|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศึกชิงลูกค้าปะทุ การบินไทยประกาศสู้ หลังธุรกิจแข่งขันรุนแรง ทุกสายการบินชูราคาดึงลูกค้าใช้บริการ ส่งผลการบินไทยหันปรับกลยุทธ์การตลาด สร้างมูลค่าเพิ่ม ออกบัตร ไทย แวลู พลัส คาร์ด ขายบริการระดับพรีเมี่ยม หวังสร้างแบรนด์รอยัลตี้ เหตุถูกโลว์คอสต์ถล่มแย่งลูกค้าไปเกือบ 10% ระบุเหตุตั้งแอร์เอื้องหลวง ไว้สู้ศึก เพราะนกแอร์เป็นแค่หุ้นส่วน ไม่มีอำนาจสั่งการได้
นายวัลลภ พุกกะณะสุต ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการแข่งขันในธุรกิจสายการบิน ประกอบกับที่รัฐบาลผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจและท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นเดสสิเนชั่นที่ทุกสายการบิน ให้ความสำคัญและเข้ามาเปิดเส้นทางบินมากขึ้น ทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ และ สายการบินปกติ จึงทำให้การบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ ต้องปรับกลยุทธ์หันทำตลาดเชิงรุก และเน้นความต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยจัดจำบัตรโดยสารเหมาจ่าย ไทย แวลู คาร์ด(Thai Value Card) สำหรับบินภายในประเทศ ซึ่งได้ผลตอบรับดี ล่าสุดจึงเดินหน้าเปิดตัว บัตร ไทย แวลู พลัส (Thai Value Plus Card) บัตรเหมาจ่ายราคาเดียว สำหรับเดินทางไปต่างประเทศ
โดยประเดิมเส้นทาง 5 ประเทศ ใน 7 เมือง ย่านเซาท์อีสเอเชีย ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และ สิงคโปร์ เริ่มจำหน่ายในงาน Thai Value Plus Fair สยามดิสคัฟเวอรี่ ระหว่างวันที่ 18-24พ.ค.49 จากนั้นจะวางจำหน่าย ที่สำนักงานขายการบินไทย และ ตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารทั่วประเทศ ระยะเวลาขายถึง 30 ก.ย. 49 สามารถใช้ได้ถึง 31 ธ.ค.49 ตั้งเป้าได้ยอดขาย 400 ล้านบาท เบื้องต้นบริษัท ผลิตบัตรเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.5 หมื่นใบ
ทั้งนี้การเลือก 5 ประเทศดังกล่าวก่อน เพราะต้องการกระตุ้นตลาดเซาท์อีสเอเชียในช่วงโลวซีซั่น โดยคาดว่า บัตรดังกล่าวจะเข้ามาช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการสายการบินไทย และสามารถเพิ่มอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยวได้อย่างน้อย 1% ก็ถือว่าคุ้มแล้ว จากปัจจุบันอัตราผู้โดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวที่กว่า 70%
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า จากการแข่งขันที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ราคาเป็นจุดขาย ดึงผู้โดยสารให้ไปใช้บริการ ทั้งสายการบินโลว์คอส และ สายการบิน ปกติ ตรงนี้ยอมรับว่า ในเส้นทาง เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ มีผู้โดยสารของการบินไทยเกือบ 10% หันไปใช้สายการบินอื่น ที่มีราคาถูกกว่า ดังนั้น นโยบายเชิงรุกนี้ จึงทำโปรแกรมนี้เพื่อต้องการสร้างแบรนด์รอยัลตี้พร้อมกับสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่ง บัตร แวลู คาร์ด นอกจาก เป็นบัตรเหมาจ่าย ที่เฉลี่ยแล้วราคาถูกกว่าซื้อแบบใบเดียว ยังเพิ่มมูลค่า ด้วยสิทธิพิเศษ อาทิ ใช้เป็นส่วนลด 50% สำหรับ ลูกค้าที่ซื้อแพกเกจ รอยัลออคิดฮอลิเดย์ แพกเกจกอล์ฟ พร้อมลุ้นรับของรางวัลอื่นๆ
“มั่นใจว่าแคมเปญนี้จะดึงลูกค้าเก่าให้กลับมาใช้บริการเหมือนเดิม และขยายฐานลูกค้าใหม่ได้อีก เพราะเราชูจุดขายที่บริการระดับพรีเมี่ยม ได้ไมล์สะสม และ ราคาก็ไม่สูงกว่าสายการบินโลว์คอสต์มากนัก เพราะผลสำรวจพบว่าผู้โดยสารส่วนหนึ่งเบื่อในบริการของสายการบินโลว์คอสต์ ซึ่งผู้ถือบัตร แวลู คาร์ด จะมีที่นั่งแน่นอน แม้จองล่วงหน้าเพียง 4 ชั่วโมงก่อนเดินทาง”
อย่างไรก็ตาม แคมเปญนี้ บริษัท ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท สำหรับประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ นักธุรกิจ และนักเรียน โดยคาดว่าสัดส่วนลูกค้าคนไทยจะมากกว่า ชาวต่างชาติ ส่วนแผนงานในอนาคต มีแผน ผลิตบัตรพรีเพด เจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพิ่มขึ้นอีก เช่น แวลู โวเคชั่น และ แวลูไลฟสไตล์ เป็นต้น
นายวัลลภ ได้กล่าวถึงสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเชื่อว่าทุกสายการบินต้องการให้ประเทศไทย มีสนามบินนานาชาติ ประจำกรุงเทพเพียงแห่งเดียว เพื่อความเป็นศูนย์กลางทางการบินที่แท้จริง แต่ทั้งนี้ทุกฝ่ายต่างก็รอดูการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งหากรัฐยังคงให้สนามบินดอนเมืองเปิดใช้ ก็จะไม่มีความเป็นหนึ่งเดียว แม้จะเปิดเฉพาะแค่ให้บริการสายการบินโลว์คอสต์ เส้นทางในประเทศก็ตาม และยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่วนแผนงานที่การบินไทยจะเปิด สายการบินเอื้องหลวง ก็เพื่อสะดวกเรื่องการบริหารจัดการ เพราะ การบินไทยจะถือหุ้น 100% และยังเข้ามาช่วยเสริมงานของการบินไทยในด้านบริการลูกค้าให้ครอบคลุม ไม่ทับซ้อนกัน เพราะ สายการบินนกแอร์ การบินไทย ถือหุ้นอยู่น้อยเพียง 1% ไม่มีอำนาจเข้าไปเสนอแนะข้อคิดเห็น อีกทั้ง นกแอร์ก็ยังไม่ชัดเจนในเรื่องของทิศทางธุรกิจ แต่เป็นการจัดตั้งเพราะกระแสโลว์คอสต์มาแรงเท่านั้น
|
|
|
|
|