|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
โบรกเกอร์ ปรับลดกำไรบจ.ติดลบ 8% จากเดิมในช่วงต้นปีที่เคยประเมินว่าจะโตในช่วง 0-5% เหตุถูกราคาน้ำมันพุ่ง ปัญหาการเมือง และภาวะเงินเฟ้อ ฝ่ายวิจัยบล.นครหลวงไทยประเมินถ้าดัชนีทะลุผ่าน 780 จุดมีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนสูง พร้อมแนะให้เลือกซื้อหุ้นที่มีสิทธิที่ดี เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์,โรงแรมและโรงพยาบาล พร้อมชี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคและการลงทุนที่มีถึง 57% จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน
นายสาธิต วรรณศิลปิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัดเปิดเผยว่า เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าฝ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ได้มีการปรับลดประมาณการผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนลดลง ซึ่งพบว่ามีบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งประเมินว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ติดลบ 8% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุด และสูงสุด 5% ซึ่งมองว่ามีโอกาสที่จะติดลบในระดับ 8% ก็มีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าเทียบกับช่วงต้นปี 2549 นั้นบริษัทหลักทรัพย์จะมองว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้นในระดับ 0-5%
โดยสาเหตุที่ที่บริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่มีการปรับประมาณการลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นและภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัจจัยทางการเมือง โดยจากบทวิจัยของบล.นครหลวงไทยนั้นได้มองว่ารายได้จากอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบริโภคและการลงทุน ซึ่งรวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากสุดจำนวน 57% อุตสาหกรรมพลังงาน 26% อุตสาหกรรมบริการ 13% และอุตสาหกรรมส่งออก 4% โดยมองว่าอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบริโภคและการลงทุนจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอาจจะเป็นกลุ่มที่ถูกปรับลดได้ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมพลังงานจะได้รับประโยชน์จากปัจจัยดังกล่าว
ส่วนเงินลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในไตรมาสแรกพบว่าได้ไหลเข้าลงทุนในตลาดเกิดใหม่รวมแล้ว 21 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2548 ที่มีจำนวน 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ทำให้มีการย้ายการลงทุนออกจากตลาดพันธบัตรมาสู่ตลาดทุนในตลาดเกิดใหม่รวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งที่ไม่ได้สอดคล้องกับผลประกอบการที่มีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ เครื่องมือในการชี้วัดว่าเม็ดเงินของต่างชาติจะหยุดไหลเข้าลงทุนก็ต่อเมื่อผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐ จะแตะที่ระดับ 6% เพราะเป็นระดับที่ความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับผลตอบแทนมากเพียงพอที่จะดึงเงินลงทุนกลับ และอีกปัจจัยคือสภาพเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น เพราะมองว่าเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ดังนั้นมีโอกาสที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้
นายสาธิต กล่าวว่า ปัจจุบันนี้เศรษฐกิจในประเทศถูกกดดันจากหลายปัจจัยทั้งราคาน้ำมัน การเมือง และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้สนับสนุนกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาราคาหุ้นและสินทรัพย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากสภาพคล่องที่ไหลเข้าลงทุน อย่างไรก็ตาม หากดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมาผ่านระดับ 780 จุดเมื่อไหร่
ซึ่งจะมีค่าพี/อี เรโชประมาณ 10% ถือว่าสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งไม่สะท้อนปัจจัยที่แท้จริง และอาจจะทำให้การเคลื่อนไหวของดัชนีมีความผันผวนอย่างมาก
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันได้แนะนำให้นักลงทุนควรหันมาลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่เพื่อรองรับเม็ดเงินจากต่างประเทศ แต่ควรเลือกพิจารณาจากมูลค่าสินทรัพย์ (Asset Play) เนื่องจากประเมินการเติบโตผลประกอบการได้ยาก และมีความผันผวนสูง รวมถึงเลือกหุ้นที่ยังต่ำกว่ามูลค่า (Undervalue) นั่นก็คือหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (P/BV) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น(ROE)ในระดับสูง และปันผลดี อย่างเช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และธนาคารพาณิชย์
สำหรับแนวโน้มตลาดในไตรมาส 2 นี้ ได้รับอิทธิพลจากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง รวมถึงปัจจัยอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่มองว่าไม่น่าจะปรับสูงเกิน 5% โดยปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยบวก ส่วนปัจจัยลบที่มีผลต่อตลาดคือ ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เงินลงทุนของประเทศไหลเข้ามาในตลาดหุ้นของไทยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากค่าพี/อี เรโชของตลาดหุ้นไทยที่ยังต่ำ ซึ่งยังไม่เกิน 10 เท่า ในขณะที่ค่าพี/อี เรโชของตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 17 เท่า และถ้าเป็นค่าพี/อี เรโช ของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซียจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14 เท่า และนักลงทุนต่างชาติได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 8% โดยประเมินว่าดัชนีคงจะมีอยู่ในระดับ 780-800 จุดได้ และก็มีโอกาสที่จะมาเหนือระดับ 800 จุดได้เช่นกัน แต่อาจจะไม่สามารถยืนในระดับดังกล่าวได้นาน และถ้าขึ้นมาในระดับดังกล่าวดัชนีคงจะมีความผันผวน
นอกจากนี้ ได้แนะนำนักลงทุนหันมาลงทุนในหุ้นกลุ่มหลักเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อรองรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนและญี่ปุ่น ซึ่งมีนัยสำคัญ รวมถึงผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐสหรัฐ 10 เพิ่มขึ้นเกิน 5% ทำให้มีเงินต่างชาติยังไหลเข้ามาต่อเนื่องและหากผลตอบแทนอยู่ที่ 6% จึงน่าจะชะลอการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน และกลุ่มที่น่าลงทุนได้แก่กลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ฯ กลุ่มโรงพยาบาลและโรงแรม รวมถึงกลุ่มธนาคารพาณิชย์
|
|
 |
|
|