แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าอนุพันธ์
(Derivatives) ได้ กลายเป็นเครื่องมือสำคัญต่อกระบวน การลงทุน การจัดหาเงินทุน
ตลอดจนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) รวมทั้งเป็นแหล่งรายได้ ที่มีบทบาทสูงของสถาบันการเงินก็ตาม
ผู้กำกับสถาบันการเงิน และผู้บริหารธุรกิจหลายแห่งกลับมีความเป็นห่วงว่าเครื่องมือทางการเงิน
ที่ซับซ้อนจะทำให้ระบบสถาบันการเงินมีความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินมากขึ้น
เช่นเดียวกับตลาดการแลกเปลี่ยน (swap market) ในยุคแรกๆ นั้น จัดเป็นผลแนวความคิดด้านค้ากำไร
โดยมุ่งหวัง ที่จะฉกฉวยผลประโยชน์จาก ความได้เปรียบเสียเปรียบของธุรกิจ 2
แห่งในการระดมทุนจากตลาดต่างๆ
ตลาดสวอป เริ่มขึ้นในทศวรรษ 1960 โดยเป็นการสวอปเงินตราต่างประเทศ (currency
swap) และความ สำคัญของตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องจากปัจจัยหลักๆ
คือ เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ของตลาดทุนระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดการสวอปเงินตราต่างประเทศ
เป็นส่วนทำให้การเชื่อมโยง ของตลาดการเงินระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น
ประการต่อมา เกิดจากนวัตกรรม เกี่ยวกับการสวอปอัตราดอกเบี้ยได้ทำให้เกิดการแปรรูปแนวทางการจัด
การหนี้สินระยะปานกลาง และการจัดการทรัพย์สินของธุรกิจ
ประการสุดท้าย ความมุ่งมั่นของ ธนาคารโลกต่อการผลักดันโครงการ สวอปด้วยการเป็นผู้นำ
และผู้ใช้เครื่องมือทางการเงินอย่างจริงจัง ได้ทำให้เทคนิคนี้ได้รับความนิยมเร็วกว่าปกติ
สำหรับในประเทศไทยตลาด สวอป มีขนาดใหญ่ และมีประสิทธิภาพมากในช่วงปี 1994
โดยเฉพาะรูปแบบการระดมทุนในต่างประเทศ (offshore) จนกระทั่งเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
ตลาดสวอปไทยได้หยุดชะงักลงช่วง 18-24 เดือนที่ผ่านมา แต่ก็มีการระดมทุนในต่างประเทศบ้างเป็นครั้งคราว
"นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้การระดมทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทยมีไม่มาก เกิดจากความไม่แน่นอนเรื่องการหักภาษี
ณ ที่จ่าย รวมถึงข้อจำกัดของสภาพคล่อง และเมื่อไม่นานมา นี้การระดมทุนในประเทศมีการเติบโตอย่างมาก"
เกรก เมเจอร์ หัวหน้าฝ่ายตลาดอนุพันธ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกธนาคารเอบีเอ็น
แอมโรกล่าว
หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้เงื่อนไขต่างๆ ของการระดมทุน ในประเทศ (onshore)
ดีขึ้น อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินในตลาดต่างประเทศ
(offshore lending) ว่าธนาคารพาณิชย์มีขีดความสามารถจำกัดในสนับสนุนการระดมทุนรูปแบบดังกล่าว
เมเจอร์บอกว่าการพัฒนาของตลาดการระดมทุนในประเทศ (on-shore market) สิ่งแรก
ที่จะต้องคิด คือ ในเรื่องความเสี่ยงของทั้งธนาคารพาณิชย์ และลูกค้า อีกทั้งความกระตือ
รือร้นการพัฒนาตลาดทุนในประเทศ
"นี่เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการพัฒนาตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราในประเทศ
(local currency swap market)"
หากสังเกตระหว่างตลาดพันธบัตร (bond) กับตลาดสวอป ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันอย่างไรนั้น
สำหรับในไทย สามารถคาดเดาได้ว่าตลาดพันธ บัตร และตลาดสวอปจะเติบโตคู่กันไป
ตลาดพันธบัตรจะยังไม่อาจขยายตัวได้มากหากตลาดสวอปไม่เติบโตอย่างรวดเร็ว
"เหตุผลก็คือ คุณกำลังจะมีแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นจากรายย่อยหรือนักลงทุนสถาบัน
และตลาดพันธบัตรมาดึงเงินจากนักลงทุนแล้วส่งกลับไปให้ผู้กู้ยืมอีกทีหนึ่ง"
เมเจอร์บอก
อย่างไรก็ดี หากผู้กู้ยืมเหล่านั้น ไม่สามารถบริหารความเสี่ยง ที่มีอยู่ด้วยได้แล้ว
หรือใช้เงินทุน เพื่อแปลงเป็นเงินสกุลอื่นหรือทำธุรกรรมอื่น ก็ไม่สามารถใช้เงิน
ที่ระดมทุนได้อย่างเต็มประสิทธิ ภาพ ตลาดสวอปจะโตขึ้นสอดคล้องกับตลาดพันธบัตร
และทั้งสองก็จะหล่อเลี้ยงกัน
ในตลาดการเงินแถบเอเชียมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะชี้ได้ว่าตลาดการเงินไทยก็น่าจะมีการพัฒนาในเชิงบวกด้วย
เพราะหากดูตลาด หุ้นรอบเอเชีย ที่มีการพัฒนาขึ้นมา ปรากฏว่าแต่ละแห่งยังทิ้งห่างกันในแง่ของการพัฒนาการในแง่เวลา
ที่เห็นได้ชัด คือ ฮ่องกง ซึ่งพัฒนาไปเป็นแห่งแรก และปัจจุบันเป็นตลาดที่มีความคล่องตัวสูง
รวมทั้งเป็นตลาดตราสารอนุพันธ์ด้วย
ตลาดสิงคโปร์ ที่โตมาด้วยกัน ครึ่งปีแรก ที่ผ่านมาออกพันธบัตรสกุลเงินในประเทศในปริมาณ
ที่มาก และเมื่อผลิตภัณฑ์ในรูปของตราสารอนุพันธ์มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นมากโดยอยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์
รวมทั้งมีความซับซ้อนมากขึ้น
"ตลาดที่พัฒนาในทางเดียวกัน อย่างเช่น อินเดียหรือไต้หวันที่ตลาดพันธบัตรมีการวางรากฐานดี
และตลาด สวอปก็กำลังเติบโต และเริ่มเข้าสู่ช่วงการเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ซับซ้อนขึ้น
หรือแม้แต่ในไทยจะเห็นได้ว่าตลาดพันธ บัตร และตลาดสวอปโน้มเอียงไปในทาง ที่จะเติบโตแบบเดียวกับ
ที่เราเห็นในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก" เมเจอร์อธิบาย
เกิดคำถามตามมาว่าแล้วไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง ซึ่งถ้าหากกลับไปดูสิ่งที่สิงคโปร์ดำเนินการไป
จะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของตลาดตราสารหนี้
"คาดว่าไทยจะใช้กรอบเวลาเช่นเดียวกัน ถ้าสมมติว่าเราไม่ได้ศึกษาวิกฤติการณ์ในเอเชีย
ซึ่งมองว่าการพัฒนาตลาดพันธบัตร และตลาดสวอปทั้งหมดจะช่วยไม่ให้เกิดวิกฤติได้
คุณอาจจะคิดว่าอีกสองปีข้างหน้าก็จะเริ่มเห็นตลาดที่สดใส"
สิ่งที่ตามมา ก็คือ ตลาดรอง ที่เข้มแข็งในแง่พันธบัตร และอนุพันธ์ ซึ่งทั้งผู้กู้ยืม
และผู้ลงทุนจะหาช่องทางเข้า ไปร่วมด้วย "มันจำเป็นที่จะต้องมีทั้งผู้กู้ยืม
และนักลงทุนในตลาดสวอป เพราะจะเป็นตัวผลักดัน ถ้าหากภายในหนึ่งปีหรือปีครึ่ง
ไทยไม่สามารถสร้างฐานทั้งสองด้านนี้ได้ก็จะนำไปสู่ความชะงักงัน" เมเจอร์บอก
น่าสนใจเมื่อมองย้อนกลับไป ที่สิงคโปร์ และเห็นว่าตลาดเขาเติบโตมาอย่างไร
คือ จะเห็นทั้งภาวะการไหลเข้า และไหลออกของเงินทุน ช่วงแรกผู้กู้ยืม เข้าจู่โจมจากด้านการเสนอขายในตลาดดอลลาร์สิงคโปร์
จากนั้น ผู้ระดมทุนต่าง ชาติก็เข้ามาออกพันธบัตรในรูปดอลลาร์ สิงคโปร์ แต่ไม่ได้สวอปเป็นดอลลาร์สหรัฐหรือสกุลยูโร
ที่จะช่วยธุรกิจจากทางด้านของหนี้
ท้ายที่สุดก็เกิดพันธบัตรล้นเกิน เป็นเวลาเดียวกับ ที่เริ่มเห็นธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด
และได้รับการกระตุ้นจากคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของสิงคโปร์
ทำให้เกิดความต้องการการระดมทุนในรูปดอลลาร์สิงคโปร์ระยะยาว
"ส่งผลให้เกิดการสวอปแบบอัตราผลตอบแทนคง ที่ ที่มีกำหนดระยะเวลานาน ทำให้เกิดการแกว่งกลับไปอีกด้านหนึ่ง
การไหลเข้า และออกระหว่างผู้กู้ยืมกับนักลงทุนค่อยๆ ทำให้เกิดสภาพ คล่อง
และสร้างตลาดแบบสองทางที่ดีขึ้นมาด้วย นับว่าเป็นรูปแบบ ที่ไทยควรจะใช้เช่นกัน"
เมเจอร์ให้ความเห็น
สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะบอกว่าถ้าหาก เป็นบริษัทในไทยในยุคก่อน ที่จะมีตลาด
พันธบัตรหรือตลาดสวอป หากต้องการระดมทุนเป็นสกุลต่างประเทศต้องกู้ยืมจากต่างประเทศโดยผ่านธนาคารหรือตลาดพันธบัตร
"แต่ทุกวันนี้คุณมีทางเลือก อาจจะออกพันธบัตรในประเทศเป็นเงินบาทแล้วใช้ตลาดสวอป
เพื่อระดมเงินสกุลต่างประเทศได้ วิธีนี้ไม่เคยทำมาก่อน คุณจะต้องตัดสินใจให้ดีระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศ
และระหว่างดอกเบี้ยของพันธบัตรกับการสวอป" เมเจอร์กล่าว
ดังนั้น ไม่ว่าจะในจุดไหนก็ตามหากต้องการระดมเงินสกุลต่างประเทศ อาจจะออกพันธบัตรสกุลเงินบาทแล้ว
สวอปเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือเยนญี่ปุ่น หรืออาจจะไปติดต่อกับแหล่งเงินทุนต่างประเทศโดยตรงก็ได้
"ไม่ว่าจะเลือกแบบไหนก็หมาย ความว่ามีทางเลือกมากขึ้นในการระดมทุน และเรากำลังจะใช้ตลาดสวอป
เพื่อผลักดันแหล่งเงินทุน ที่มีต้นทุนถูกลง" เมเจอร์บอก
เช่นเดียวกัน หากธุรกิจไหนดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทล้วนๆ และต้องการระดมทุนในรูปเงินบาทอาจไประดมทุนจากตลาดพันธบัตร
แต่ด้านกลับ ก็คือ ธุรกิจนั้น อาจจะมีหนี้สินในรูปสกุลเงินต่างประเทศในงบดุล
จากวิธีย้อนกลับ ที่อาจจะระดมทุนในรูปแบบ เงินกู้ร่วม (syndicated loan)
หรือตลาดแยงกี้
"ครั้งนี้ ก็ใช้ตลาดสวอปเป็นตัวแปลงเงินสกุลต่างประเทศให้กลับเป็นหนี้เงินบาท
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบ แทน เพราะเมื่อทำแล้วอาจจะได้ต้นทุนถูกกว่า
ที่จะไปชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ" เมเจอร์กล่าว
อย่างไรก็ดี จะต้องคิดให้รอบ คอบระหว่างการกู้เงินในประเทศ และต่างประเทศ
แล้ววางแนวทางผสมผสาน เรื่องสกุลเงิน และอัตราดอกเบี้ย ที่ต้อง การไว้ แล้วใช้ความคล่องตัวของตลาดทุน
และตลาดเงินกู้ดำเนินการตามแนวทางของธุรกิจ