิกการขายสินค้าดังกล่าวส่งผลให้รายได้รวมจากการขายสินค้าในไตรมาสนี้ลดลง46.05 ล้านบาท หรือลดลงกว่าเกือบ 50 % จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทประสบผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และมียอดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ด้วยการแต่งตั้งทีมขายเพิ่มขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|