Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 พฤษภาคม 2549
"มาม่า" ยักษ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหนีตลาดอิ่มตัว สลัดทิ้งภาพ 5 บาทขยับตัวเข้าสู่ตลาดพรีเมี่ยม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์

   
search resources

ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์, บมจ.
Instant Food and Noodle
Marketing




แม้ว่าภาพรวมของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2549 ตลาดยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สินค้าบะหมี่สำเร็จรูปในแบบถ้วยและชามจะเป็นสินค้าตัวหลักในการผลักดันให้ตลาดรวมเติบโตขึ้นอย่างโดดเด่น และคาดการณ์ว่ายอดขายของสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย ซึ่งมีสัดส่วน 15% ของตลาดรวมมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท จะมีอัตราการเติบโตถึง 50 % ขณะที่ตลาดชนิดซองใกล้ถึงจุดอิ่มตัว เพราะมีการเติบโตเพียง 7%

ตัวเลขดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญอย่างรุนแรง ที่ผลักดันทำให้หลายๆค่ายต้องที่อยู่ในอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในยุคนี้ มีอันต้องพลิกกลยุทธ์การตลาดใหม่เพื่อเข้ามารับมือกับสถานการณ์ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่กำลังใกล้ถึงจุดเปลี่ยน จากจุดขายเดิมๆที่ขายในเรื่องและราคาถูก และ Convenience ความสะดวก สบาย เป็นอันดับแรก เปลี่ยนมาสู่ยุคของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่แข่งขันกันด้วย การใส่มูลค่าเพิ่มเข้าไปในสินค้า

เห็นได้ว่า ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายๆค่ายก็ได้พยายามมองช่องว่างของตลาดและชูกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆขึ้น และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้สินค้า หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าทั้งในแง่อารมณ์ หรืออีโมชันนัล ผ่านการสื่อสารการตลาด และการให้ประโยชน์ด้านฟังก์ชันนัลของสินค้าให้กับผู้บริโภคเพื่อที่จะกระตุ้นยอดขายและแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น

ทั้งนี้การดิ้นรนก่อนที่ตลาดชนิดซอง 5 บาท จะเริ่มถึงจุดอิ่มตัวนั้น มีความพยายามของผู้เล่นในตลาด จากหลายๆค่ายที่พัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปออกมาในรูปแบบต่างที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและการหาสินค้าบะหมี่รูปแบบใหม่ๆ ที่ขยายฐานไปสู่ตลาดระดับบน หรือตลาดพรีเมี่ยม

นับตั้งแต่การวางตลาดมาม่า โอเรียนทอล คิทเช่น ชนิดซอง ที่มีราคาจำหน่าย 12 บาท ซึ่งเป็นบะหมี่ชนิดต้ม การเพิ่มมูลค่าด้วยการออกสินค้าที่รับกับกระแสสุขภาพเส้นชาเขียว และการเปิดตัวรสชาติใหม่ ที่ใส่นวัตกรรมใหม่ที่เลือกได้ทั้งแบบน้ำและแบบแห้งในซองเดียวกัน

ล่าสุดมาถึงวิวัฒนาการการเปลี่ยนตลาดบะหมี่แบบซอง ที่ถึงจุดเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การทำตลาดชนิดถ้วยและชาม และการวางตลาดซูเปอร์โบวล์ เนื้อสัตว์ในซอง จำหน่ายราคา 25 บาท และพรีเมียร์ โบว์ล ราคาชามละ 28 บาท ของค่ายยำยำ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนภาพใหม่ไปสู่การทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีความเป็นพรีเมี่ยม รวมถึงการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ชูจุดเด่นเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย เข้ามาเป็นตัวสร้างโอกาสทางการขายใหม่ให้กับตลาดที่มีใกล้ถึงจุดอิ่มตัว

ช่วงที่ผ่านมา"มาม่า" ยักษ์ใหญ่ในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีการเตรียมความพร้อมในการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วยและชาม ด้วยการทุ่มงบ 30 ล้านบาท วางตลาดมาม่า คัพ คอลเลกชั่นมิสยูนิเวิร์ส ที่ชูจุดเด่นของบรรจุภัณฑ์พิมพ์ภาพของพรีเซ็นเตอร์ นาตาลี เกลโบวา มิสยูนิเวิร์ส 2005 ลงบนมาม่าคัพใน 12 เวอร์ชั่น ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อจำหน่ายในประเทศ 4 ล้านถ้วย และ 1 ล้านถ้วยส่งออกไป 171 ทั่วโลก ซึ่งเป็นการยกระดับแบรนด์เพื่อการทำตลาดไปทั่วโลก

ปัจจุบัน "มาม่า"ครองความเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 50% ในขณะที่คู่แข่งอันดับสองและสาม มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 24% และ 20% ตามลำดับ ( จากข้อมูลผลการสำรวจตลาดโดยบริษัท เอ.ซี .เนลสัน(ประเทศไทย) จำกัด เดือนตุลาคม 2548 )

พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานสำหรับ บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "มาม่า”บอกว่า "ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในรูปแบบซองในเมืองไทย เริ่มใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เพราะมีอัตราการบริโภค 35 ซอง ต่อคนต่อปี ใกล้เคียงกับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อิ่มตัวแล้วในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตราการบริโภค 40 ซองต่อคนต่อปีประมาณ

ดังนั้นนโยบายการทำตลาดปีนี้ บริษัทจะให้ความสำคัญกับการทำตลาดระดับพรีเมี่ยมมากขึ้นคือ การทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วยและชามราคา 12 บาท โดย ตั้งเป้าบะหมี่ถ้วยของมาม่า จะมีส่วนแบ่งมากกว่า 50% จากก่อนหน้านี้มีส่วนแบ่ง 25% ซึ่งบริษัทสร้างความแตกต่างด้วยการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นถ้วยกระดาษ ส่งผลให้ปัจจุบันมาม่าขึ้นเป็นผู้นำตลาดบะหมี่ถ้วย ครองส่วนแบ่ง 40-50% "   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us