|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปลัดฯ สปน.ส่งหนังสือถามอัยการสูงสุดชี้ขาด คำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง เพิกถอนอนุญาโตฯ โบ้ยค่าปรับผังรายการวันละ 10% ไม่น่าเกิน 800 ล้าน อ้างขอไปดูใหม่ ทั้งที่ฝ่ายกฎหมายเสนอต้องจ่ายถึงหมื่นล้านบาท ส่วนเงินค้างชำระ 2 ปี ทั้งค่าผลประโยชน์ตอบแทนรวมดอกเบี้ย รวมกว่า 1.7 พันล้านบาท อ้างเองเสร็จสรรพไม่น่าเกิน 2 พันล้าน เชื่อจ่ายได้ ลั่นเรื่องใหญ่หาก อสมท ซื้อหุ้นจริง ด้าน “บิ๊กทีวีเสรี” กัดฟันพร้อมสู้ต่อแม้จะเสียเปรียบ
ที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) เวลา 9.30 น.วานนี้(17 พ.ค.) นายรองพล เจริญพันธ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานการดำเนินการตามสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ มีตัวแทน เช่น จากกระทรวงการคลัง สถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมประชุม
โดยมีการพิจารณาในวาระที่ 4 เรื่อง การดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2547 ทั้งหมด ที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ประกอบด้วย 1.ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ(สปน.) คู่สัญญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 20 ล้านบาทให้กับ บริษัทไอทีวีจำกัดมหาชน จาก สปน. ทำผิดสัญญากรณี ที่ กรมประชาสัมพันธ์ อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มีโฆษณาได้
2.การวินิจฉัยปรับลด ผลประโยชน์ค่าตอบแทนที่ บริษัทไอทีวี จะต้องจ่ายให้กับ สปน. เป็นจำนวนเงินลดลง เหลือ 230 ล้านบาท และ 3. การวินิจฉัย ให้บริษัทไอทีวีสามารถปรับลดช่วงเวลาการนำเสนอรายการข่าวในช่วงเวลาไพรมไทม์เวลา 19.00-21.00 น. จากร้อยละ 70 เหลือเพียงร้อยละ 50 โดยศาลปกครอง เห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตฯดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยเกินคำขอและ ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามตามมาตรา 40 (3) ของพ.ร.บ.ว่าด้วยคณะอนุญาโตฯ พ.ศ. 2545
นายรองพล กล่าวภายหลังหารือประมาณ 1 ชั่วโมง ว่า ฝ่ายเลขานุการ ได้แก่ฝ่ายกฎหมายของ สปน. ได้เสนอการคิดค่าตอบแทนกับค่าปรับในกรณีที่ไอทีวี ปรับผังรายการต่าง ๆ เป็นไปตามอนุญาโตฯ ได้ชี้ขาดไว้ อย่างไรก็ตามตนยังไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้เนื่องจากยังมีปัญหาจากผลคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง มีผลเป็นการเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นหรือไม่ คือจะต้องรอให้ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาชี้ขาดก่อน
ทั้งนี้ทางคณะทำงานของอัยการสูงสุดมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 70 ของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีความทางปกครอง พ.ศ. 2542 โดยเคร่งครัด ซึ่งจะถือว่าคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ยังไม่เป็นการเพิกถอนคำชี้ขาด ต้องรอให้ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดก่อน ทั้งนี้คณะทำงานอีกคณะ เห็นว่า การที่ สปน.ฟ้องไม่ได้เป็นการฟ้องบังคับคำพิพากษา แต่เป็นการฟ้องเพิกถอน แต่การเพิกถอนก็ถือว่ามีผลแล้ว และคู่ความก็จะกลับไปสู่สถานะเดิม คือ จะต้องปฏิบัติตามสัญญาร่วมทุน คือ ไอทีวีจะต้องกลับไปสู่สภาพเดิมทุกอย่าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ายังไม่มีการรวบรวมค่าค้างชำระที่ไอทีวีจะต้องจ่ายให้กับรัฐหลังจากที่ไอทีวีเลิกชำระ นายรองพล กล่าวว่า เมื่อมีความเห็น 2 ฝ่าย ที่ประชุมได้มีมติให้ สปน. หารือกับสำนักอัยการสูงสุด ซึ่งทางอัยการจะตอบกลับมาประมาณอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยตนจะนัดประชุมอีกครั้งต้นเดือนมิถุนายน 2549 นี้ ซึ่งจะต้องรอคำตอบจากสำนักอัยการสูงสุด และ สปน.จะดูว่า หากคำพิพากษามีผลทันที สปน. ก็จะกลับมาดูจำนวนเงินที่ฝ่ายเลขานุการเสนอมาถูกต้องหรือไม่ เพราะบางตัวอย่างเสนอมาจำนวนกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ จึงจะต้องพิจารณาใหม่และแจ้งให้ไอทีวีทราบต่อไป สมมติว่า อัยการตอบกลับมาว่าต้องรอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดกลับมาก่อน ก็จะต้องยืดระยะเวลาการดำเนินการออกไปอีก จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะชี้ขาดกลับมา
นายรองพล กล่าวว่า จะต้องมีการหารือกับอัยการสูงสุดก่อนว่าคำชี้ขาดมีผลเมื่อไร เมื่อศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดแล้วหรือมีผลทันที ถ้ามีผลทันทีจะได้แจ้งจำนวนค่าปรับ และผลประโยชน์ตอบแทนที่ไอทีวีค้างชำระและดอกเบี้ยไปยังไอทีวี เบื้องต้นยังไม่มีการรวบรวมตัวเลขที่ไอทีวีจะต้องจ่ายให้รัฐ เพราะไม่ทราบว่าคิดมาถูกหรือไม่
“ฝ่ายเลขานุการ สรุปมาว่า ปี 2547 ไอทีวีค้างชำระ 570 ล้านบาท ปี 2548 ค้างชำระ 670 ล้านบาท รวม 1,240 ล้านบาท และจะต้องบวกดอกเบี้ยอีก 15% และค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ค้างชำระ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,709,749,314 บาท” นายรองพลกล่าวและว่า ส่วนค่าปรับ 10% ต่อวัน จากการที่ไอทีวีไปปรับผังรายการ ทางฝ่ายเลขานุการยังคำนวณมาไม่ถูกต้อง ซึ่งคิดตัวเลขมากกว่าหมื่นล้านบาท ดังนั้นหากเป็นเช่นนี้คงไม่สามารถจ่ายได้ หากจะเห็นหมื่นล้านๆ คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตัวเลขไม่ตรง เชื่อว่าหากคำนวณค่าปรับ 10% อีกครั้งไอทีวีก็คงจะอยู่ในฐานะที่จะชำระได้ รวมแล้ว ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
“ผมคิดว่าค่าปรับ 10% ต่อวัน ไม่น่าจะเกิน 700-800 ล้านบาท ดังนั้นการที่ฝ่ายเลขาฯ สรุปมาเป็นหมื่นๆล้าน ไม่น่าจะถึงขนาดนั้น ผมจะขอดูอีกครั้งและคิดดูก่อน เป็นไปไม่ได้ว่าค่าปรับจะสูงกว่าค่าค้างชำระ” ปลัดสำนักนายกฯกล่าวและว่า ทั้งนี้ในส่วนของคำชี้ขาดเรื่องผังรายการ หากอัยการสูงสุดตอบว่า คำสั่งศาลปกครองสูงสุดมีผล ก็สามารถเพิกถอนทันที และกลับสู่สภาพเดิม คือ 70/30 แล้งช่วงไพร์มไทม์ ก็จะเป็นอื่นไปไม่ได้
ทั้งนี้นายรองพล ยังปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่า บมจ.อสมท จะเข้ามาซื้อหุ้นของไอทีวี โดยระบุว่า “ผมไม่ได้ยินเลยเรื่องนี้ เพราะหาก อสมท.จะซื้อคงเป็นเรื่องใหญ่ ผมไม่ทราบจริง ๆ”
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอทีวี กล่าวว่า ตนมาประชุมในฐานะคณะกรรมการประสานงานฯเท่านั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของการเจรจาต่อรองใดๆ โดยเฉพาะประเด็น การยื่นอุทธรณ์เพราะเป็นเรื่องของบริษัท แต่ตนมาประชุมในฐานะกรรมการประสานงาน ซึ่งพูดคุยถึงเรื่องการดำเนินการว่าเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ไอทีวี ยึดตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งศาลปกครอง มาตรา70 ที่ระบุว่า ชี้ขาดของศาลปกครองชั้นต้นยังไม่มีผลบังคับในช่วงของการอุทธรณ์และหากมีการอุทธรณ์ต้องรอกระทั่งศาลปกครองสูงสุดมีการตัดสิน ไอทีวีต้องใช้สิทธิตามกฎหมาย
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวด้วยว่า สถานะของไอทีวีวันนี้มีกำไรไม่มากนัก เพิ่งมีกำไรต่อเนื่อง 2 ปี และหากศาลตัดสินให้ต้องกลับไปอยู่สถานะเดิมคือปรับผังรายการให้มีรายการความรู้ข่าวไม่ต่ำกว่า 70% นั้นจริงๆแล้วที่คณะอนุญาโตตุลาการให้ไอทีวี มีรายการความรู้ข่าวไม่ต่ำกว่า 50% นั้นจริงๆแล้วยังใช้ไม่ถึง 50% ปี 2548 ที่ผ่านมารายการของไอทีวีเป็นรายการด้านข่าวร้อยละ 65 และบันเทิงร้อยละ 35 % หากจำเป็นต้องปรับผังรายการสามารถทำได้ รายการบันเทิงสามารถบรรจุในช่วงเวลา 18.00 -19.00 น. หรือหลังเวลา 21.00 น.
“หากต้องปรับผังรายการผลกระทบคงมีบ้างแต่ไม่น่าจะมากนัก ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับผู้จัดรายกายและพันธมิตร ทุกคนอยากช่วยให้ไอทีวี เป็นเหมือนเดิม ยังสามารถจัดรายการให้อยู่ได้ไม่น่าจะมีปัญหา”
ต่อข้อถามว่า กลุ่มเทมาเส็กมีการพูดคุยกันหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง ตอบว่า เทมาเส็กถือหุ้นชินคอร์ปและชินคอร์ปมาถือหุ้นไอทีวี เรื่องที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับเทมาเส็ก โดยตรงเป็นเรื่องการตัดสินใจของคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นของชินคอร์ปซึ่งร่วมทั้งเทมาเส็กและผู้อื่น ตอนนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวแสดงว่าไม่อยากได้ไอทีวี จากเทมาเส็ก สำหรับในส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยคิดว่าเมื่อลงทุนแล้วก็อยากให้กิจการดีและอย่าให้ค่าสัมปทานสมเหตุ สมผล ตรงนี้ตนเห็นใจผู้ถือหุ้นถามว่ากลุ่มชินคอร์ป คงไม่คิดทิ้งหุ้นไอทีวี
นายนิวัฒน์ธำรง ตอบว่าเป็นเรื่องของคณะกรรมการชินคอร์ปต้องคิดกันไปตอบแทนไม่ได้ ที่ผ่านมามีข่าว อสมท. ข้ามาซื้อไอทีวีเป็นเดือน แต่ยังไม่เห็นมีอะไร
“สมมติว่าศาลปกครองตัดสินยืนเหมือนเดิม ได้คิดแนวทางการจัดการภายในบริษัทไว้แล้วน่าจะประคองไปได้ หากถามว่าลำบากหรือไม่ยากเย็นขึ้นแน่นอน การทำธุรกิจต้องแข่งขัน ต้องมีรายการที่ดี ต้องมีรายจ่ายที่พอสมควร ถ้าเทียบค่าสัมปทานของไอทีวี เทียบกับคู่แข่งขันไม่ได้เลย โอกาสการแข่งขันของไอทีวี จะน้อยลงเป็นความเสียเปรียบของไอทีวี ในโลกของการแข่งขันวันนี้”ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอทีวี กล่าว
|
|
|
|
|