|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จับตาจัดสรรที่ลักไก่ใช้มาตรตราทวิ 39 กว่า 1,000 โครงการส่อเค้าวุ่น หลังผังเมืองกทม.ฉบับใหม่บังคับใช้ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ กทม.ชี้หากยังไม่ลงมือก่อสร้างต้องเข้ากฎหมายฯฉบับใหม่ทันที พร้อมปลอบจะพิจารณาเป็นรายโครงการเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการและประชาชน ด้านเอกชนร้อง 5 ปัญหาใหญ่ FAR-OSR-โบนัสรอบรัศมีรถไฟฟ้า 500 เมตร-ชอปปิ้งเซ็นเตอร์และมาตรา 39 ทวิที่กทม.ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา "แนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุง ครั้งที่ 2) ว่า ขณะนี้กทม.ได้จัดทำร่างผังเมืองรวมกทม. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้ว และอยู่ในระหว่างรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ โดยคาดว่าในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้จะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ และเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 สิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2554
การจัดทำผังเมืองกทม.ฉบับดังกล่าวเดิมกำหนดในปี 2547 แต่เนื่องจากขั้นตอนการจัดทำล่าช้าทำให้เลื่อนมาประกาศใช้ในปีนี้แทน โดยการจัดทำผังเมืองดังกล่าวเพื่อมีกระบวนการที่ชัดเจนและเป็นระบบ หลักการสำคัญคือ ยึดประโยชน์สาธารณะ ซึ่งได้กำหนดลงบนแผนผังพร้อมมาตรการทางผังเมืองเพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของเมืองไปในทิศทางที่เหมาะสม ทำให้กทม.เป็นเมืองที่น่าอยู่ควบคุมไปกับความเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน โดยยังคงเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
"ที่ผ่านมามักมีการพูดกันว่า กทม.พัฒนาอย่างไร้ทิศทาง โดยเฉพาะที่กฎหมายผังเมืองฉบับปรับปรุง 1 ได้หมดอายุลงไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 และแม้ว่าจะมีกฎหมายผังเมืองบังคับใช้ในพื้นที่ กทม.แต่ดูเหมือนว่าทุกฝ่ายจะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของสำนักผังเมืองเท่านั้น ทั้งที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน จากนี้ไป เขตและหน่วยงานของ กทม.ทุกแห่ง จะต้องไม่มองว่าเรื่องผังเมืองเป็นหน้าที่ของสำนักผังเมือง แต่เป็นเรื่องของทุก ๆ คนที่ข้าราชการเป็นตัวกลางที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ" นายอภิรักษ์กล่าว
สำหรับผังเมืองฉบับใหม่มีข้อกำหนดให้พื้นที่เมืองเป็นพื้นที่หลวม ๆ ไม่แออัด และมีสีเขียว ส่วนผลกระทบการประกาศใช้ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น อาจจะมีผลกระทบทำให้ต้องปลูกสร้างไกลออกไป และอาจมีต้นทุนที่สูงขึ้นเพราะต้องมีแนวร่นที่ต้องปล่อยไว้เป็นที่ว่าง
นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัด กทม. กล่าวว่า ร่างผังเมืองใหม่ฉบับนี้มีสาระสำคัญ เช่น กำหนดให้พื้นที่ระหว่างวงแหวนรัชดาภิเษก-วงแหวนกาญจนาภิเษก เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย หนาแน่นปานกลาง, กำหนดให้เขตบางบอน บางขุนเทียนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่, วางมาตรการควบคุมความหนาแน่นในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น กำหนดที่ว่างโดยรอบจำกัดความสูง
นอกจากนี้ ยังมีแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลกับผู้ประกอบการที่จัดให้มีที่จอดรถ หรือกำหนดพื้นที่ว่างมากขึ้น ก็จะได้รับการพิจารณาให้ก่อสร้างจำนวนชั้นของอาคารสูงมากขึ้น เท่ากับจะทำให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ที่ดินเพิ่มขึ้น และผังเมืองฉบับนี้ยังได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเผื่อไว้ในปี 2561 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ที่คาดการว่าประชากรใน กทม.จะมี 12.5 ล้านคน เนื่องจากได้กำหนดความหนาแน่นของอาคารตามพื้นที่ รักษาพื้นที่โล่ง เพิ่มพื้นที่สีเขียว
ด้านรศ.มานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเคหะการ และในฐานนักนักผังเมืองภาคประชาชน กล่าวว่า การประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่ดังกล่าวยังมีข้อโต้แย้งจากภาคเอกชนใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่
1.อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR ซึ่งบางจุดได้กำหนดให้น้อยลงเพื่อคุณภาพชีวิตและความกว้างของถนน
2.อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม หรือ OSR โดยบางพื้นที่ถูกบังคับให้มีพื้นที่เปิดโลงสูงถึง 30-40% รวมไปถึงระยะถอยร่นหากเป็นอาคารพาณิชย์ต้องถอยล่น 30 เมตร ที่อยู่อาศัย 20 เมตร จากเดิมเพียง 10 เมตรเท่านั้น
3.การให้โบนัส ในพื้นที่พัฒนารัศมี 500 เมตรจากเส้นทางรถไฟฟ้า ว่าควรจะให้เท่าใด เพราะไม่เคยมีใช้ในเมืองไทยมาก่อน
4.เขตชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ที่ทางสมาคมผู้ค้าปลีกเรียงร้องถึงเขตการอนุญาตก่อสร้างหรือพัฒนา
5. ผู้ประกอบการที่ขออนุญาตก่อสร้างโดยใช้มาตรา 39 ทวิ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งจะใช้วิธีก่อสร้างไปก่อนที่จะขออนุญาตจัดสรร ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,000 โครงการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะประสบความยุ่งยากหรือมีปัญหามากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกหลังการประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่ เพราะกลุ่มนี้จะต้องใช้กฎหมายผังเมือง กทม.ฉบับใหม่
ด้านนางสาวเดือนเต็ม อมรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวชี้แจงว่า จัดสรรที่ใช้มาตรา 39 ทวิจะต้องใช้กฎหมายผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ แต่มีข้อยกเว้น คือ ในกรณีที่ลงมือก่อสร้างไปแล้ว กรณีได้รับอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานอื่นแล้ว อาทิ โรงงาน โรงพยาบาล ฯลฯ ก็ให้ดำเนินการก่อสร้างได้เลย ส่วนโครงการที่ขอใช้มาตรา 39 ทวิ แล้วยังไม่ลงมือก่อสร้างจะต้องเข้าข่ายกฎหมายฉบับใหม่ อย่างไรก็ตามทางสำนักผังเมืองจะพิจารณาไปรายโครงการไป เพื่อไม่เกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค
|
|
|
|
|