|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายกสมาคมป้ายโฆษณาคนใหม่ยกเครื่องสมาคมฯครั้งใหญ่ หวังผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้พัฒนาและมีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งเลือกตั้งล่วงหน้า เพิ่มอุปนายก รวมทั้งเร่งเครื่องในการติดตามเรื่องปัญหาต่างๆที่เสนอภาครัฐ ที่จะออกมาตรการเข้มงวดกับธุรกิจนี้
นายกสมาคมป้ายโฆษณาคนใหม่ยกเครื่องสมาคมฯครั้งใหญ่ หวังผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้พัฒนาและมีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งเลือกตั้งล่วงหน้า เพิ่มอุปนายก รวมทั้งเร่งเครื่องในการติดตามเรื่องปัญหาต่างๆที่เสนอภาครัฐ ที่จะออกมาตรการเข้มงวดกับธุรกิจนี้
นายนพดล ตัณศลารักษ์ นายกสมาคมผู้ผลิตป้ายและโฆษณา เปิดเผยว่า แนวทางการบริหารสมาคมฯจากนี้ไปมีเป้าหมายที่จะยกระดับอุตสาหกรรมของป้ายโฆษณาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆของสมาคมฯรวมทั้งรูปแบบการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งในการประชุมสมาคมฯครั้งแรกวันพุธหน้าคาดว่าจะมีการนำเสนอเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ
ทั้งนี้แนวทางหลักๆเช่น การจะเสนอให้มีตำแหน่งอุปนายกเพิ่มขึ้นอีก 5 ตำแหน่งจากเดิมที่มีแล้วเพียง 1 ตำแหน่ง เพื่อที่จะให้มีตัวแทนแต่ละฝ่ายและแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจนเช่น ฝ่ายปัจจัยการผลิต ฝ่ายอิ้งค์เจ็ท ฝ่ายผลิตชิ้นงานโฆษณา ฝ่ายโครงให้เช่า ฝ่ายต่างประเทศ และอีก 1 ฝ่ายที่ยังไม่เปิดเผย
ขณะเดียวกันจะเสนอให้มีการแก้ไขระเบียบโดยจะให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมฯคนใหม่เตรียมไว้ก่อน หลังจากที่นายกสมาคมฯคนเดิมดำรงตำแหน่งได้แล้ว 1 ปี ซึ่งวาระ 2 ปีต่อ 1 สมัย การเสนอให้เชิญอดีตนายกสมาคมฯล่าสุดและจำนวน 2 คน เข้ามาเป็นกรรมการสมาคมฯโดยอัติโนมัติ ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่องตลอด เพราะว่า วาระของคณะกรรมการฯสมาคมจะมีเพียงสมัยละ 2 ปีเท่านั้น เมื่อหมดแล้วก็จะเปลี่ยนไป อาจจะทำให้การทำงานสะดุดลงบ้าง แต่เมื่อมีการเตรียมการแบบนี้แล้วจะรู้ล่วงหน้าและให้ผู้ที่จะเป็นนายกฯคนต่อไปมาทำงานร่วมกับนายกฯคนปัจจุบันทำให้การทำงานมีความต่อเนื่องมากขึ้น
สำหรับในส่วนของการทำงานนั้นเป้าหมายหลักจะต้องพยายามทำให้อุตสาหกรรมนี้มีความมั่นคงและได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้นรวมทั้งจะต้องทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามตัวบทกฎหมายมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงจะมีการติดตามเรื่องต่างๆทั้งปัญหา หรือข้อเสนอแนะต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดผลทางปฎิบัติโดยเร็วที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องข้อบัญญัติกฎหมายต่างๆ ที่จะต้องเร่งทำความเข้าใจและชี้แจงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตัวบทกฎหมายมาให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและสร้างมาตรฐานธุรกิจนี้ให้สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเจรจาและประชุมกับภาครัฐหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการประกาศใช้ออกมา เช่น ข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร หรือของกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น
มาตรการหลักๆที่พิจารณาไปแล้วนั้นคือ เรื่องของความมั่นคงแข็งแรงที่จะให้โครงป้ายโฆษณาสามารถรับน้ำหนักแรงลมได้ถึง 180 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การเสนอให้กำหนดโซนนิ่งและให้มีป้ายมาตรฐานขนาดเดียวกันเช่น ความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 เมตร และมีความยาวของป้ายไม่เกิน 32 เมตร ซึ่งการกำหนดโซนนิ่งจะต้องเป็นจุดๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ เช่น โซนที่หนึ่ง ความยาวของป้ายไม่เกิน 20 เมตร โซนที่สอง ไม่เกิน 25 เมตร โซนที่สาม ไม่ให้เกิน 30 เมตร และโซน 0 คือโซนที่ห้ามก่อสร้างโครงป้ายโฆษณาเด็ดขาด เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน หรือพื้นที่โบราณสถาน เป็นต้น
รวมถึงการกำหนดให้มีการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบป้ายโฆษณาทุกปี โดยวิศวกรที่ต้องมาขึ้นทะเบียนกับทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่จะเป็นหน่วยงานกลางในการดูแลเรื่องข้อบัญญัติการก่อสร้างทั่วประเทศ
นอกจากนั้นยังจะต้องกำหนดให้ผู้ที่จะอนุญาตก่อสร้างโครงป้ายโฆษณานั้นต้องเป็นนิติบุคคล ห้ามเป็นบุคคลธรรมดา และต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างต่ำ 5 ล้านบาทและต้องชำระเต็มด้วย
สำหรับอัตราภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายก็จะเสนอให้มีการแก้ไขใหม่ด้วย จากเดิมที่กำหนดเก็บรายปี 3 พิกัดคือ 1.ป้ายที่มีภาษาไทยอย่างเดียว อัตรา 200 บาทต่อตารางเมตรต่อปี 2. ภาษาไทยและภาษาต่างด้าว แต่ภาษาไทยอยู่ด้านบน อัตรา 400 บาทต่อตารางเมตรต่อปี 3.ภาษาไทยและภาษาต่างด้าว แต่ภาษาต่างด้าวอยู่สูงกว่าภาษาไทย อัตรา 800 บาทต่อตารางเมตรต่อปี ซึ่งสมาคมฯจะเสนอให้เก็บภาษีตามระยะเวลาการใช้งานจริงของลูกค้าที่ลงโฆษณา และรวมทั้งป้ายที่ก่อสร้างเสร็จแล้วแม้จะยังไม่มีลูกค้าลงโฆษณาก็ตามต้องชำระภาษีภายใน 15 วันหลังจากที่ก่อสร้างป้ายเสร็จด้วยเหมือนกัน เพื่อเป็นหนทางหนึ่งในการจำกัดไม่ให้ป้ายโฆษณาขึ้นมากเกินความจำเป็น
ปัจจุบันนี้จากตัวเลขของกรุงเทพมหานครพบว่า มีป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ประมาณ 1,300 ป้าย โดยในส่วนของสมาชิกสมาคมฯมีป้ายรวมกันกว่า 70-80% จากจำนวนดังกล่าว และสมาคมฯออกป้ายรับรองมาตรฐานประมาณ 600 ป้าย อย่างไรก็ตามจำนวนป้ายทั้งหมดนี้พบว่ามีประมาณ 615 ป้ายที่ผิดแบบก่อสร้างจากที่ได้รับอนุญาตซึ่งจะต้องหาทางเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด
นอกจากการขึ้นป้ายโลโกของสมาคมฯเพื่อเป็นการรับรองมาตรฐานนั้น ทางสมาคมฯยังเตรียมที่จะทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วยการต้องให้ทุกป้ายมีการทำกรมธรรม์ประกันภัยด้วย เพื่อให้ติดโลโก้ของสมาคมประกันวินาศภัยควบคู่กับโลโก้ของสมาคมฯ
|
|
|
|
|