Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539
ประกันชีวิตไทย รายใหม่ยังไม่คลอด…รายเก่าต้องรีบโต             
โดย สนิทวงศ์ เจริญรัตตะวงศ์
 


   
search resources

ประกันชีวิตศรีอยุธยา ซีเอ็มจี
อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์, บจก.
จินไต
Insurance




การเคลื่อนไหวก่อนประกาศบริษัทประกันใหม่กำลังเข้มข้น กลุ่มประกันต่างชาติเริ่มแสดงตัว ล่าสุด 'จอห์นแฮนดอค' เผยตัวจริงหลังจากอยู่เบื้องหลังอินเตอร์ไลฟ์มากว่า 5 ปี เอไอเอยักษ์ใหญ่ที่ยังคงเคลื่อนไหวอย่างเงียบ ๆ ปล่อยเลือดเนื้อเชื้อไขไปโตที่อื่น พร้อมกับส่วนแบ่งตลาด และตัวแทน กฤษณะแน่จริงทำ 'ศรีอยุธยา จาร์ดีน' โตวันโตคืนได้อย่างที่พูด เพราะชื่อ 'กฤษณะ' ขายได้ บริษัทน้อยใหญ่โหมโฆษณาหวังสร้างฐานจุดยืนที่มั่นคงก่อนภัยเสรีมาถึงประตูบ้าน ตามมติคณะรัฐมนตรี 'ยุคชวน' ได้แบ่งขั้นตอนการเปิดเสรีประกันภัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เปิดโอกาสให้คนไทยจัดตั้งบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ขั้นตอนที่ 2 ขยายสัดส่วนต่างชาติถือหุ้นจาก 25% เป็น 49% และขั้นตอนที่ 3 การเปิดเสรีประกันภัยให้ต่างชาติเข้ามาจัดตั้งสาขาในประเทศ

จากนโยบายเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยดังกล่าว ทำให้กลุ่มธุรกิจชั้นนำต่างเดินหน้ายื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นจำนวนมากถึง 87 รายแยกเป็นธุรกิจประกันชีวิต 44 ราย และธุรกิจประกันวินาศภัย 43 ราย

และภายหลังการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบด้านแผนงาน และสอบสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทที่ยื่นขอใบอนุญาตนั้น ปรากฎว่า มีบริษัทที่ยื่นขอใบอนุญาตผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้น 66 ราย แยกเป็นบริษัทประกันชีวิต 35 ราย และบริษัทประกันวินาศภัย 31 ราย แต่มีตัวเต็งที่น่าจะได้ และสมควรได้อยู่ประมาณ 5 รายเท่านั้น

ตามขั้นตอนนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชูชีพ หาญสวัสดิ์ จะต้องนำรายชื่อเหล่านี้เสนอต่อกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ทั้ง 3 หน่วยงานจะพิจารณาร่วมกัน ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นที่หวั่นเกรงกันมากว่าสภาพัฒน์จะขวางลำด้วยเหตุผลหลายประการ

แต่ถึงขณะนี้ กระบวนการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินมาตลอดก็กลับเงียบหายไปรวมเวลาแล้วกว่า 7 เดือนที่บริษัทประกันใหม่ยังคงค้างเติ่งเป็นปริศนาไม่ออกมาให้เห็นกันสักที ล่าสุดเรื่องยังอยู่ที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อรอเสนอให้ ครม.พิจารณา

ส่วนหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ข่าวของแบงก์ใหม่ที่เข้ามากลบจนทำให้ประกันภัยใหม่หายเข้ากลีบเมฆ

อีกส่วนหนึ่งเป็นกลยุทธ์ 'ยื้อ' ให้ได้นานที่สุดของบริษัทประกันรายเก่า ๆ ทั้ง 13 รายหรืออาจเป็นการ 'ดิ้น' หาทางรอดก่อนที่ภัยจะมาถึงตัว

ว่าที่บริษัทประกันใหม่จึงต้องรับภาระไปอย่างจำยอม ทั้งในเรื่องดอกเบี้ยจากเงินค้ำประกัน 5% ของทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาทสำหรับประกันวินาศภัย และ 500 ล้านบาทสำหรับประกันชีวิต ภาระในการเตรียมคนซึ่งบางบริษัทมีการดึงมือบริหารมาบ้างแล้ว ภาระในเรื่องสถานที่ที่ต้องเตรียมแล้วไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้เป็นการสูญเสียต้นทุนทางการเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ และที่สำคัญ คือ การสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ

ส่วนบริษัทประกันชีวิตรายเก่านั้น ต่างก็ช่วงชิงโอกาส และเวลาที่เหลืออยู่นี้อย่างรู้ค่า การปรับตัวที่เห็นได้เด่นชัดมีอยู่ 3 ประการ คือ การร่วมมือกับบริษัทประกันชีวิตต่างชาติ การพัฒนาเพิ่มจำนวนตัวแทนขายประกันจนไปถึงการดึงตัวแทนประกัน รวมทั้งการพึ่งโฆษณาประชาสัมพันธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นจนหนาตาในขณะนี้โดยเฉพาะบนหน้าจอโทรทัศน์

4 ลูกครึ่งประกันชีวิต

ความร่วมมือกับบริษัทต่างชาตินั้น ส่วนใหญ่เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมถือหุ้นในบริษัทในสัดส่วนที่ต่างกันออกไปสูงสุด คือ 25% ตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนด

แม้ว่าจะถือหุ้นเพียง 25% แต่สิ่งที่บริษัทต่างชาติเหล่านี้นำมาด้วย เรียกได้ว่าบริษัทประกันชีวิตไทยรับไปเต็ม ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์แบบใหม่ ๆ การส่งเสริมการขาย การพัฒนาความรู้ของตัวแทนประสบการณ์ความชำนาญที่เป็นระดับโลก รวมไปถึงเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เป็นอันมาก

ในด้านเทคโนโลยีนี้ สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัย ยังยอมรับเพราะแม้จะไม่ยอมให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้น แต่ก็ซื้อเทคโนโลยีเขามาใช้

หลายบริษัทประกันชีวิตไทยที่ร่วมมือกับบริษัทต่างชาติอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะหลังจากการร่วมลงทุนกันแล้ว ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทเดิม โดยพ่วงชื่อบริษัทที่มาร่วมทุนเข้าไปด้วย เพื่อความน่าเชื่อถือได้ บมจ.ประกันชีวิตศรีอยุธยาจาร์ดีน ซีเอ็มจี เป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยาเดิม กับบริษัทจาร์ดีน ซีเอ็มจี ไลฟ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างจาร์ดีน แปซิฟิก และโคโลเนียลมิวชวลกรุ๊ป จากออสเตรเลีย

ไล่ ๆ กันนั้นก็มีบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันชีวิต ซึ่งร่วมทุนกับต่างชาติและเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต และ บริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ที่ตัดสินใจให้บริษัทอาซาฮี มิวชวลไลฟ์ จากญี่ปุ่น เข้ามาถือหุ้น

ล่าสุด บริษัทอินเตอร์ไลฟ์ ประกันชีวิต ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต หลังจากที่ดูใจกันมากว่า 5 ปี โดยบริษัทจอห์น แฮนคอค จากสหรัฐเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 25% เมื่อปี 2533

เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มทุนต่างชาติด้านประกันชีวิตเริ่มมีความเคลื่อนไหวในภูมิภาคแถบนี้มากขึ้น และไม่เฉพาะที่มาจากโซนอเมริกา และยุโรปเท่านั้น ในโซนเอเชียเองก็เริ่มมีบทบาทบ้างแล้ว

อย่างบริษัท นิปปอน ไลฟ์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ก็กำลังเตรียมตัวที่เจาะตลาดประกันชีวิตในเอเชียรวมไปถึงประเทศจีนด้วย เนื่องจากธุรกิจประกันชีวิตในประเทศญี่ปุ่นเริ่มถึงจุดอิ่มตัว ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียทั้งหมดประชากรยังทำประกันชีวิตกันน้อยมากอยู่ในระดับ 5-10% เท่านั้น

ศึกชิงตัวแทนยิ่งเข้มข้น

ส่วนการพัฒนา และเพิ่มจำนวนตัวแทนขายประกันนั้น ที่คึกคักที่สุดดูเหมือนจะเป็น ประกันชีวิตศรีอยุธยา ที่ได้มือดีของค่ายเอ.ไอ.เอ. อย่าง กฤษณะ กฤตมโนรถ เพราะตั้งเป้าสิ้นปี '39 มีตัวแทนขายประกัน 12,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากเดิมที่มีอยู่เมื่อสิ้นปี '38 จำนวน 6,000 คน หรือคิดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเดือนละ 500 คน

นับเป็นความชาญฉลาดของ มร.ปีเตอร์ แฟงกี้ โดยแท้ที่สามารถดึงคนอย่างกฤษณะผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการประกันชีวิตมากว่า 20 ปีมาร่วมทีมได้ เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า หลังจากกฤษณะเข้ามาส่วนแบ่งการตลาดของ 'ประกันชีวิตศรีอยุธยา' ก็ดีวันดีคืน

จากใน 6 เดือนแรกส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 5 ของอุตสาหกรรม หรือประมาณ 3.46% เลื่อนมาอยู่ในอันดับ 3 ด้วยอัตราเพิ่มของเบี้ยประกันปีแรกสูงถึง 89% ซึ่งเป็นอัตราสุงสุดของอุตสาหกรรม

แม้ว่าฐานตัวเลขเดิมจะอยู่ที่ระดับร้อยกว่าล้านบาท แต่การเพิ่มแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ง่ายนัก

ในขณะที่ เอ.ไอ.เอ ถิ่นเดิมของนักขายมือทองก็ไม่ยอมน้อยหน้าแม้จะมีบ่นออกมาบ้างว่าถูกแย่งตัวแทน และที่เป็นเรื่องเป็นราว คือ ถูกตัดหน้าในการจัดงานสัมมนาที่พัทยาเมื่อวันที่ 22-23 มิถุนายนที่ผ่านมา จนต้องล้มเลิกงานเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมน้อยเกินไป

ครึ่งปีหลัง เอ.ไอ.เอ ยังคงเดินหน้าต่อไปตั้งเป้าผลิตตัวแทนขายให้ได้มากกว่า 5,000 คน หรือเฉลี่ยแล้วตกประมาณ 800 คนต่อเดือน

ผลพวงจากการเพิ่มตัวแทนขายทำให้กฤษณะ ตกเป็นเป้าโจมตีของบริษัทต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยกลยุทธ์ของกฤษณะเวลาที่ไปพูดตามที่ต่าง ๆ นั้นค่อนข้างจะหมิ่นเหม่ต่อการถูกครหา

เนื่องจากจดหมายเชิญเข้าร่วมฟังบรรยายที่ส่งไปยังตัวแทนขายนั้น ไม่เพียงจัดส่งไปให้ตัวแทนของประกันชีวิตศรีอยุธยาเท่านั้น กลุ่มเป้าหมายยังรวมไปถึงบรรดาตัวแทนประกันของบริษัทอื่นด้วย

ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่พูดยากเพราะถ้ามองในแง่ของกฤษณะแล้ว ผู้ที่ยังไม่ใช่ตัวแทนของบริษัทก็ถือว่าเป็นบุคคทั่วไปทั้งหมดที่สามารถเชิญเข้ามาฟังการโน้มน้าวจิตใจของเขาได้ทั้งนั้น

บริษัทประกันชีวิตต่าง ๆ จึงมีการเรียกร้องในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก จนถึงขั้นมีคำกล่าวออกมาอย่างไม่พอใจของ ชัยยศ ติยะชาติ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตว่า "หากเก่งจริงก็น่าจะสร้างเอาเอง"

นอกจากนี้ ยังมีการทักท้วงของคนในวงการประกันชีวิตด้วยกันเองในเรื่องผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน เนื่องจากกรณีการทุ่มเงินเพื่อดึงบุคลากรนั้น หากทุกบริษัทใช้วิธีนี้มากเข้าจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นตามไปด้วย ในที่สุดก็ต้องมีการขึ้นค่าประกันภัยซึ่งหากกรรมการประกันภัยยอมตามผลเสียย่อมตกกับผู้เอาประกัน แต่ถ้าไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกันบริษัทต่าง ๆ ก็ต้องมีฐานะการดำเนินงานอ่อนแอลง

บริษัทที่ได้ผลกระทบในเรื่องนี้มากที่สุดเห็นจะเป็น บริษัทไทยประกันชีวิต เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และมีสาขาอยู่ค่อนข้างมาก

ซึ่งในเรื่องนี้ สุขเทพ ซึ่งนั่งเป็นนายกสมาคมประกันชีวิตไทยด้วยก็ได้ออกมาเรียกร้องหลายครั้งแล้วแต่ค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่เลื่อนลอย เนื่องจากไม่ได้รับการตอบสนองจากเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกับเขาเท่าใดนัก

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ประกันชีวิตศรีอยุธยาถูกกล่าวว่า ได้มีการเสนอผลประโยชน์ด้านอื่น ๆ ให้กับตัวแทนขายด้วย เช่น การเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในกรณีที่ตัวแทนมีหนี้สินกับบริษัทเดิม แล้วนำมาจ่ายคืนในลักษณะผ่อนชำระ หรือการเสนอผลตอบแทนในรูปของเงินพิเศษในระดับ 5-6 แสนบาท

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ต่อข่าวที่ออกมา รวมทั้งกรมการประกันภัยเองที่มีหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องนี้ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวให้เห็นมากนัก แม้ว่าจะมีกฏหมายที่ห้ามไม่ให้จ่ายผลประโยชน์พิเศษนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม

ระดมยิงโฆษณากันทั้งปี

ในส่วนการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้น ปีนี้จะเห็นว่าบริษัทประกันภัยต่างลงสมรภูมิรบบนหน้าจอโทรทัศน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เมืองไทยประกันชีวิต ที่มีโฆษณาต่อนเองมาเป็นปีที่ 6 เริ่มจากเรื่องสมศรี มาเป็นเรื่องสมควร จิ้งจก และนกแสก จนถึงท่านยม ล่าสุดจึงเป็นชุดรวมฮิตทั้งหมดเป็นฝีมือของบริษัทลินตาส (ประเทศไทย) เฉพาะชุดรวมใช้งบในการถ่ายทำ 5.5 ล้านบาท ส่วนงบโฆษณาและส่งเสริมการขายตลอดปีนี้บริษัทตั้งไว้ที่ 25 ล้านบาท

งานโฆษณาชุดนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ของผู้ชมต่อบริษัทประกันชีวิตในยุคที่มีความทันสมัยไม่เรียบง่ายเหมือนในอดีต มีความใกล้ชิดกับคนทั่วไปมากขึ้น

อาคเนย์ประกันภัย ก็มีโฆษณา 2 ใน 3 ชุดที่จุดประกายได้ไม่แพ้กัน เรื่องหนึ่ง คือ 'ของโปรดของพ่อ' เป็นเรื่องที่แม่ และลูกร้องไห้หน้าศพพ่อก่อนที่จะนำเหล้าใส่โลงให้พ่อที่เสียชีวิต เพราะเมาสุรา อีกเรื่องชื่อ 'การเริ่มต้นชีวิตใหม่' ที่มีประโยคติดปากคนดู "จำได้ไหมคะ ชื่ออะไร ชื่อคมสันหรือเปล่า" ซึ่งตัวละครประสบอุบัติเหตุจนสมองพิการ เพราะการขับรถด้วยความประมาท รับผิดชอบการผลิตโดยเดนท์สยังก์ แอนด์ รูบิแคม (ดีวายด์แอนด์อาร์)

โฆษณาครั้งนี้ แม้ไม่ได้มีเนื้อหาที่พูดถึงตัวบริษัทหรือกรมธรรม์ แต่ก็ได้สร้างชื่อให้ อาคเนย์ประกันภัย เป็นที่รู้จักและคุ้นหูมากขึ้น ซึ่งการรุกทางด้านสื่อโฆษณานี้เป็นผลพวงมาจากการปรับโครงสร้างการบริหารของบริษัทมาตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งได้มีการปรับวิธีการทำงานและระบบการตลาด รวมทั้งการขยายสาขาออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น

สำหรับงบเฉพาะในการซื้อสื่อของอาคเนย์ปีนี้ บริษัทตั้งไว้ที่ 40 ล้านบาท แต่คาดว่าน่าจะเกินกว่าที่ตั้งไว้ เพราะช่วงที่ออกในสื่อโทรทัศน์นั้น ผู้บริหารอย่าง จุลพยัพ ศรีกาญจนา รองประธานบริหารมุ่งเน้นแต่เฉพาะช่วงไพร์มไทม์เท่านั้น และเน้นความถี่ในการออกอากาศค่อนข้างมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า "เข้าถึงลูกค้าได้สูงสุด ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกกลุ่มรายได้" เนื่องจากในธุรกิจประกันนั้นไม่สามารถแยกระดับลูกค้าได้

ไทยประกันชีวติมีโฆษณาออกมาบ้างเป็นระยะตามโอกาสสำคัญ ๆ เช่น การชักชวนให้บริจาคโลหิตถวายในหลวงในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

ส่วน เอ.ไอ.เอ.ปีนี้ลงโฆษณาถึง 2 ชุด โดยตั้งงบไว้ 40 ล้านบาท แต่ใช้จริงประมาณ 31 ล้านบาท แบ่งเป็นซื้อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว 22-24 ล้านบาทที่เหลือใช้เป็นงบในการผลิต

โดยชุดแรกที่แพร่ภาพไปแล้ว คือ ชุด 'รถไฟ' จัดฉายตั้งแต่เมษายนจนถึงธันวาคมนับว่าสร้างภาพยักษ์ใหญ่ที่ทรงความมั่นคงอย่าง เอ.ไอ.เอ. ได้เป็นอย่างดี เพราะเป้าหลักมิได้มุ่งเน้นที่จะนำเสนอแบบของกรมธรรม์ เพียงแต่ต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้ยังอยู่ในความนึกคิดของประชาชนเท่านั้น

อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค เปิดตัวใหม่พ่วงแบรนด์เนมต่างชาติ ทำโฆษณาฉาย 3 ประเทศ ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยบริษัทแม่ลงทุนในส่วนการผลิตประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนงบโฆษณาตั้งไว้ที่ 25 ล้านบาท เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อ จอห์นแฮนคอค

แลกข้อมูลยังทำไม่ได้

นอกจากบริษัทประกันชีวิตจะต่างคนต่างดิ้นหาทางออกแล้ว ในขณะเดียวกันก็รวมกลุ่ม เพื่อเสนอแนะความต้องการออกมาเช่นกัน โดยผ่านทางสมาคมประกันชีวิตที่มีสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา นั่งเป็นนายกสมาคมอยู่

ความร่วมมือที่เรียกร้องมานานแล้ว คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลของตัวแทนขายและลูกค้าของบริษัทสมาชิก นอกจากนี้ปัจจุบันที่มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น คือ การร้องขอความช่วยเหลือและสนับสนุนจากทางภาคราชการไทย

สำหรับ การเรียกร้องให้บริษัทประกันชีวิตทำสัญญาแลกเปลี่ยนข้อมูลลูกค้านั้น เป็นความพยายามที่ยังต้องพยายามกันต่อไป โดยขณะนี้เป็นความเห็นในหลักการเบื้องต้นที่จะจัดทำร่างสัญญาแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยเฉพาะรายที่ยกเลิกกรมธรรม์

เป้าหมายของความพยายามนี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดทำบัญชีรายชื่อตัวแทน เป็นการสกัดกั้นการกระทำของตัวแทนประกันบางรายที่โน้มน้าวให้ลูกค้าผู้เอาประกันยกเลิกกรมธรรม์กับบริษัทเก่า และให้ทำกรมธรรม์ใหม่กับบริษัทที่ตัวแทนนั้นย้ายไปร่วมงานด้วย

ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งบริษัทเก่า และตัวลูกค้าผู้เอาประกันในเรื่องของผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับจากกรมธรรม์เดิม

การจัดทำข้อมูลนั้นจะนำบัญชีรายชื่อของลูกค้าที่ยกเลิกประกัน และรายชื่อตัวแทนที่แนะนำให้ลูกค้าทำประกันชีวิตที่ได้รับจากบริษัทสมาชิกมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้บริษัทสมาชิกมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้บริษัทสมาชิกตรวจสอบได้ว่าลูกค้าที่มาทำประกันเคยยกเลิกกรมธรรม์มาก่อนหรือไม่

ในกรณีที่มีการตรวจสอบและพบว่ามีการแนะนำให้ยกเลิกกรมธรรม์ บริษัทสมาชิกก็จะส่งรายชื่อให้แก่สมาคมฯ และกรมการประกันภัยเพื่อลงโทษ โดยการเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตหรือให้หมดสิทธิ์การขายประกันชีวิต 3-5 ปี โดยการไม่ต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งทางสมาคมฯ เชื่อว่า วิธีการนี้จะสามารถป้องกันการแนะนำให้ยกเลิกกรมธรรม์ได้ในระดับหนึ่ง

แนวคิดนี้ จะได้ผลเป็นรูปธรรมเพียงใดนั้น ส่วนหนึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากทางภาคราชการด้วย นั่นคือ กรมการประกันภัย เพราะความร่วมมือจากทางการในการเป็นตัวกลางช่วยประสานงานการเซ็นสัญญา ย่อมเป็นสิ่งกระตุ้นให้บริษัทประกันชีวิตต่าง ๆ ให้ความร่วมมือมากขึ้นกว่าที่ทางสมาคมฯ จะเรียกร้องอยู่ฝ่ายเดียว

สำหรับความร่วมมือจากทาง เอ.ไอ.เอ. นั้นยังไม่มีทีท่าที่ชัดเจน เพราะความที่เป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการประกันภัย ทำให้ เอ.ไอ.เอ. ไม่แน่ใจว่าการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนั้นจะกลายเป็นเรื่องได้ไม่คุ้มเสียหรือไม่ จึงยังคงเกี่ยงไปถึงเรื่องกฎเกณฑ์ ในการเปิดเผยข้อมูลของบรรดาสมาชิกรวมถึงการควบคุมกรณีนำข้อมูลที่ได้ไปใช้

แยกธุรกิจประกันยังไม่ลงตัว

นอกจากการแข่งขันในเชิงธุรกิจที่เป็นตัวบีบคั้นผู้ประกอบการแล้ว อุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือ การไม่ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทางการเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันผู้ประกอบธุรกิจกลับถูกควบคุมจนบางครั้ง ทำให้การดำเนินธุรกิจประกันภัยไม่มีความคล่องตัว

ความหวังที่จะพึ่งกลไกและคนของทางการในอันที่จะช่วยเหลือก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างหวังได้ยาก จนเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า ในบรรดาสถาบันการเงินด้วยกัน เรื่องของบริษัทประกันภัยมักจะถูกจัดอันดับความสำคัญไว้รั้งท้ายเสมอ

ที่ผ่านมานั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า บริษัทประกันภัยทั้งหลายต่างประคับประคองธุรกิจของตนเองมาโดยตลอด เพิ่งมาในระยะหลังนี่เองที่จะเห็นว่ามีความเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ทางการเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น

ประเด็นหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เนื่องจากทางการมีส่วนต้องช่วยโดยตรง คือ พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2535 และ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย 2535 ซึ่งกำหนดให้ บริษัทประกันภัยที่ประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยในบริษัทเดียวกันนั้น ต้องทำการแยกบริษัทออกไปตั้งเป็นบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยใหม่ ภายในระยะเวลา 8 ปีนับจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้

ปัจจุบัน บริษัทประกันภัยที่มีธุรกิจประกันทั้ง 2 ประเภทในบริษัทเดียวกันมีอยู่ 5 บริษัท ได้แก่ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต บริษัทไทยสมุทรประกันภัย บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัย บริษัทอาคเนย์ประกันภัย และ เอ.ไอ.เอ.

แม้ว่าในเรื่องนี้ เมืองไทยประกันชีวิตมีความเคลื่อนไหวด้วยการจะจัดทำแผนในการแยกธุรกิจประกันวินาศภัยออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ แต่ปรากฏว่ายังติดขัดในแง่ของกฎหมายเอง ที่ยังไม่ชัดเจนจึงต้องรอการตีความกฎหมายจากที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน

เนื่องจากบทเฉพาะกาลในมาตรา 127 พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2535 และมาตรา 121 พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย 2535 กำหนดให้บริษัทที่ประกอบการทั้งธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยจะต้องจัดตั้งบริษัทใหม่ตามกฎหมาย

นั่นหมายถึงบริษัทประกันภัยดังกล่าวต้องขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และได้รับอนุมัติจาก ครม.

เมื่อถึงตรงนี้ก็ต้องทำใจ เพราะกระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาพอสควรทีเดียว จึงจะได้เห็นการแยกธุรกิจประกันภัยอย่างจริงจัง แม้ว่านักกฎหมายบางกลุ่มจะออกมายืนยันว่า เมื่อมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ก็สามารถแยกธุรกิจได้เลยโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ก็ตาม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ทางเลือกใหม่ของ 3 ยักษ์ประกัน

ขณะที่ด้านประกันแข่งกันหนักเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางด้านสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ก็ได้อนุมัติผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 19 ราย ซึ่งมีบริษัทประกันชีวิตได้ด้วย 3 ราย คือ บริษัทไทยประกันชีวิต เอ.ไอ.เอ. และศรีอยุธยา จาร์ดีนฯ จึงถือเป็นอีกหนทางหนึ่งที่บริษัทประกันชีวิตจะหารายได้เข้าตัว นอกเหนือจากธุรกิจหลัก

ฐานลูกค้าในระยะแรกคงเป็นฐานลูกค้าเดิมของแต่ละบริษัท รวมทั้งบริษัทในเครือและพันธมิตรก่อนที่จะหาลูกค้ารายอื่นอย่างจริงจัง

สำหรับการลงทุนนั้นไม่น่าจะมีปัญหา เนื่องจากเดิมบริษัทประกันเหล่านี้ก็บริหารพอร์ตการลงทุนของธุรกิจประกันภัยเป็นหลักอยู่แล้ว คิดว่าน่าจะมีความคล้ายคลึงกับพอร์ตประกันที่มีอยู่เดิม

นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทประกันชีวิตทั้ง 3 ที่ได้รับอนุมัติ เพราะนอกจากจะเป็นการกระจายความเสี่ยงในเชิงของธุรกิจแล้ว ยังเป็นการขยายงานไปสู่ธุรกิจการเงินที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ เอ.ไอ.เอ. และศรีอยุธยา จาร์ดีนฯ อาจจะดูมีภาษีกว่าสักหน่อย เพราะหนึ่งเป็นบริษัทต่างชาติ ที่มีความชำนาญในการบริหารกองทุนอยู่แล้ว

แต่ก็ไม่น่ามีปัญหาสำหรับไทยประกันชีวิต เนื่องจากการออมเงินในประเทศยังมีน้อย โอกาสในการเติบโตจึงยังมีอีกมาก

ปรับตัวเพื่ออยู่รอด

มาถึงตรงนี้การปรับกลยุทธ์ของแต่ละบริษัทนั้น ย่อมต้องผ่านการกลั่นกรองจากทีมงานมาแล้วเป็นอย่างดี และเห็นว่าเหมาะสมกับธรรมชาติของบริษัทตน

สิ่งที่พอจะกล่าวได้ คือ การดำเนินธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบัน และอนาคตนั้นเหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ที่จะทวีความเข้มข้นขึ้นไปเรื่อย ๆ

ปัจจัยสำคัญที่น่าจับตามอง คือ กลยุทธ์ที่แต่ละบริษัทจะงัดขึ้นมาแข่งขันกันนั้น คงหนีไม่พ้น 4 เรื่องใหญ่ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เคยเสนอแนะไว้ตั้งแต่ต้นปี นั่นคือ

การหาพันธมิตรทางธุรกิจหรือผู้ร่วมลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ การเตรียมพร้อมทางด้านเทคโนโลยีทั้งระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูล และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรให้อยู่ในระดับมืออาชีพ และการขยายเครือข่ายสาขา ซึ่งจะเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างลูกค้าตัวแทน และบริษัทเข้าด้วยกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us