Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤษภาคม 2549
ตลาดเซอร์วิสฯเริ่มหมดยุคสวยหรูชี้1-2ปีซัปพลายทะลักตลาดแข่งดุ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย)

   
search resources

Real Estate
ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย), บจก.




วิจัยไนท์แฟรงค์ฯชี้ซัปพลายโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์1-2ปี ไหลเข้าสู่ตลาดแบบต่อเนื่อง สวนทางกับอัตราการเข้าพักที่ขยับลดลง ทั้งคู่แข่งในธุรกิจและจากโรงแรม ยอมรับจากนี้ไปตลาดไม่สดใสเท่าที่ควร ซ้ำร้ายเศรษฐกิจไม่เดินหน้าเท่าที่ควร จับตาโครงการเซอร์วิสฯอีก 2,243 ยูนิตจะทะลักเข้าสู่ตลาดภายใน 4 ปีข้างหน้าแน่

ฝ่ายวิจัย บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รายงานถึงสถานการณ์ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ในช่วงปี 2549-2550 ว่า เฉพาะด้านอุปทาน(ซัปพลาย)ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งจากการแข่งขันโดยตรงระหว่างโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์เปิดใหม่ด้วยกันเอง และการแข่งขันกับตลาดโรง แรมซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนห้องพักของโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว เปิดดำเนินการในช่วง 2 ปีข้างหน้าอีกกว่า 4,000 ห้อง อาจส่งผลให้อัตราการเข้าพักในเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ลดลง ในส่วนของค่าเช่าอาจจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นได้อีก แต่ด้วยภาวะการแข่งขันที่สูงอาจส่งผลให้ตลาดไม่สามารถปรับเพิ่มค่าเช่าได้มากนัก แม้ว่าต้นทุนการบริหารจัดการจะขยับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันก็ตาม

ทั้งนี้ การขยายตัวของตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ปี49 อาจประสบกับข้อจำกัดที่สำคัญ สืบเนื่องมาจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ขยายตัวได้ในกรอบที่แคบลง กล่าวคือ การเติบโตของอุปสงค์(ดีมาน์ด)อาจจะไม่รวดเร็วเท่ากับการเติบโตของอุปทานใหม่ที่จะมีเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่ออัตราการเข้าพักในเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ก็ยังคงมีอยู่ ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ และการจ้างแรงงานต่างชาติ ที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

โดยอุปสงค์และอุปทานของเซอร์วิสฯในปี 2548 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวในอัตราที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ พื้นที่ย่านสุขุมวิทยังคงเป็นทำเลที่เปิดดำเนินการมากที่สุด หากพิจารณาด้านอุปทานสะสมของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ช่วงระหว่างปี 2548 พบว่ามีจำนวน 10,564 ยูนิต จาก 81 โครงการ พื้นที่ย่านสุขุมวิท เป็นบริเวณที่มีโครงการเปิดดำเนินการมากที่สุด จำนวน 5,052 ยูนิต 37 โครงการ หรือประมาณ 48% ของเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์รวมทั้งตลาด รองลงมาคือพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ มีจำนวน 3,328 ยูนิต จาก 29 โครงการ หรือ ประมาณ 32 % ของตลาด ส่วนที่เหลือประมาณ 20% ตั้งอยู่ในพื้นที่ในย่านอื่นๆ

ในส่วนของโครงการเปิดใหม่ปีที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวน 382 ยูนิต จาก 5 โครงการ ซึ่งขยายตัวลดลงจากปี 47 ที่มีโครงการเปิดใหม่ จำนวน 615 ยูนิต โดยโครงการเปิดใหม่ในปี 2548 ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่สุขุมวิท หรือ คิดเป็นประมาณ 59% ของโครงการที่เปิดใหม่ทั้งหมด ที่เหลือตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ บริเวณถนนหลังสวนและถนนศาลาแดง ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าจะมีโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในปัจจุบัน จะเปิดดำเนินการอย่างน้อย 2,243 ยูนิต ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ถนนสาทร ถนนเจริญกรุง ถนนพระราม 1 สุขุมวิท) และบางส่วนตั้งอยู่ย่านถนนรัชดาภิเษก(ห้วยขวาง)

ฝ่ายวิจัยฯยังระบุว่า อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ปี 2548 อยู่ที่ 82% ลดลงเล็กน้อยจากปี47 ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่ 85% พื้นที่สุขุมวิทยังคงได้รับความนิยมเข้าพักสูงที่สุด คือ มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 91% ในขณะที่พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยรองลงมาที่ 85% ในส่วนของเกรดเอ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 90% ในขณะที่เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์เกรด บี เฉลี่ยการเข้าพักที่ 88% โดยอัตราของค่าเช่าของเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ทั้งเกรดเอและบี เพิ่มขึ้นประมาณ 13% และ 1% ตามลำดับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us