Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539
เมื่อ 3 สิงห์ อัศวิน-อโนทัย-ศิริชัย             
โดย อมรรัตน์ ยงพาณิชย์
 


   
search resources

เฟิสท์ ซิตี้ อินเวสเม้นท์ , บง
ศิริชัย สาครรัตนกุล
อัศวิน คงสิริ
อโนทัย เตชะมนตรีกุล
Investment




เจอแต่งานหิน ๆ ทั้งนั้นตลอดสมัยที่อยู่ในตำแหน่งกำหนดหางเสือสถาบันการเงิน (เพื่อการพัฒนา) ของ อัศวิน คงสิริ กรรมการและผู้จัดการทั่วไปคนที่ 8 ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตำแหน่งอันทรงเกียรติล่าสุดที่เพิ่งได้รับในฐานะประธานกรรมการ 2 องค์กรความร่วมมือของสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา ADFIAP (ASSOCIATION OF DEVELOPMENT FINANCE INSTITUTIONS IN ASIA AND THE PACIFIC) และ WFDFI (WORLD FEDERATION OF DEVELOPMENT FINANCING INSTITUTIONS)

เขาสืบสานภารกิจต่อจาก ศุกรีย์ แก้วเจริญ ที่กุมเก้าอี้อยู่นานถึง 10 ปีเต็ม โดยอัศวินถือได้ว่าเป็น "อัศวินคู่ใจ" ในสมัยของศุกรีย์

กุมภาพันธ์ปี 2533 เป็นวันแรกของการเข้ารับตำแหน่งสูงสุดของอัศวินที่นี่ หลังอยู่ก้นกุฏิมานานในบทบาทผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผนเมื่อปี 2519 ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป (ด้านวางแผนและบริหารเงิน) ในปี 2522 รองผู้จัดการทั่วไปปี 2522 รองผู้จัดการทั่วไปปี 2527 กระทั่งปีที่ 31 ของการก่อเกิดบรรษัทฯ เขาขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดได้ด้วยวัย 45 ปี

การันตีด้วยปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขา PHILOSOPHY, POLITICS AND ECONOMICS จาก OXFORD ประเทศอังกฤษ และประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในกระทรวงการคตลังและธนาคารโลกมาก่อนหน้า

เขาอยู่ในสมัยของประธานกรรมการถึง 3 ท่าน เริ่มจาก ดร.สุธี สิงห์เสน่ห์ ต่อด้วย ชวลิต ธนะชานันท์ และท่านหลังสุด คือ อรัญ ธรรมโน ที่เข้ามาต่อวาระเมื่อเดือนมีนาคมของปีที่ผ่านมา

ผลงานหินชิ้นแรกของอัศวิน คือ รับช่วงต่อปัญหาขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก้อนโต ที่เกิดในสมัยของศุกรีย์ และสะเทือนเก้าอี้ทั้งศุกรีย์และสมหมาย ฮุนตระกูล ประธานกรรมการบรรษัทฯ ในเวลานั้นมาแล้ว แต่มาจบในสมัยของเขา

จากการตัดสินใจแบบถอนรากถอนโคนในครั้งเดียวด้วยการ SWAP หนี้สกุลเงินต่างประเทศ 5 สกุลเป็นเงินบาท สำหรับเงินกู้จำนวน 2,647 ล้านบาท หรือประมาณ 5% ของยอดหนี้คงค้างทั้งหมดที่มีอยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท เพื่อแลกกับการหลุดพ้นโรคหวาดผวาที่เกิดขึ้นทุกครั้งในภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนขึ้น ๆ ลง ๆ

งานชิ้นที่สองที่ทดสอบฝีมือเขา คือ การปลุกชีพบริษัทเงินทุน เฟิสท์ ซิตี้ อินเวสเม้นท์ หรือ FCI ซึ่งเป็นข่าวฉาวโฉ่ในวงการเงินเมื่อปี 2536 งานนี้เรียกได้ว่าคนของบรรษัทฯ ถอดใจทุ่มสุดตัวในภารกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้ทำ

ฮีโร่ของงานที่เคียงบ่าเคียงไหล่อัศวินเข้ารับหน้าที่นี้ คือ อโนทัย เตชะมนตรีกุล รองผู้จัดการทั่วไปของบรรษัทฯ และในฐานะอันยิ่งใหญ่ "ประธานกรรมการ" ใน FCI เมื่อแรกรับมอบหมายตำแหน่งนี้ เขาตระหนักดีถึงเกียรติอันสูงส่ง ขณะเดียวกันก็เห็นว่าสามารถชี้เป็นชี้ตายเขาได้ไม่แพ้กัน

ว่าไปแล้ว อโนทัยแก่มวยกว่าอัศวินมาก เพราะชีวิตของเขาเริ่มต้นที่บรรษัทฯ ตั้งแต่ปี 2509 ผ่านร้อนผ่านหนาว และโชกโชนในงานวิเคราะห์และควบคุมโครงการมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าที่ติดตามเร่งรัดเงินกู้ จนได้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป (ด้านบริหารเงินกู้) เมื่อปี 2527 และรั้งตำแหน่งปัจจุบันแทนการเขยิบของอัศวินที่ขึ้นเป็นกรรมการและผู้จัดการทั่วไป เขาจึงเหมาะที่สุดในสายตาของอัศวินและผู้ใหญ่ในธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับภาระหน้าที่ตรงนี้

และด้วยฝีไม้ลายมือของสองคนสำคัญนี้ บวกกับอีกหลาย ๆ แรงทำให้กิจการ FCI ดีวันดีคืนและยืนอยู่ได้อย่างไม่อายใครทุกวันนี้ เพราะอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปาเข้าไปถึงกว่า 400%

ความหวังที่จะเลี้ยงดูปูเสื่อให้ FCI เติบใหญ่ไปกว่านี้จึงชัดเจนขึ้น เป้าหมายในภารกิจต่อไปที่จะต้องทำ คือ เพิ่มธุรกิจหลักทรัพย์ และขยับฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ หลังพ้นยุคฝืดเคืองมาแล้ว

ในสมัยของอัศวินนอกจากงานที่ต้องคอยติดตามสะสางปัญหาที่คนอื่นก่อขึ้นแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งสำคัญในช่วงเวลาของเขา คือ การผลักดันตัวเองขึ้นเป็น "สถาบันสินเชื่อระยะยาว" ตามบทบาทที่ถูกกำหนดให้ตามแผนพัฒนาทางการเงินที่กระทรวงการคลังในสมัยของรัฐมนตรีว่าการธารินทร์ นิมมานเหมินท์ หมายมั่นไว้ เรียกได้ว่าความฝันอันสวยหรูที่สุดเกิดขึ้นในสมัยนี้

บทบาทนี้ทำให้บรรษัทฯ ต้องคิดและทำการใหญ่ ซึ่งสถานการณ์นั้นดันให้ ศิริชัย สาครรัตนกุล รองผู้จัดการทั่วไปของบรรษัทฯ คนปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างขึ้น

ท่านนี้เข้าร่วมงานกับบรรษัทฯ เมื่อปี 2537 นี้เอง จากการผ่าตัดโครงสร้างระดับบริหารครั้งสำคัญ จากที่ก่อนหน้านี้ ชีวิตการทำงานของเขาถึง 17 ปี ทุ่มให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย

หน้าที่ความรับผิดชอบของศิริชัย ในบรรษัทฯ เป็นงานด้านวิชาการ การเงิน ธุรกิจการเงิน บัญชี งานวิจัย วางแผน ธุรการ การพนักงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิจัยตลาดทุน

เขาจึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการางแผน ระดมสมอง และเตรียมการในทุก ๆ อย่างที่จะผลักดันแผนงานบรรษัทฯ ให้สอดรับแผนพัฒนาระบบการเงินของกระทรวงการคลัง ร่วมกับคณะทำงานที่มีอโนทัยเป็นประะาน และมีฝ่ายกฎหมายร่วมเป็นกรรมการ

งานที่ทำ คือ ศึกษาและทำเรื่องขอแก้ไข พ.ร.บ.บรรษัทฯ พ.ศ.2502 เพื่อขจัดอุปสรรคและเปิดช่องให้บรรษัทฯ สามารถเดินบนเส้นทางใหม่ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

นอกจากนี้ เขายังได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปเป็นกรรมการใน บงล.ไทยซากุระ ร่วมกับผู้บริหารญี่ปุ่นในนั้น กระตุ้นสุขภาพให้กิจการพ้นขีดอันตราย

แต่แล้วสิ่งที่เขาสามคนร่วมกับอีกหลายต่อหลายคนบรรจงสร้างขึ้นและหวังในเป้าหมายของวันข้างหน้า โดยเฉพาะคำอนุมัติให้แก่ พ.ร.บ.ของบรรษัทฯ โอกาสทำธุรกิจหลักทรัพย์ของ FCI และเหนือไปกว่านั้น คือ ความเห็นชอบให้สามารถจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่มี FCI เป็นแกนนำได้ ก็ต้องเจอกับทางตันในทุกทางออก

จึงเป็นเรื่องหินที่สุดและน่าศึกษาที่สุด ว่า คีย์แมน 3 ท่านนี้จะพลิกสถานการณ์ที่ดำให้เป็นเทาได้อย่างไร โอกาสและความหวังในเรื่องเหล่านี้แม้ดูอับจนสิ้นหนทางในรัฐบาลชุดนายกฯ บรรหาร ศิลปอาชา แต่ใครจะล่วงรู้ได้ว่า ในรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us