|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ศูนย์วิจัยกสิกรฯคาดเฟดยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 5.00% เหตุตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมี.ค.-เม.ย.ออกมาดี และยังมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ แต่คาดว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดในรอบนี้ใกล้จะสิ้นสุด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยน่าจะขยับสูงสุดที่ 4.75-5.00% ภายในครึ่งปีแรก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดในวันที่ 10 พ.ค.นี้ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 5.00% เป็นรอบที่ 16 ติดต่อกัน นับจากที่เฟดได้เริ่มต้นวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน จากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ โดยรวมที่ยังคงให้ภาพในเชิงบวกมากขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2549 ต่อเนื่องมาถึงในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของปี ประกอบกับความเสี่ยงจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นซึ่งยังคงมีอยู่ และอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหากผู้ผลิตมีการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้นมายังผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินทั่วโลกก็ได้มีการปรับตัวตอบรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมรอบนี้ไปแล้วอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ตลาดยังได้คาดการณ์ด้วยความเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง หรือประมาณ 45% ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่ออีกร้อยละ 0.25 มาที่ร้อยละ 5.25 ของเฟดในการประชุมรอบถัดไปวันที่ 28-29 มิถุนายนนี้ด้วย ซึ่งจนกว่าจะถึงเวลานั้น ตลาดการเงินคงจะมีการจับตาอย่างกว้างขวางต่อการปรับตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยเฉพาะข้อมูลการจ้างงานในเดือนพฤษภาคม (ประกาศวันที่ 2 มิถุนายน) และอัตราเงินเฟ้อทางด้านผู้บริโภคในเดือนเมษายนและพฤษภาคม (ประกาศวันที่ 17 พฤษภาคม แล 14 มิถุนายน) ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาการใช้จ่ายผู้บริโภคส่วนบุคคลในเดือนเมษายน (ประกาศวันที่ 26 พฤษภาคม) อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงคาดว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ของสหรัฐฯ คงจะขยับขึ้นสู่ระดับสูงสุด (peak) ที่ร้อยละ 5.00-5.25 ภายในครึ่งแรกของปี 2549 นี้
สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ คงจะมีผลกระทบไม่มากนักต่อทิศทางตลาดเงินตลาดทุน เพราะเป็นไปตามที่ตลาดได้คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางล่วงหน้าแล้ว กระนั้นก็ดี สิ่งที่จะมีบทบาทสำคัญสำหรับการประชุมในรอบนี้ คงจะได้แก่ การเปิดเผยแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งจะบ่งชี้ถึงมุมมองของเฟดที่มีต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และน่าจะมีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดเงินตลาดทุนในระยะต่อไป โดยหากเฟดยังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือมีการส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ เงินดอลลาร์ฯ ก็น่าที่จะได้รับแรงหนุนในระยะสั้นๆ
อย่างไรก็ตาม วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดในรอบนี้ที่ใกล้จะสิ้นสุดลงในไม่ช้า ก็คาดว่าจะทำให้เงินดอลลาร์ฯ ขาดปัจจัยหนุนในระยะปานกลางและระยะยาว โดยตลาดการเงินทั่วโลกคงจะกลับมาเทน้ำหนักให้กับประเด็นแนวโน้ม การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งก็คาดว่าจะสนับสนุนให้ค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ (นอกเหนือจากเงินดอลลาร์ฯ) มีแนวโน้มที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเงินบาทก็คงจะได้รับอิทธิพลดังกล่าวและคงจะมีทิศทางที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจจะไม่เป็นผลดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและภาคการส่งออกของไทยก็ตาม
ด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมรอบนี้ คงจะไม่มีผลกระทบมากนักต่อการตัดสินใจทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยธปท.คงจะยังเทน้ำหนักไปที่เป้าหมายการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อ ตลอดจนความมุ่งหวังที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงกลับมาอยู่ในแดนบวกเป็นหลักมากกว่า อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก็คงจะขยับขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ร้อยละ 4.75-5.00 ภายในครึ่งแรกของปีนี้เช่นเดียวกัน
|
|
 |
|
|