Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 พฤษภาคม 2549
เปิดแผน 'เดอะ พิซซ่า คอมปะนี'รุกภูธร-ควานหาพันธมิตรท้องถิ่น             
 


   
www resources

โอมเพจ เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป, บมจ.

   
search resources

Food and Beverage
Franchises
เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป, บมจ.




ธุรกิจอาหารยังเป็นธุรกิจที่นักลงทุนเล็งลงทุนในอันดับต้นๆ ถ้าเจาะเฉพาะตลาดพิซซ่า จะเห็นว่ามีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องดูจากมูลค่าตลาดรวมปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท แต่จำนวนผู้เล่นในตลาดที่มีอยู่ไม่มาก

แต่อย่างไรก็ตามมีการประเมินกันว่าตลาดเริ่มถึงจุดอิ่มตัว เห็นได้จากการกระตุ้นตลาดของแบรนด์ใหญ่ต่างเริ่มหากลยุทธ์การตลาดใหม่เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเดอะ พิซซ่า คอมปะนี พิซซ่าสัญญาติไทยภายใต้ บริษัท เดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ชูกลยุทธ์การตลาดแบบเต็มรูปแบบทั้ง 4P ทั้งรูปลักษณ์สินค้า มีเมนูใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมถึงชูราคาเดียว 199 บาท และที่สำคัญการให้ความสำคัญกับ P Place นั่นหมายรวมถึงการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุม ควบคู่กับนโยบายการลงทุนของบริษัทที่ลงทุนเองและการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์

ซึ่งปัจจุบัน เดอะพิซซ่า คอมปะนี มีสาขาทั้งสิ้น 151 สาขา เป็นสาขาที่ดำเนินงานโดยบริษัท 121 สาขา แบ่งเป็น รูปแบบนั่งรับประทานในร้าน รูปแบบสั่งนำกลับและดิลิเวอรี่ และอีก 30 สาขาเป็นแฟรนไชส์

กุลวัฒน์ วิชัยลักษณ์ ผู้อำนวยการแฟรนไชส์ ให้ข้อมูลกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่า แผนการขยายสาขาแฟรนไชส์ในปี 2549 นี้ คาดจะเปิดเพิ่มอีก 15-20 สาขา กระจายในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยเฉพาะสาขาในต่างจังหวัดนั้น ยังมีโอกาสอีกมาก เพราะปัจจุบันสาขาแฟรนไชส์มีเพียง 30 สาขาเท่านั้น แต่หากมองถึงโอกาสการเจริญเติบโตในแต่ละจังหวัดมีสูงมาก และโอกาสการเจริญเติบโตน่าจะครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดในประเทศไทย

ปัจจัยที่ กุลวัฒน์ มองเห็น นั่นคือ การขยายการลงทุนของห้างสรรพสินค้าทั้งในท้องถิ่นและห้างจากส่วนกลาง รวมถึงดิสเคาท์สโตร์ ซึ่งเป็นพื้นที่หรือทำเลหลักของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ทั้งนี้มองถึงปริมาณคนที่เข้ามาจับจ่ายเป็นจำนวนมาก สอดคล้องกับเม็ดเงินที่ลงทุนในแต่ละสาขาที่ขนาดพื้นที่ 200-220 ตร.ม.ที่ 12-13 ล้านบาท

"อย่างไรก็ตาม ห้างสรรพสินค้า หรือดิสเคาท์สโตร์ ยังเป็นพื้นที่อันดับแรกที่จะลงทุน"

กุลวัฒน์ ยอมรับว่าด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ที่ยังไม่สามารถ เติบโตได้ทันกับการเติบโตของจำนวนสาขานั้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล นำนโยบายดิลิเวอรี่มีจำนวน 70 สาขาเพื่อครอบคลุมการให้บริการ แต่สำหรับการลงทุนของแฟรนไชส์และสาขาในต่างจังหวัดจะมีเฉพาะการลงทุนในรูปแบบนั่งรับประทานที่ร้านเท่านั้น

กุลวัฒน์ เชื่อมั่นว่า ด้วยจำนวนอินเตอร์แบรนด์ในมือของบริษัท ประกอบด้วย เดอร์รี่ควีน ซเวนเซ่นส์ เบอร์เกอร์คิง ซิสสเลอร์ ในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์ และนโยบายการขยายสาขาจับคู่เป็นแพคเกจสามารถหาพื้นที่และเจรจาต่อรองได้ไม่ยาก นั้นภาพที่เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้า ดิสเคาท์สโตร์ ตามต่างจังหวัดจะเห็นภาพของแบรนด์ไมเนอร์ฟู้ด เป็นพันธมิตรด้วย

"ในเรื่องการรับรู้ในแบรนด์นั้น เชื่อว่าผู้บริโภคจำนวนมากรู้จักเดอะ พิซซ่า คอมปะนี แต่ยังไม่สามารถหาทานได้ในจังหวัดนั้นๆ ฉะนั้นโอกาสและช่องว่างของการขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดยังมีอีกมาก มองว่าในหลายๆ พื้นที่มีศักยภาพ ทั้งนี้การรองรับการตอบโตของการขยายสาขาในแต่ละพื้นที่นั้น บริษัทมีแผนงานระยะยาวรองรับไว้หมดแล้ว”

กับความพร้อมของบริษัททั้งพันธมิตรพื้นที่ แต่กับพันธมิตรผู้ร่วมลงทุนหรือแฟรนไชซีนั้น กุลวัฒน์ กล่าวว่า แม้เม็ดเงินการลงทุนกับเดอะ พิซซ่า คอมปะนี จะสูงมากแต่เมื่อเทียบอัตราผลตอบแทน กำไรกับธุรกิจอื่นแล้วเกิดความคุ้มค่าสมกับเงินลงทุน ซึ่งความสนใจจะมีอย่างต่อเนื่อง ดูจากผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้สนใจติดต่อข้อมูล หรือความต้องการของแฟรนไชซีรายเดิมที่ต้องการขยายสาขาเพิ่มเป็นสาขาที่ 2 สาขาที่ 3 หรือสาขาที่ 4 รวมถึงขยายแบรนด์ต่างๆ ในเครือ

กุลวัฒน์ กล่าวว่า ภาพรวมการเติบโตของจำนวนนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นก็ตาม จากการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งข้อมูล สินเชื่อผู้ประกอบการ แต่ต้องดูว่าความต้องการลงทุนในระดับไหน เพราะจากสถิติที่ผ่านมาตัวเลขความไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนของแฟรนไชส์ก็ยังมีสัดส่วนที่สูง หรือจำนวนแฟรนไชซอร์เองก็ตามทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่

ด้วยภาพที่เกิดขึ้น ย่อมสกรีนนักลงทุนที่จะเข้ามาร่วมลงทุนกับเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ได้ในระดับหนึ่ง ทั้งจำนวนเงินที่ต้องมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาและดำเนินกิจการ การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่แฟรนไชซีจะเป็นนักธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์อื่นหรือประเภทอื่นมาแล้ว เช่น ค้าปลีก ทำให้เข้าใจระบบการทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี

แต่อย่างไรก็ตาม ในตลาดยังมีความต้องการของนักลงทุนหน้าใหม่ ที่สนใจลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ เนื่องจากข้อดีที่เห็นชัดเจนคือการลดความเสี่ยงในการลงทุน ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันสูง หรือคือการฝากความเสี่ยงไว้กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จวัดผลได้

เมื่อมีนักลงทุน เช่นนี้ทยอยเข้ามาศึกษาหาข้อมูลเพื่อร่วมลงทุนกับเดอะ พิซซ่า คอมปะนี นั้น กุลวัฒน์ กล่าวว่า แท้จริงแล้วมาตรฐานการคัดเลือกเป็นแฟรนไชซีไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหน้าใหม่หรือรายเดิมที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งของในเครือบริษัท หรือแฟรนไชส์แบรนด์อื่นอยู่แล้ว ต้องผ่านมาตรฐานเดียวกันกับที่บริษัทกำหนดไว้

ดังที่ ผู้บริหาร (บิล ไฮเนคกี้ ประธานกลุ่มและประธานเจ้าหน้าที่บริหารไมเนอร์ กร๊ป) มุ่งหวังไว้คือ "แฟรนไชซี ที่มีความแข็งแกร่งจะนำพลัง ความคิด สร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำแบรนด์ที่ยอดเยี่ยมก้าวปาสู่ความเป็นผู้นำอย่างแท้จริงในตลาดของตนเอง การที่ต้องการพันมิตรเช่นนี้เพื่อที่จะนำระบบที่มีอยู่ อีกทั้งความรู้ และประสบการณ์ของบริษัท ไปสู่ความเป็นผู้นำในตลาดของตนเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ"

ฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นแฟรนไชซีของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ได้นั้นต้องประกอบด้วย 1.มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในด้านการดำเนินกิจการร้านอาหาร และมีความสนใจในอุตสาหกรรมร้านอาหาร มีทักษะการบริหารงาน 2.มีเงินทุนมากพอที่จะพัฒนาและดำเนินกิจการของร้าน 3.สภาพตลาดที่ดี

กุลวัฒน์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจาก 3 ส่วนสำคัญที่เป็นองค์ประกอบหลักแล้ว ความสำเร็จของธุรกิจนอกจากความเข้มแข็งของแบรนด์แล้ว ในส่วนของแฟรนไชซีก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน นั้นคือต้องเป็นบุคคลที่มีเวลาให้กับธุรกิจ เพราะธุรกิจจะสำเร็จหรือไม่นั้นเป็นผลมาจากความเอาใจใส่และทุ่มเทของเจ้าของร้าน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับทุกๆ เรื่องภายในร้าน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ตั้งร้านขึ้น และสามารถที่จะทำหน้าที่ด้านการขาย การผลิตและการจัดการภายในร้านได้

และกับการขยายสาขาแฟรนไชส์ในต่างจังหวัดนั้น พันธมิตรหรือคู่ค้านั้น จะให้ความสำคัญกับผู้ลงทุนนั้นท้องถิ่นนั้นๆ มาเป็นอันดับแรก กุลวัฒน์ ให้เหตุผลว่า ทั้งนี้เพื่อเกื้อหนุนกับธุรกิจที่เขาที่มีอยู่หรือเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจร่วมกัน รวมถึงการรู้พฤติกรรมผู้บริโภค สอดรับการทำตลาดตรงกลุ่มเป้าหมายและความเอาใจใส่ต่อธุรกิจ

"มองว่าด้วยเม็ดเงินการลงทุนที่สูง จะเป็นการขยายธุรกิจอีกไลน์หนึ่งของนักลงทุน มากกว่าจะเป็นธุรกิจเสริมที่ใครจะเข้ามาทำแทนก็ได้ ฉะนั้นความเอาใจใส่ต่อธุรกิจใหม่นี้จะสูงตามไปด้วยนำมาสู่การพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ แม้ความสำเร็จของบริษัทจะมีให้เห็น แต่ถ้าขาดความใส่ใจของคู่ค้าที่ดี ธุรกิจก็ลำบากได้"

กุลวัฒน์ ยังได้กล่าวถึงการรักษามาตรฐานสินค้า บริการ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับบริษัทแม่ว่า โดยใช้ one system ทำแบบอย่างเดียวกันกับบริษัทแม่ ทั้งการบริการ คุณภาพสินค้า โดยมีทีมตรวจสอบทั้งเป็นทางการ และการสุ่มตรวจ โดยคุณภาพสินค้านั้นการันตรีจากวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่งคือการบริษัทแม่จัดหาให้ เช่น หน้าพิซซ่าต่างๆ และชีส ขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ สามารถซื้อได้จากซัพพลายเออร์ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากบริษัท

ขณะเดียวกัน สิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนหรือแฟรนไชซีคือระบบการอบรมพนักงาน เพราะเป็นกำลังสำคัญและเป็นปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการฝึกอบรม การสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับตนเองและพนักงานในร้าน

ซึ่งผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์และผู้จัดการร้านต้องจบโปรแกรมการฝึกอบรมผู้จัดการร้าน ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ที่ร้านสาขาเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ที่คัดเลือกไว้ ซึ่งการฝึกอบรมครอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับการดำเนินงาน เทคนิคการเตรียมอาหาร การใช้เครื่องมือต่างๆ และการบริหารคน การสรรหาบุคลากร การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้ง การสร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า การสร้างทีมงาน การบริหารเวลา และสอนให้ตระหนักถึงธุรกิจที่ทำคือการใช้คนในการให้บริการลูกค้า

******************************

ลงทุน The Pizza Company

1.ขนาดพื้นที่ 200-220 ตร.ม. (ห้างสรรพสินค้า) 12-13 ล้านบาท
ขนาดพื้นที่ 160 ตร.ม. (อาคารพาณิชย์) 8-8.5 ล้านบาท
*รวมค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและค่าลิขสิทธิ์แล้ว

2.สัญญา 10 ปี ประมาณการ์คืนทุน 4 ปีถึงสี่ปีครึ่ง

3.บริษัททำการเช่าสถานที่เปิดร้านให้ ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะสามารถเช่าช่วงต่อไป หรือเสนอทำเลมาใหพิจารณา

4.จัดหาแบบแปลนการก่อสร้างคิดค่าออกแบบรวมในใบเสร็จเป็นค่าใช้จ่าย (ผู้รับเหมาจากภายนอกต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์)

5.จัดอบรมพนักงาน และให้ความช่วยเหลือในการบริหารร้าน

6.จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์จำนวน 5% ของยอดขายทุกเดือน และอีก 5% ของยอดขายรวมสำหรับค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us