Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 พฤษภาคม 2549
ผังเมืองใหม่กทม.พ่นพิษคลองเตย-วัฒนาแจ็กพอต             
 


   
search resources

อภิรักษ์ โกษะโยธิน
Real Estate




ผังเมืองใหม่กทม.พ่นพิษใส่ผู้ประกอบการ- เจ้าของที่ดินอย่างจัง พื้นที่ทำเลทองทั้ง “คลองเตย-วัฒนา” แจ็กพอต โดนหางเลขห้ามสร้างอาคารสูงมาก จากเดิมที่อนุญาตให้สร้างได้ แนะผู้ประกอบการทบทวนแผนการลงทุนใหม่ หวั่นไม่คุ้มเม็ดเงินลงทุน เหตุราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นเท่าตัว ถึงไร่ละ 360 ล้านบาท ด้านโครงการจัดสรรกว่า 1,000 แห่ง ที่ยังไม่ได้ขออนุญาตอาจเจ็บตัว เหตุเข้าข่ายต้องใช้ผังเมืองใหม่

ยืดเยื้อมานานพอสมควร นับตั้งแต่ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับเก่าหมดอายุลงเมื่อ เดือนก.ค. 2547 ปัจจุบันเริ่มมีความความหวังที่ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้แล้ว โดยกรุงเทพมหานคร(กทม.)ได้จัดทำร่างแผนผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับปรับปรุงครั้งที่2 เสร็จเรียบร้อยผ่านการพิจารณาเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนและอยู่ระหว่างรอลงประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าในวันที่ 16 พ.ค.นี้จะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ และเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 พ.ค. 2549 บังคับใช้นาน 5 ปี

การใช้ผังเมืองรวมฯเพื่อสร้างความเป็นเมืองน่าอยู่โดยการพัฒนาทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และส่งเสริมการเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้านธุรกิจพาณิชยการและการบริการของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมมาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ

หวั่นเมืองเติบโตแบบไร้ทิศทาง

ทั้งนี้การจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับดังกล่าว ได้กำหนดแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตไม่ให้เติบโตแบบไร้ทิศทาง

อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ข้อแตกต่างของผังเมืองรวมฉบับปัจจุบันคือบริเวณที่เปลี่ยนแปลงสำคัญได้กำหนดเขตอุตสาหกรรมในผังเมืองใหม่ บริเวณบางบอน บางขุนเทียน เพิ่มบทบาทของศูนย์พาณิชยการรอง 3 บริเวณ ซึ่งจะเป็นศูนย์คมนาคมขนส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯในอนาคต ได้แก่บริเวณมักกะสัน พหลโยธินและศูนย์ตากสิน

โดยการเปลี่ยนแปลงการแบ่งประเภทการใช้ที่ดินและการกำหนดบริเวณ เพิ่มมาตรการทางด้านผังเมืองในการควบคุมความหนาแน่นการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกำหนดที่ว่างโดยรอบอาคารและความสูง เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการใช้ที่ดินและอาคาร

ผังเมืองฉบับใหม่มีข้อกำหนดให้พื้นที่เมืองเป็นพื้นที่หลวม ๆ ไม่แออัด และมีสีเขียว ส่วนผลกระทบการประกาศใช้ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น อาจจะมีผลกระทบทำให้ต้องปลูกสร้างไกลออกไป และอาจมีต้นทุนที่สูงขึ้นเพราะต้องมีแนวร่นที่ต้องปล่อยไว้เป็นที่ว่าง

เขตคลองเตย-วัฒนา เตรียมรับมือ

โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากพื้นที่หนึ่ง คือ บริเวณเขตคลองเตยและวัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่กลางเมือง โดยพื้นที่บริเวณวัฒนาอยู่ในแนวรถไฟฟ้า BTS ตามแนวถนนสุขุมวิท ส่วนเขตคลองเตย มีพื้นที่เหลืออีกมาก เหมาะที่จะพัฒนาเป็นอาคารสูง

ทั้งนี้ พื้นที่ทั้งสองเขตไม่สามารถอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษได้ เพราะจัดอยู่ในโซนสีน้ำตาล ซึ่งเป็นเขตที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก โดยกำหนดให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคาร รวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR อยู่ที่ 7-8 :1 และอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม หรือ OSR อยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 ของพื้นที่อาคารรวมทุกชั้น ที่สร้างในที่ดินแปลงเดียวกัน

นอกจากนี้ หากมีการก่อสร้าง อาคารพาณิชยกรรมขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตพื้นที่ดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร อยู่ในระยะ 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเท่านั้น

จากข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น จึงมีผลต่อการออกแบบ รูปแบบของอาคาร ที่จะต้องเป็นไปตามสัดส่วนที่กฎหมายผังเมืองฉบับนี้ได้กำหนดไว้ ได้แก่ ระยะถอยร่นจากถนน การจัดให้มีพื้นที่ว่าง และจำนวนชั้นของอาคาร มีแนวโน้มว่า ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของที่ดินต้องคิดหาหนทางใหม่ ๆในการพัฒนาที่ดิน เพราะข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการอาคารสูง และขนาดพื้นที่ ซึ่งหากคิดโครงการไม่เหมาะสม อาจจะไม่คุ้มค่าการลงทุนได้ ที่สำคัญราคาที่ดินในย่านดังกล่าว พุ่งสูงขึ้นเท่าตัว โดยมีราคาขายเฉลี่ยที่ไร่ละ 360 ล้านบาทขึ้นไป

เอกชนถก 5 ปัญหาหลัก

ด้านรศ.มานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเคหะการ และในฐานะนักนักผังเมืองภาคประชาชน กล่าวว่า การประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่ดังกล่าวยมีข้อโต้แย้งจากภาคเอกชน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่

1.อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR ซึ่งบางจุดได้กำหนดให้น้อยลง เพื่อคุณภาพชีวิตและความกว้างของถนน

2.อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม หรือ OSR โดยบางพื้นที่ถูกบังคับให้มีพื้นที่เปิดโลงสูงถึง 30-40% รวมไปถึงระยะถอยล่นหากเป็นอาคารพาณิชย์ต้องถอยล่น 30 เมตร ที่อยู่อาศัย 20 เมตร จากเดิมเพียง 10 เมตรเท่านั้น

3.การให้โบนัส ในพื้นที่พัฒนารัศมี 500 เมตรจากเส้นทางรถไฟฟ้า ว่าควรจะให้เท่าใด เพราะไม่เคยมีใช้ในเมืองไทยมาก่อน

4.เขตช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ ที่ทางสมาคมผู้ค้าปลีกเรียงร้องถึงเขตการอนุญาตก่อสร้างหรือพัฒนา

จัดสรร 1,000 แห่งเตรียมเจ็บ

และ 5. ผู้ประกอบการที่ขออนุญาตก่อสร้างโดยใช้มาตรา 39 ทวิ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งจะใช้วิธีก่อสร้างไปก่อนที่จะขออนุญาตจัดสรร ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,000 โครงการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะประสบความยุ่งยากหรือมีปัญหามากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกหลังการประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่ เพราะกลุ่มนี้จะต้องใช้กฎหมายผังเมืองกทม.ฉบับใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us