Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 พฤษภาคม 2549
สภาอุตฯชี้ทางรอดยุควิกฤตเอกชนตั้ง "CLUSTER" สร้างอำนาจต่อรองแทนพึ่งรัฐ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Commercial and business
สันติ วิลาสศักดานนท์




ประธานสภาอุตฯแนะผู้ประกอบการรวมตัวเป็นCLUSTER เพื่อสร้างอำนาจต่อรองซื้อสินค้าและขนส่ง มั่นใจเป็นทางรอดจากภาวะวิกฤตน้ำมัน ค่าเงินบาทฯลฯ ด้านบ.ไทยยูเนี่ยน ฟรอสเซ็น นำขบวนปรับราคาเพื่อให้อุตสาหกรรมทั้งระบบอยู่รอด ส่วนอุตสาหกรรมอัญมณีถูกกระทบจากราคาทองคำพุ่งสูง หวั่นถูกจีนตีตลาด ต้องหันมาผลิตจับกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์แทน

แม้สถานการณ์น้ำมันจะยังไม่คลี่คลาย และได้ส่งผลกระทบให้เกิดสถานการณ์ราคาสินค้าตามมาอีกเป็นทิวแถว จนทำให้ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อย่างสมคิด จาตุรศรีพิทักษ์ ต้องจัดการประชุมเพื่อยับยังราคาสินค้าที่กำลังจะแห่ตามกันขึ้นราคา อย่างไรก็ตามเมื่อมองไปที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต แต่ละรายเซ็กเตอร์พบว่าต่างพากันปรับตัวสู้กับภาวะเศรษฐกิจขาลงอย่างพัลวัน

สภาอุตฯแนะรวมกลุ่มสร้างอำนาจ

สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจก็ถือว่ายังพอไปได้ เพราะสินค้าพื้นฐานยังถือว่าขายได้อยู่ ซึ่งขณะนี้ต้องมีการตรึงราคาต่อไป แต่ก็พออยู่ได้ โดยทาง สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ทำข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองเพื่อการลดต้นทุนการผลิต เช่น ธุรกิจส่งออก ต้องอาศัยบริษัทโลจิสติกส์ หากหลายๆบริษัทรวมตัวกันได้ก็สามารถสร้างอำนาจการต่อรองลดราคาค่าขนส่งได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีของการอยู่รอดในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้

อย่างไรก็ดีการบริหารระบบการขนส่งภายในประเทศของผู้ประกอบการก็เช่นเดียวกัน หากรวมตัวกันเป็น CLUSTER ได้ ก็จะยิ่งสร้างความได้เปรียบในการต่อรองการขนส่งในประเทศได้เช่นกัน เพราะปัจจุบันนี้บริษัทขนส่งต่างๆนั้นแข่งขันกันมากขึ้น ถ้าผู้ประกอบการสามารถรวมตัวกันได้ก็จะสร้างอำนาจต่อรองได้มากกว่า นอกจากนั้นการรวมตัวกันเป็น CLUSTER ยังสามรถลดต้นทุนการผลิตอีกทางจากการซื้อวัตถุดิบรวมกัน ซึ่งทำให้ได้ราคาที่ถูกลงกว่าแยกกันซื้อ

ในเรื่องของอัตราค่าเงินบาทที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ส่งออกนั้น สันติมองว่า เท่าที่ผู้ประกอบการจะสามารถดูแลจัดการเองได้ ก็คือควรที่จะทำประกันความเสี่ยงให้รัดกุม เพราะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเพียงอย่างเดียว การรับคำสั่งสินค้าใหม่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ควรจะดูเรื่องความเสี่ยงด้วย เพราะไม่รู้ว่าเงินทุนไหลเข้ามาจะอยู่อีกนานเท่าใด

นอกจากปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่ไปดันราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแล้ว ปัญหาที่ทางสภาอุตสาหกรรมฯเผชิญอยู่ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าก็คือ ปัญหาแรงงานขาดแคลนซึ่งตอนนี้ทางสภาอุตสาหกรรมได้ประสานไปที่กรมแรงงานในการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาเสริมกำลังการผลิต เพราะตอนนี้แรงงานทางภาคใต้ประสบปัญหาขาดแคลนมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ซึ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่พอจะทำได้คือการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

แนะเอกชนเตรียมปรับตัวระยะยาว

ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวเองเพิ่มขึ้นในหลายด้านเพื่อเป็นประโยชน์ในระยะยาวอีกด้วย โดยสภาอุตสาหกรรมฯ มีโครงการจะจัดแพกเกจอบรมผู้ประกอบการในเรื่องความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านการประหยัดต้นทุน การจัดแพ็กเกจจิ้ง และการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็นการสัญจรไปยังจังหวัดต่างๆเพื่อเพิ่มความรู้ให้ผู้ประกอบการ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ละเลยการให้ความรู้ในเรื่องการเพิ่มการแข่งขันมาพอสมควร ซึ่งในอนาคตผู้ประกอบการจะต้องเจอปัญหาเรื่องข้อกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้นมาด้วย

นอกจากนี้เพื่อเป็นการดูแลการผลิตให้ยั่งยืน สันติ ได้ สอบถามผู้ประกอบการ พบว่า แต่ละรายอุตสาหกรรมบางส่วน และแต่ละกลุ่มมีปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่ต้องการให้ภาครัฐจัดการเรื่องการจัดการมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรม รวมทั้งกลุ่มอาหารเองก็ต้องการให้ภาครัฐดูแลเรื่องค่าเงินบาท ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทางผู้ประกอบการต้องการให้ทางภาครัฐเข้ามาดูแลอย่างเป็นระบบ

ไทยยูเนี่ยน ฟรอสเซ็น ดันโครงสร้างราคาใหม่

ในส่วนของผู้ประกอบการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง โดย ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานบริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทมีการปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่มีราคาค่าเงินบาทเข้ามากระทบกับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยได้มีการปรับราคาสินค้าตามราคาต้นทุน อีกทั้งมีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือ Value Added รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตหรือ Productivity ให้ได้

ทั้งนี้ เขา ยอมรับว่า การขึ้นราคาสินค้าในช่วงแรกๆคงต้องเจอกับผลกระทบจากเหล่าลุกค้าทั้วโลกแน่ๆ แต่เชื่อว่า ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจะกระทบกับผู้ผลิตทั่วโลกทั่วถ้วนกัน ดังนั้นการขึ้นราคา สินค้าของเขาจึงจะเป็นการให้ตลาดซึมซับโครงสร้างราคาใหม่ เพื่อให้ผู้ผลิตรายอื่นได้ปรับตัวตามกันต่อไป ขณะที่ทางบริษัทได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 5% และผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 8% ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้น 10% จึงทำให้ทางไทยยูเนี่ยนฯจะทำการขึ้นราคาสินค้าขึ้นอีก 3-5% ทั้งนี้จะต้องใช้การปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์และการลดต้นทุนการผลิตเข้ามาถัวเฉลี่ยต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย

"เพราะเราเป็นผู้นำตลาด จึงต้องปรับราคาเพื่อให้รายย่อยเขาอยู่รอดได้ ถ้าเราไม่ปรับรายเล็กจะปรับก็คงยาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับราคาเพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่รอดได้ " ธีรพงศ์ กล่าว

แนะรัฐดูแลเกษตรกรให้ดี

ทั้งนี้ธีรพงอยากให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องเกษตรกรให้สามารถขายสินค้าได้ เพราะบริษัทบางส่วนยังต้องพึ่งพิงกำลังการผลิตจากเหล่าเกษตรกรอยู่ ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจหมุนไปได้ทั้งระบบ อีกทั้งอัตราค่าเงินไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป เพราะแม้รัฐบาลจะเน้นให้ผู้ประกอบการทำประกันความเสี่ยงไว้ แต่ว่าเมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาประกันความเสี่ยงทีทำไว้ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ารัฐควรที่จะเข้ามาดูแลไม่ให้ค่าเงินแข็งมากเกินไป

"การประกันความเสี่ยงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นคือเมื่อค่าเงินบาทแข็งรายได้คุณก็หายไป ดังนั้นรัฐจึงควรดูแลค่าเงินให้อยู่ในระดับที่ไม่แข็งค่ามากเกินไป" ธีรพงษ์เน้น

พร้อมกันนั้น บริษัทอาหารรายใหญ่ของเมืองไทยอย่างเจริญโภคภัณฑ์อาหารก็ได้เตรียมที่จะปรับราคาสินค้าเช่นกัน อดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และต้นทุนสินค้าก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้บริษัทต้องเจรจากับผู้ประกอบการในต่างประเทศเพื่อขอปรับขึ้นราคาสินค้า ได้แก่ ไก่ปรุงสุก เป็ด และกุ้ง ในขณะที่อุตสาหกรรมส่งออกประเภทอาหารต้องขึ้นราคาสินค้านั้น ทางผู้ประกอบการส่งออกอัญมณีนั้นก็ถุกผลกระทบจากราคาทองที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ก็ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมรายอื่นๆ

อัญมณีเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าหนีต้นทุนพุ่ง

สุทธิพงษ์ ดำรงค์สกุล กรรมการผู้จัดการ จีโมโพลิส กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการส่งออกอัญมณีที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานีมีปัญหาเรื่องราคาทองคำที่มีราคาแพงมากขึ้นไปตามๆกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความกังวลใจมากกกว่า ราคาน้ำมันและอัตราค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรทอัญมณีในเมืองไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลักการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจึงถัวเฉลี่ยกับราคานำเข้าไปได้ ขณะที่การขนส่งก็ไม่ได้กระทบมากนัก เพราะใช้ Supply Chain ที่ไม่ซับซ้อน เพราะมีการนำเข้าและผลิตในโรงงานและส่งออกทางอากาศ ซึ่งต่างจากอุตสาหกรรมแบบอื่นๆ

แต่สิ่งที่ทางผู้ประกอบการเป็นกังวลคือ ราคาทองคำทำให้ต้องขึ้นราคาสินค้าและจะไปกระทบความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศจีน แม้ราคาทองคำทั่วโลกจะสูงขึ้นเหมือนกัน แต่จีนมีแต้มต่อที่ราคาค่าแรงถูกกว่ามาก จึงทำให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี ต้องปรับเปลี่ยนระบบการตลาดหันมาให้ความสำคัญกับตลาดระดับบนและระดับกลางมากขึ้น ซึ่งจากที่เคยมีตลาดระดับบน 10% ก็อาจจะขยายกลุ่มเป้าหมายระดับนี้ให้กินสัดส่วนมากขึ้น

"ตอนนี้ผู้ประกอบการต้องปรับราคาขาย ทำให้ต้องเหนื่อยขึ้น เพราะต้องหันมาเล่นตลาดบนทำสินค้า ไฮเอนด์ หากจะไปเล่นราคาสู้จีนก็คงจะสู้ไม่ได้" สุทธิพงษ์กล่าว

ตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

อย่างไรก็ตาม มาตรการล่าสุดที่ทางรัฐบาลออกมาช่วยภาคประชาชนในภาวะเศรษฐกิจขาลงก็คือทางกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งนำโดย สมคิด จาตุรศรีพิทักษ์ รมว.พาณิชย์ ประชุมหารือร่วมกับผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภครายใหญ่จำนวน 28 ราย เช่น บริษัทสหพัฒนพิบูล (มหาชน) จำกัด บริษัทยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัทคาโอดินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทโอสถสภา จำกัด บริษัทดีทแฮล์ม จำกัด และอีกหลายบริษัท ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ทั้งหมดต่างยืนยันว่าจะยังไม่ปรับราคาจำหน่ายสินค้าตามต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องขึ้นไปในช่วงนี้แน่นอน เพราะขณะนี้ทุกบริษัทต่าง สามารถจำหน่ายขายสินค้าได้ต่อเนื่องยอดขายโดยรวมไม่ตกลงจากเดิม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us