Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539
ประวัติความเป็นมา สศก.             
 

 
Charts & Figures

โครงสร้างส่วนงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีทางเศรษฐกิจ (สศก.)


   
search resources

กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีทางเศรษฐกิจ - สศก




สภาพการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทยที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้บุคคลหรือองค์กรธุรกิจบางประเภทพยายามหาโอกาส หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมาย หาประโยชน์ให้กับตนเอง ยิ่งสภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น หรือถดถอยมากเท่าไหร่ การเพียรพยายามหาช่องว่างแห่งโอกาสก็ดูจะมากเพิ่มขึ้นเท่านั้น จากการเอารัดเอาเปรียบเล็ก ๆ น้อย ๆ จากกลุ่มบุคคลจำนวนไม่มากนัก โดยอาศัยความโลภ ซึ่งดูจะเป็นกิเลสตัณหาพื้นฐานของมนุษย์เป็นเครื่องมือ ได้ขยายและพัฒนารูปแบบมาสู่รูปบริษัทจนที่สุดก็มาถึงสถาบันการเงิน คดีฟ้องร้องฉ้อโกงด้วยกรรมวิธีแปลก ๆ ใหม่ ๆ ได้ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นระยะ ๆ และนานวันก็ยิ่งพลิกแพลงกรรมวิธีจนเหยื่อจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

ในระยะแรกทุกคนรู้จักการกระทำความผิดในลักษณะนี้ว่า เป็นคดีฉ้อโกงธรรมดา ซึ่งมีระวางความผิดทั้งแพ่งและอาญา ตามจำนวนเม็ดเงินที่เป็นปัญหา แต่เพราะความซับซ้อนและซ่อนเงื่อนปมไว้มากมาย ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลพอจะเขย่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และเหยื่อที่มีความซับซ้อนหลากหลายมากยิ่งขึ้น รัฐจึงได้หันมามองอย่างสนอกสนใจมากขึ้น

ในปี 2535 การกระทำความผิดในรูปแบบนี้จึงได้มีการบัญญัติศัพท์เรียกอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกว่า "อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ"

ในภาพรวม อาชญากรรมประเภทนี้จะหมายถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรประเภทต่าง ๆ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าและการพาณิชย์ การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

นอกจากนี้ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจยังมีลักษณะพิเศษแตกต่างอย่างขัดจเนจากอาชญากรรมธรรมดาทั่วไป นั่นก็คือ พฤติการณ์ของการกระทำผิดมักจะเห็นไม่ค่อยชัดเจน ทั้งนี้ อาจเป็นด้วยผู้ที่กระทำความผิดมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านที่ตนจะดำเนินการเป็นอย่างดี และนี่เองที่ทำให้ลักษณะการกระทำความผิดมักจะมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน และอาจเกี่ยวพันกับบุคคล หน่วยงานต่าง ๆ หลายพื้นที่

คดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในเวลานี้ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย และดูจะมีแนวโน้มว่า จะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต การกระทำความผิดประเภทนี้นอกเหนือจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว ในคดีใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน ยังทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า การละเมิดหรือการกระทำความผิดในคดีเสรษฐกิจได้ขยายวงจนสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติได้อีกด้วย คดียักยอกและฉ้อโกงธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม การตามไล่ล่าผู้กระทำความผิดรวมถึงการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลรับผิดชอบจะต้องมีความชำนาญพิเศษ และแน่นอนการคลี่คลายแต่ละคดีก็มักจะต้องใช้ระยะพอสมควรกว่าที่จะรู้ชัดว่า ที่มาของเงิน ที่ไปของเงิน ที่พักของเงิน หรือแม้แต่ที่ฟอกเงินเป็นอย่างไร และยังจะต้องสืบสวนหาหลักฐานประกอบ เพื่อให้การกระทำผิดมีความชัดเจนมากพอที่จะทำเป็นสำนวนเพื่อฟ้องร้องเป็นคดีความได้

ไม่ง่ายเลยสำหรับผู้ไล่ล่า ขณะที่ผู้ถูกไล่ล่าก็ยังคงพัฒนาวิธีการเพื่อหนีกฎหมาย

กรมตำรวจ ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวขอ้งกับการสืบสวนสอบสวน ป้องกันปราบปราม และดำเนินคดีอาชญากรรมเศรษฐกิจ จึงได้ดำเนินการศึกษา และที่สุดเมื่อปี พ.ศ.2535 ก็ได้ปรับปรุงภารกิจ และโครงสร้างของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร ซึ่งเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ ให้เป็นกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจ สอบสวนกลาง

เส้นทางอันยาวไกลของ สศก.

ในปี พ.ศ.2525 ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ได้ให้ความสนใจในการศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงกรมตำรวจเป็นอย่างมาก ในส่วนของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร หลายฝ่ายก็ได้เสนอแนวคิดใหม่ในการปรับปรุงเช่นกัน

ในปี พ.ศ.2529 คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร โดยให้โอนงานทะเบียนคนต่างด้าวไปรวมกับงานของกองตรวจคนเข้าเมือง และรวมงานด้านการสืบสวนสอบสวนคดีภาษีอากรกับงานสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ แล้วปรับปรุงเป็นกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และให้กรมตำรวจนำไปพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐบาลต่อไป

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2532 เมื่อครั้งที่ พล.ต.อ.เภา สารสิน ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ทางกรมตำรวจได้เสนอกระทรวงมหาดไทย ขอปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร เป็นกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

เรื่องนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานต่าง ๆ หลายหน่วยงาน เริ่มจากกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ จนกระทั่งในที่สุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2534 เห็นชอบให้ปรับปรุงกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร เป็น "กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ" อยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กรมตำรวจ และต่อมา ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 20 พ.ศ.2535 จัดตั้ง กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ ขึ้น ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 2535 เป็นต้นไป

สำหรับการแบ่งอำนาจหน้าที่ แบ่งออกเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทกฎหมายอื่นอันเป็นความผิดคดีอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทั่วราชอาณาจักร

การแบ่งส่วนราชการนั้น ประกอบไปด้วย 4 กองกำกับการ และกลุ่มงานภายในอีก 1 กลุ่มงาน คือ

1. กองกำกับการอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป

2. กองกำกับการ 1 มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีภาษีอากร

3. กองกำกับการ 2 มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีการเงินและการธนาคาร

4. กองกำกับการ 3 มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีการค้าและการพาณิชย์การคุ้มครองผู้บริโภคและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

5. กลุ่มงานวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานด้านวิชาการเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us