Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 พฤษภาคม 2549
กันตนาฯ ติดเครื่อง เข็นองค์กรบุกตลาดโลก ชูบิ๊ก บราเธอร์ - ก้านกล้วย ดึงลูกค้าอินเตอร์             
 


   
www resources

โฮมเพจกันตนา

   
search resources

กันตนากรุ๊ป, บมจ.
ศศิกร ฉันท์เศรษฐ์
TV




กันตนาฯ ตั้งความหวัง 2 โครงการมาสเตอร์พีช ก้านกล้วย - บิ๊ก บราเธอร์ จะปูทางดึงลูกค้าอินเตอร์เข้าบ้าน มองแนวโน้มปรับโฟกัสองค์กรหันหาธุรกิจฟิล์มโปรดักชั่นเป็นหลัก แซงหน้าธุรกิจทีวี ตั้งเป้ารายได้ 2.4 พันล้าน พร้อมประกาศไม่ทิ้งไอทีวี เข็นละคร 3 เรื่อง สู้ศึกชิงเรตติ้ง

หากจะกล่าวว่า Talk of the town ของวงการทีวีไทย ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อสูงสุดในเวลานี้ อย่าง บิ๊ก บราเธอร์ มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นในวงการอนิเมชั่น และภาพยนตร์ไทยที่จะเป็น Talk of the town ในสัปดาห์หน้า "ก้านกล้วย" ศศิกร ฉันท์เศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ กันตนากรุ๊ป กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี หาก 2 โครงการนี้จะประสบความสำเร็จเป็นที่กล่าวขวัญของผู้ชมทั้งชาวไทย และต่างประเทศ เหมือน ๆ กัน

แม้จะเป็นองค์กรที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านปัญหา อุปสรรคมายาวนานถึงกว่า 55 ปี แต่ช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ดูจะเป็นช่วงเวลาที่กันตนากรุ๊ปต้องเผชิญความท้าทายในการทำงานมากกว่าช่วงไหน ๆ การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มชินคอร์ป ในการเข้าร่วมบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี สร้างเรตติ้งให้กับไอทีวีถีบตัวขึ้นสูงควบคู่ไปกับหุ้นไอทีวีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่สุดท้ายเมื่อปลายปี 2548 กันตนาก็ได้ประกาศลดบทบาทจากการจะเข้าเป็นบริษัทผู้ร่วมถือหุ้นไอทีวี เหลือเพียงการเป็นพันธมิตรผู้ผลิตรายการป้อนสถานีเพียงอย่างเดียว

รวมถึงแผนการนำบริษัทเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของตัวบริษัทกันตนากรุ๊ปเอง ก็ถูกเลื่อนออกไปจากปลายปีที่แล้ว อย่างไม่มีกำหนด สร้างความสงสัยให้กับทิศทางของกันตนาฯ ในการก้าวเดินต่อไปในเวลานั้น

สร้างงานมาสเตอร์พีซ พาองค์กรลิ่ว

ศศิกร กล่าวว่า ตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา อาจไม่ได้เห็นว่ากันตนาฯ ขยายงานใด ๆ ออกเป็นมากนัก เนื่องจากมีโครงการใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนสูง และต้องใช้บุคคลากรจำนวนมาก คือ เรียลลิตี้โชว์ บิ๊ก บราเธอร์ และภาพยนตร์อนิเมชั่น ก้านกล้วย นอกจากนั้นรายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศอยู่ทั้งละครโทรทัศน์ และรายการโทรทัศน์ ที่ยังออกอากาศอยู่ ก็ยังได้รับความนิยมอย่างสูง จึงไม่มีการปรับรูปแบบรายการใด ๆ

"นโยบายของกันตนาฯ ที่จะมีการพูดคุยกันทุกปีคือ กันตนาฯ จะผลิตงานที่เป็นมาสเตอร์พีซ เป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่างานระดับมาสเตอร์พีซเท่านั้นที่จะเป็นแนวทางสร้างบริษัทให้เติบโตได้ ปีที่แล้ว กันตนาฯ เปิดโครงการบิ๊ก บราเธอร์ เป็นปีแรก ใช้งบประมาณลงทุนสูงถึง 80 ล้านบาท จึงให้ความสำคัญเป็นหลัก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ส่วนปีนี้ได้มีการกำหนดแล้วว่า แผนหลักในการดำเนินงานจะมี 3 ส่วน ประกอบด้วย บิ๊ก บราเธอร์ ปี 2 ภาพยนตร์อนิเมชั่น ก้านกล้วย และมีละคร 3 เรื่องใหม่ที่จะออกอากาศช่วง 2 ทุ่ม ทางไอทีวี ซึ่งทั้ง 3 โครงการถือเป็นโครงการระดับมาสเตอร์พีซ หากประสบความสำเร็จทั้งหมดจะถือเป็นปีทองของกันตนา แต่หากทั้ง 3 โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คงลำบากเหมือนกัน"

บิ๊ก บราเธอร์ ต้นแบบคอนเทนท์ เพื่อมัลติมีเดีย

บิ๊ก บราเธอร์ เรียลลิตี้โชว์ลูกผสม ที่กันตนาฯ ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ มาปรับแต่งรูปแบบให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ใช้เงินลงทุนในปีแรก 80 ล้านบาท แต่ปีที่ 2 ก็ยังต้องลงทุนเพิ่มอีก 45 ล้านบาท พร้อมกับการลงแรงของพนักงานกันตนาราวครึ่งบริษัท ไม่เพียงแต่ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายสร้างสรรค์ หากรวมถึงฝ่ายขาย ฝ่ายบุคลากร งานด้านแบ็คออฟฟิศทั้งหมด ยังต้องเดินเข้าออกระหว่างสำนักงานที่รัชดาภิเษก กับกัตนา มูฟวี่ทาวน์ ศาลายา ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านบิ๊ก บราเธอร์ กันตลอด 100 วันที่รายการดำเนินอยู่

โดยผลตอบรับที่ศศิกรมองว่าคือความสำเร็จ นอกเหนือจากจำนวนสายโหวต และแสดงความคิดเห็นในแต่ละสัปดาห์ที่สูงราว 1 - 2 แสนสาย คือ ข่าวสาร รวมถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ตลอดจนความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินไปของเกม ที่ผู้ชมมีมากขึ้นกว่าปีที่ 1 สรุปออกมาได้ว่า บิ๊ก บราเธอร์ ปีที่ 2 ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับ "พาร์" หรือเสมอตัว

"ต้องยอมรับว่าบิ๊ก บราเธอร์ ไม่ได้ทำกำไรเป็นตัวเงินให้กับบริษัทฯ ได้ดีนัก ถ้าเทียบกับรายการอื่น ๆ เช่น คดีเด็ด หรือ เรื่องจริงผ่านจอ หากแต่รูปแบบของบิ๊ก บราเธอร์ เป็นรายการที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของคอนเทนท์ยุคใหม่ที่สมบูรณ์แบบ เพราะปัจจุบันในทวีปยุโรป รายการต่าง ๆ จะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อโทรทัศน์เพียงอย่างเดียวเหมือนเช่นก่อน หากแต่เป็นการออกแบบขึ้นมาสำหรับมัลติมีเดีย ทั้งบรอดแบนด์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเตอร์แอคทีฟ วิดีโอคลิป วิดีโอออนดีมานด์"

ปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเหล่านี้ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น รายการที่จะตอบสนองต่อสื่อใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ ต้องสนองความยากรู้อยากเห็นของคน ความตื่นเต้น ความผูกพันของคน เป็นรายการที่คนดูได้ทั้งวันทั้งคืน โดยไม่ไปไหน กลายเป็นแฟนคลับไปโดยไม่รู้ตัว จะเป็นรายการที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตลอด 2 ปีที่กันตนาฯ จัดบิ๊กบราเธอร์ ขึ้น บุคลากรก็ได้รับโนว์ฮาวน์ ในการคิดรูปแบบรายการในลักษณะนี้มาอย่างเต็มที่ ซึ่งอาจจะยังไม่เห็นผลตอบแทนชัดเจนในเวลานี้ หากแต่จะเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอน

ก้านกล้วย สุดยอดอนิเมชั่นไทย

อีกหนึ่ง Talk of the town ที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า ภาพยนตร์อนิเมชั่นสมบูรณ์แบบ โดยฝีมือคนไทยเรื่องแรก ก้านกล้วย เรื่องราวของช้างศึกคู่พระบารมีแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งสงครามยุทธหัตถี กันตนาฯ ใช้เวลาสร้างผลงานชิ้นนี้ยาวนานกว่า 3 ปี เสร็จสิ้นพร้อมฉาย 18 พฤษภาคมนี้

แรกเริ่มเดิมทีสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศให้การสนับสนุนแก่กันตนาฯ ในการสร้างอนิเมชั่นก้านกล้วย เป็นเงิน 30 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ขณะที่งานก้านกล้วยเริ่มเสร็จเป็นรูปเป็นร่าง พร้อมนำออกแสดงโชว์ ปรากฎว่า เกิดกรณีกันตนาฯ นำก้านกล้วยไปเปิดตัวในงาน World Animation & Cartoon 2006 ที่เมืองทองธานี ซึ่งกันตนาฯ จัดขึ้นเอง ในเวลาเดียวกันกับที่ซิป้า จัดงาน Thailand Animation หรือ TAM ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทำให้เกิดข่าวความไม่พอใจของฟากกระทรวงไอซีที และต่อมาก็มีกรณีการแจ้งยกเลิกเงินสนับสนุน 30 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า ติดข้อกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีฝ่ายใดยอมรับว่า 2 กรณีนี้เกี่ยวข้องกัน

กันตนาฯ จึงลงทุนสร้างก้านกล้วยแต่เพียงผู้เดียว ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 150 ล้านบาท ซึ่งมาสเตอร์พีซประจำปี 2549 ของกันตนาฯ ชิ้นนี้ ศศิกร กล่าวว่า เป็นงานที่คนไทยต้องภูมิใจ ตั้งแต่โครงเรื่องที่เป็นประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของคนไทย การวาด การผลิต เป็นงานที่ละเอียด จนไม่เสียดายเวลา 3 ปีที่เสียไป แต่เป้าหมายด้านรายได้จากการฉาย วางไว้เพียงกลับเข้ามาเท่ากับเงินที่ลงทุนออกไป ไม่ต่างอะไรกับการลงทุนของบิ๊ก บราเธอร์

เล็งตลาดต่างประเทศเป็นเป้าหลัก

เป้าหมายหลักของกันตนาฯ ที่จะได้รับจากความสำเร็จของทั้งบิ๊ก บราเธอร์ และก้านกล้วย จะเป็นผลทางอ้อมจากการที่ผู้ผลิตต่างประเทศได้เห็นผลงาน และเชื่อมั่นในฝีมือที่จะมอบหมายงานโปรดักชั่นต่าง ๆ ให้กับกันตนาฯ รับผิดชอบ โดยผลการดำเนินงานของกันตนา กรุ๊ป มีสัดส่วนรายได้ที่ในอดีตเคยมาจากการทำธุรกิจรายการโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ และมีรายได้จากงานโปรดักชั่นด้านฟิล์ม และเสียง จากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นส่วนน้อย เริ่มมีการปรับสัดส่วนจากผลงานที่ออกไปในงานระดับโลก อาทิ Star War : Espisode 1 จนในปี 2548 จากรายได้รวม 2,000 ล้านบาท แบ่งส่วนระหว่างงานโทรทัศน์ กับงานฟิล์ม อย่างละครึ่ง ๆ

ศศิกร กล่าวว่า บิ๊ก บราเธอร์ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมดอยู่ในกันตนา มูฟวี่ทาวน์ ศาลายา สร้างความรู้จักให้กับต่างประเทศได้รู้จักมูฟวี่ทาวน์ ของกันตนาฯ มากขึ้น เช่นเดียวกับ ก้านกล้วย การนำผลงานออกแสดงในงานฟิล์ม เฟสติวัล ทำให้ผู้ผลิต และนักลงทุนจากต่างประเทศติดต่อให้กันตนาฯ ทำอนิเมชั่นให้ รายได้เหล่านี้จะเริ่มรับรู้ในปีนี้ งานด้านฟิล์มจะเติบโตมีสัดส่วนที่สูงกว่ารายการโทรทัศน์ แต่ทั้งนี้ ยังเชื่อมั่นว่า ทั้ง 2 ส่วนจะเติบโตไปด้วยกัน โดยงานด้านรายการโทรทัศน์จะมีการเติบโตราว 10% ส่วนงานด้านฟิล์ม จะเติบโตถึง 30% ทั้งนี้ รายได้โดยรวมของบริษัทฯ ในปี 2549 ตั้งไว้ว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20%

ยังไม่ทิ้งไอทีวีไปไหน

สำหรับกรณีร้อนของวงการทีวีไทย ช่วงปลายปี 2548 ที่กันตนาฯ และไตรภพ ลิมปพัทธ์ ล้มดีลการซื้อหุ้นไอทีวี 3,000 ล้านบาท ถึงวันนี้ ศศิกร กล่าวว่า กันตนาฯ ก็ยังไม่ทิ้งไอทีวีไปไหน นอกเหนือจากรายการทางช่อง 7 ที่เคยทำอยู่ก่อนหน้าแล้ว ทั้งนี้ แม้ไอทีวีจะไม่ได้ห้ามกันตนาฯ ในการเข้าไปทำรายการให้กับช่องอื่น แต่ตนถือว่า สิ่งที่ไอทีวีได้ให้กับกันตนาฯ นั้นเป็นการให้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับที่กันตนาฯ ได้รับจากช่อง 7 ช่วงเวลาไพร์มไทม์ 20.40 น. ทุกวัน ทำให้ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่กันตนาฯ จะวิ่งไปหาสถานีอื่น

โดยหลังจากบิ๊ก บราเธอร์ ปี 2 จบลง กันตนาฯ เตรียมนำละคร คนทะเล ออกฉาย พร้อมเตรียมละครอีก 2-3 เรื่องรอฉายทางไอทีวี ปัจจุบัน ละครช่วงเย็นของไอทีวี ที่กันตนาฯ เป็นผู้ผลิต มีเรตติ้งสูงเป็นอันดับ 2 รองจากช่อง 7 ส่วนช่วงไพร์มไทม์ ก็สามารถแข่งขันกับช่องอื่น ๆ ได้ แม้จะมีเสียงวิจารณ์จากความรู้สึกส่วนตัวบ้าง แต่ก็วัดผลอะไรไม่ได้ ที่วัดได้คือตัวเลขที่เป็นเรตติ้ง เป็นสิ่งเดียวที่ศศิกร ใช้ยืนยันเหตุผลที่บอกว่า ไอทีวี เติบโตขึ้น

ศศิกร กล่าวว่า ปัจจุบันรายการโทรทัศน์ของกันตนาฯ อาจไม่ได้เป็นข่าวฮือฮา เนื่องเพราะส่วนใหญ่เป็นรายการเก่า ที่ยังมีเรตติ้งสูงอยู่ โดยเฉพาะทางช่อง 7 ประกอบด้วย คดีเด็ด เรื่องจริงผ่านจอ จ้อจี้ และซูเปอร์แก๊ก ทั้ง 4 รายการ ถือว่าทำเรตติ้งได้สูงสุดแล้ว และเป็นการสูงแบบมั่นคง มีโฆษณาเข้าเต็ม ในแง่ธุรกิจถือเป็นตัวเลี้ยงบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี

"รายการของเราโฆษณาไม่เคยขาด บางรายการโฆษณารอเข้า เพียงแต่รายการเหล่านี้เป็นของเก่า จึงไม่เป็นข่าว แต่ก็เป็นสิ่งที่เราพอใจ เพราะการสร้างของใหม่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องประสบความสำเร็จทุกครั้งไป เราอาจเปิดรายการใหม่ให้เป็นข่าวอีก 10 รายการก็ทำได้ แต่ปีนี้เป็นที่คาดเดาธุรกิจไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่าธุรกิจจะไปทางใด จึงไม่ใช่เวลาที่ดี ถ้าไม่ใช่งานที่กันตนาฯ มั่นใจ จะไม่เสี่ยงโดยเด็ดขาด ปีนี้ จบจากบิ๊ก บราเธอร์ ก็จะเป็นก้านกล้วย จบแล้วมีละครทีวีต่อ และอาจมีการ์ตูนทางโทรทัศน์ในช่วงครึ่งหลังของปี ก็คงปิดปี 2549 ด้วยความสำเร็จได้"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us