|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
Smart Brain รุกต่อตลาดไทย หลังสร้างชื่อในต่างแดน ตั้งเป้า 1 อำเภอ 1 สาขา ผุด 20 สาขารับปี 49 พร้อมเปิดสูตรร่วมทุนกับโรงเรียนแบ่งรายได้คนละครึ่งเบื้องต้นโรงเรียนดังเครืออัชสัมชัญเข้าร่วมแล้ว เผยตลาดกรุงเทพเน้นร่วมทุนหวังสร้างรายได้มากกว่า ขณะต่างจังหวัดชูรูปแบบแฟรนไชส์สร้างแบรนด์ให้รู้จัก ชี้ตลาดการศึกษาไทยโตได้อีก 100 สาขา
จะมีใครคาดคิดว่าการศึกษาดูงานในฐานะตัวแทนเครื่องฟอกอากาศในประเทศมาเลเซียของ “สวาสดิ์ มิตรอารี” ในปี 2539 จะทำให้เขากลายเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาที่มีสาขามากที่สุดในโลกและเติบโตในตลาดต่างประเทศจนได้รับการยอมรับ แต่กับตลาดในไทย สวาสดิ์ยังเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญและการเติบโตของธุรกิจการศึกษาในไทยยังมีโอกาสอีกมาก
สวาสดิ์ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่า เกิดจากความทึ่งในความสามารถของเด็กมาเลเซียที่เรียนโดยใช้หลักสูตรจินตคณิตทำให้ที่มีผลการเรียนดีขึ้น จากความการส่งลูกเรียน ก็มองในเชิงธุรกิจ โดยร่วมกับเพื่อนที่ทำงานด้านการศึกษา จัดทำหลักสูตรโดยได้แนวคิดและวิธีการสอดจากมาเลเซียสอดแทรกเข้าไป และศึกษาไปพร้อมๆกันจากที่ไต้หวัน
จนเกิดความพร้อมในการขยายธุรกิจในรุปแบบแฟรนไชส์ในปี 2540 จากการฟอร์มทีม สร้างเทรนเนอร์ เริ่มจากที่หาดใหญ่จนประสบความสำเร็จและขยายสู่กรุงเทพฯ และได้รับการต้อนรับอย่างดี
จากกลยุทธ์ครูพักลักจำจากแนวคิดธุรกิจต้นแบบ ทำให้สวาสดิ์ตัดสินใจไม่ซื้อแฟรนไชส์ของมาเลเซีย แต่ขณะเดียวกันเขาได้คิดระบบขายแฟรนไชส์ของตัวเองขึ้น
สำหรับหลักสูตรของสมาร์ทเบรนว่า มีทั้งหมด 10 ระดับ โดยช่วงอายุเด็กที่เริ่มเรียนในหลักสูตรจะเริ่มที่ชั้น ป .1 ไปจนถึง ป.6 ถ้า ป.5มาเริ่มเรียนก็ต้องเริ่มชั้น 1 ก่อน โดยจะแยกกลุ่มแยกชั้นเพื่อง่ายกับการสอนแล้วแต่สภาวะของพื้นที่
สวาสดิ์บอกว่า ธุรกิจการศึกษาจะได้รับความนิยมในเวลาอันรวดเร็วแต่นั่นก็มิได้หมายความว่าจะยั่งยืนมั่นคง โดยในระยะแรกจะมีรายได้เข้ามามากจากค่าแฟรนไชส์ฟี แต่หลังจากนั้นแฟรนไชซีต้องลงทุนกับค่าตำราเรียน และอุปกรณ์อื่นๆ รายได้จึงลดลง นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่แฟรนไชส์เมืองไทยอยู่รอดได้น้อย
เขาจึงกำหนดค่าเล่าเรียนตลอดจนตำราเรียนในอัตราเดียวกันที่ 3,800 บาท ต่อหนึ่งระดับต่อคนเวลา 3 เดือน และเก็บจากแฟรนไชซี 700 บาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก
สำหรับแผนการขยายสาขาในประเทศไทยได้แบ่งออกเป็นพื้นที่กำหนดอำเภอละ 1 สาขา ป้องกันการเปิดเพื่อแข่งขันกันเอง ซึ่งไม่ใช่จุดประสงค์ของสมาร์ทเบรน เพราะฉะนั้นจึงพยายามรักษาฐานที่มีอยู่ให้ดีที่สุด ซึ่งก่อนที่สมาร์ทเบรนจะขยายสาขาไปยังต่างประเทศนั้นมีสาขาในไทยมากกว่า 100 สาขา แต่กระนั้นนักเรียนก็เริ่มลดลงเพราะมีโรงเรียนจินตคณิตเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนผู้ปกครองเองแยกไม่ออกระหว่างของแท้หรือเทียม
"ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามันมีเยอะมากจนไม่รู้ว่าของจริงคืออันไหน แต่ปัจจุบันนักเรียนเริ่มเข้ามาอีกเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ยี่ห้อหลายยี่ห้ออยู่ไม่ได้ก็ปิดกิจการไป ซึ่งของเรายืนไว้ตลอดซึ่งถ้าเทียบกับการไปเรียนต่างประเทศที่ต้องจ่ายแพงกว่าแต่ได้ผลเหมือนกัน เขาก็เลือกเรียนที่เมืองไทยดีกว่า เพราะ 10 คอร์สของเราประมาณ 40,000 บาท แต่อเมริกาหรือคูเวตคอร์สหนึ่งก็ 40,000 บาท แล้ว"
การวางแผนธุรกิจในปี 2549 ของตลาดในประเทศ ยังใช้มาตรฐานราคาราคาเดิม คือ ค่าแฟรนไชส์ฟี 150,000 บาท เก็บค่าเรียนต่อคนต่อระดับ 3,800 บาท ในกรณีที่มีสถานที่แต่เป็นนิติบุคคล ถ้าเป็นการสอนในโรงเรียนสมาร์ทเบรนจะเสนอราคาเอง จะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่เก็บเพิ่มหรือไม่
"เราจะเดินเข้าทุกโรงเรียนโดยที่โรงเรียนไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์ เป็นการร่วมทุนธุรกิจ โรงเรียนมีสถานที่อยู่แล้ว ส่วนเรามีธุรกิจมีอุปกรณ์ โรงเรียนใช้สถานที่อย่างเดียวแต่บางแห่งเราต้องอาศัยครูในโรงเรียนด้วยถ้าเขามี รายได้ก็แบ่งกัน นโยบายนี้จะเริ่มปีนี้และเครืออัสสัมชัญเข้าร่วมแล้ว"
สวาสดิ์ ตั้งเป้าหมายการขยายสาขาในไทยว่ามีแนวโน้มจะเปิดได้อีก 100 สาขา และเริ่มขยายโรงเรียนสาขาเพราะมีครูเพิ่มขึ้น แต่ในปีนี้จะเปิดก่อน 20 สาขา สำหรับต่างจังหวัดจะกระจายไปทุกภาคทั่วประเทศ
ส่วนในกรุงเทพจะเน้นการร่วมทุนทางธุรกิจมากกว่า เพราะรายได้จะมีมากกว่าการขายแฟรนไชส์ ต่างจังหวัดยังจะเป็นแฟรนไชส์อยู่ ซึ่งขณะนี้กำลังหาฐานในแต่ละภูมิภาคอยู่ ภาคเหนือเป้าหมายคือเชียงใหม่ โดยจะมีการกระจายตัวลักษณะเดียวกับต่างประเทศ คือมีมาสเตอร์แฟรนไชส์ในแต่ละพื้นที่ และให้มาสเตอร์หาลูกค้าเองโดยไม่เก็บค่าแฟรนไชฟีเพิ่ม
การพัฒนาหลักสูตร และวิธีการสอนทุก 5 ปี หลังจากเก็บข้อมูลวิจัยจากทุกสาขาทั่วโลก ซึ่งวิธีการสอนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ละประเทศมีการสอนไม่เหมือนกัน แม้แต่ประเทศไทยในแต่ละแห่งวิธีการสอนของครูแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
"สหรัฐอมริกาสอนจินตคณิตผนวกกับศิลปะ สิงคโปร์ก็มีแนวทางสอนในแบบของเขา เราก็ได้ไอเดียเหล่านั้นมาทำวิจัย โดยการเก็บข้อมูลภายในเวลา 5 ปี จากแต่ละที่ทั้งเมืองไทย และต่างประเทศ และมีการแข่งขันหาแชมป์ทุกปีสำหรับเมืองไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา"
ในเมืองไทยมีการตรวจเยี่ยมทุกๆ 3 เดือนและถามการเทคนิคการสอน ซึ่งหลักสูตรใหม่ที่จะปรับต่อไป คือ หนังสือจะเล็กลง การบ้านน้อยลง ปรับลดและเพิ่มในบางระดับ เพื่อเพิ่มศักยภาพในแต่ละระดับให้แน่นขึ้น และกระตุ้นการเรียนรู้โดยจัดการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานทุกปีสำหรับประเทศไทย
เขามองแนวโน้มการลงทุนสำหรับธุรกิจการศึกษาว่ายังมีความน่าสนใจ และแนวทางต่อไปสมาร์ทเบรน จะใช้หลักสูตรที่พัฒนาและเสริมสร้างความจำ มีเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ในระดับมัธยมศึกษาไปจนถึงกลุ่มคนทำงาน ซึ่งหลักสูตรนี้เป็นแฟรนไชส์ของประเทศจีนที่สอนในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งหากจีนตอบรับให้ สมาร์ท เบรน เป็นแฟรนไชซี สวาสดิ์แสดงความมั่นใจว่าเขาสามารถขยายหลักสูตรนี้ไปยังประเทศอื่น ๆ ได้
สวาสดิ์ ได้ให้ข้อคิดสำหรับแฟรนไชซอร์ไทย ที่ต้องการขยายธุรกิจว่า ต้องมีความกล้าและ ยืนบนหลักการ ต้องรู้ว่าสินค้าของเรามีข้อดีที่จะไปสู้กับสินค้าอื่นอย่างไรเพราะการแข่งขันในตลาดสูง แต่เมื่อตัดสินใจลงทุนกับต่างชาติแล้ว การเขียนสัญญาต้องมีหลักประกันที่ให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
เนื่องจากสินค้าของสมาร์ทเบรนเป็น Know how ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ จึงพยายามสร้างมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก แต่ทั้งนี้ต้องวางรากฐานในบ้านตัวเองให้แน่นเสียก่อน
|
|
|
|
|