Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539
เวนดิ้ง แมชชีน VS ค้าปลีกสองธุรกิจสำคัญในอนาคต             
โดย ศิริรัตน์ ภัตตาตั้ง
 


   
www resources

โฮมเพจ-ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล

   
search resources

ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
Commercial and business




ธุรกิจจำหน่ายสินค้าผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ หรือ เวนดิ้งแมชชีน (VENDING MACHINE) ของบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นขึ้นในปี 2535 ด้วยการนำตู้ขายสินค้ายี่ห้อ ฟูจิ อิเลคทริคเข้ามาจำหน่ายซึ่งถือว่าเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่กล้าบุกเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างจริงจัง

โดยมีการนำเข้าตู้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประเภทแรก คือ ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มชนิดผสม ซึ่งเครื่องจะผสมเครื่องดื่มต่าง ๆ ตามที่ผู้ซื้อเลือก เช่น น้ำอัดลม กาแฟร้อน กาแฟเย็น ชาร้อน ประเภทที่สอง คือ ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีบรรจุภัณฑ์เรียบร้อย เช่น น้ำผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลมกระป๋อง นม และเครื่องดื่มชนิดกล่อง ประเภทที่สาม คือ ตู้จำหน่ายขนมขบเคี้ยว

ช่วงที่ผ่านมา ICC ถือว่ารุกเงียบ และเก็บกินส่วนแบ่งตลาดเพียงรายเดียว แต่ด้วยอัตราเติบโตของตลาดปีละ 100% จากแนวโน้มการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็ว จึงดึงดูดให้หลายบริษัทให้ความสนใจในธุรกิจนี้ ในช่วงปี 2538 เป็นต้นมา จึงมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจนี้อีกหลายราย ซึ่งได้แก่ บริษัท รอยัล เวนดิ้ง แมชชีนส์ ผู้แทนจำหน่ายตู้ยี่ห้อ โกลสตาร์ บริษัทไทย-โบนันซ่า และรายเล็ก ๆ อีกหลายแห่ง เช่น บริษัทบางกอกเวนดิ้ง บริษัทยินเพรซิเด้นท์ ส่งผลให้ธุรกิจนี้เริ่มมีสีสันแห่งการแข่งขันขึ้นมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในฐานะของผู้ประกอบการรายเก่า ICC ย่อมไม่ยอมถูกลูบคมง่าย ๆ ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ กรรมการรองผู้จัดการ ICC เผยว่า หัวใจของการแข่งขันอยู่ที่การบริการ ทั้งในด้านติดตั้งเครื่อง และการมีสินค้าที่เพียงพอและไม่ขาดสต็อก ซึ่ง ICC มีแผนจะเพิ่มพนักงานขายจำนวนมากและวางตู้ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะสู้กับการแข่งขันที่เกิดขึ้นได้

รวมทั้งยังได้เปรียบในแง่ที่รู้ลู่ทางธุรกิจเป็นอย่างดี และในระยะยาว ICC จะผลิตตู้เอง ย่อมทำให้ต้นทุนต่ำลง

แต่ปัญหาของการทำธุรกิจก็ยังมี ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคยุ่งยากในการหาเหรียญเพื่อหยอดตู้ซื้อสินค้าแล้ว ก็ยังได้แก่การทำลายเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง เพราะคนไทยบางส่วนยังไม่ยอมรับกับความทันสมัยเหล่านี้ เช่นเดียวกับที่มีการทุบตู้โทรศัพท์บ่อย ๆ นั่นเอง

สำหรับธุรกิจค้าปลีก ICC ยังไม่ได้ลงทุนอย่างจริงจังเท่าใดนัก แต่ก็ให้ความสนใจตลอดมา โดยเข้าไปถือหุ้นในห้างสรรพสินค้าอิเซตัน และเยาฮันในสัดส่วน 3% และ 4% ตามลำดับ และล่าสุดได้เข้าลงทุน 10% ในร้านแฟร์รี่แลนด์เมื่อต้นปีนี้

นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าประเภท "แคชแอนด์แคร์รี่แอนด์คอนวีเนียนสโตร์" ภายใต้ชื่อ "ซีซีซี" ปัจจุบันมี 2 สาขา คือ ที่อ้อมน้อย และพระราม 3 แต่มีแผนจะขยายอีกในปีนี้

การที่ ICC ให้ความสนใจในธุรกิจค้าปลีก แรงผลักดันส่วนหนึ่งอาจมาจากความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ จากการวางจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าในห้างสรรพสินค้าบางแห่ง ซึ่งรุนแรงถึงขนาดที่ ICC ไม่ยอมส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้านั้น

ในปี 2538 เริ่มรุกธุรกิจนี้ ด้วยการประกาศตัวร่วมทำธุรกิจห้างสรรพสินค้าเพื่อผลิตสินค้า "HOUSE BRAND" ให้กับห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ โดยรูปแบบการลงทุนจะเป็นลักษณะที่ ICC ตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาและบริษัทนั้นจะเข้าร่วมลงทุนกับห้างสรรพสินค้า โดยถือหุ้นกันฝ่ายละ 50% โดยจะผลิตสินค้าป้อนให้กับห้างสรรพสินค้านั้น ๆ โดยเฉพาะ

บริษัทแรก และบริษัทเดียวที่ ICC ดำเนินในขณะนั้นก็คือ บริษัท เอ็มไอซี (MIC) จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยเป็นการร่วมกับกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อผลิตเสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องสำอาง ภายใต้ยี่ห้อ "MONE" ให้กับห้างเดอะมอลล์ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านกระจายสินค้าแล้ว ยังทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดกลางถึงล่าง จากเดิมที่จำกัดอยู่เพียงตลาดกลางถึงบน

การร่วมทุนลักษณะนี้ จึงนับเป็นการรุกอีกก้าวสู่ธุรกิจค้าปลีก

แต่เหตุที่ยังไม่รุกในธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มตัวเพราะว่ายังไม่พร้อมทั้งในเรื่องบุคลากรและความเชี่ยวชาญ บุญเกียรติ โชควัฒนา ชี้แจงว่า

"เราคงไม่โดดไปทำอย่างพรวดพราด เพราะยังไม่มีประสบการณ์ และธุรกิจนี้ไม่ใช่ว่าใครเข้ามาทำก็สำเร็จ จะสำเร็จได้ต้องมีกำลังคน กำลังเงิน และนโยบายที่ดี" และรวมไปถึงพันธมิตรที่ดีด้วยนั่นเอง

แม้เขาจะยังไม่ระบุถึงตัวพันธมิตรว่าจะเป็นใคร เพียงกล่าวกว้าง ๆ ว่าพันธมิตรต้องมีคุณธรรม มีมาตรฐาน และมีสัจธรรม ทว่าก็คงมีชื่อของ "กลุ่มเดอะมอลล์" ในลำดับต้น ๆ อย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us