Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
ธาดา เธียรประสิทธิ์ ฝันบรรเจิดที่กลับมาอีกครั้งของวิศวกร             
 


   
search resources

ธาดาวิศว
ธาดา เธียรประสิทธิ์
Home and Office Appliances




แม้ว่าบริษัท ธาดาวิศว จำกัด จะถูกก่อตั้งมานาน 25 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนในวงกว้างมากนัก ทั้ง ๆ ที่ในอดีตเครื่องปรับอากาศ "แอดมิรัล" (Admiral) ซึ่งบริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายจะได้รับความนิยมอย่างมาก จนเมื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งมากมายหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะแอร์ญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นพัฒนาสินค้าให้มีหน้าตาสวยงาม พร้อมกับลดต้นทุนการผลิตเพื่อทำราคาสินค้าให้ต่ำที่สุด ในขณะที่มีแอร์บางเจ้าที่ทำการหลบเลี่ยงภาษี แอร์ "แอดมิรัล" จึงแทบหายไปจากตลาด เช่นเดียวกับชื่อของ "ธาดาวิศว"

หลังจากแฝงตัวเงียบ ๆ อยู่ในตลาดมานาน "ธาดา เธียรประสิทธิ์" ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งก็เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่บริษัทของเขาควรจะประกาศตัวให้เป็นที่รู้จักของสาธารณชนมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่ความน่าเชื่อถือของบริษัทมีความสำคัญต่อการค้าขายอย่างมาก ๆ เช่นทุกวันนี้

ดังนั้น ในโอกาสของการแนะนำเครื่องใช้ไฟฟ้า "ฟิชเชอร์ แอนด์ ปาร์เกล" (Fisher & Paykel) เข้าสู่ตลาดอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา การเปิดตัวสู่สาธารณชนครั้งแรกของธาดาวิศวจึงเกิดขึ้น

โดยธาดาเริ่มต้นการแถลงข่าวด้วยการเล่าถึงที่มาของบริษัทว่า หลังจากที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากสหรัฐอเมริกา เขาได้มีโอกาสมาดูงานที่โรงงานประกอบเครื่องปรับอากาศเป็นเวลา 1 ปี แล้วจึงกลับมาเป็นผู้จัดการแผนกวิศวกรรมที่บริษัท กมลสุโกศล จำกัด

"หลังจากที่ทำงานไป 9 ปี ผมก็มาคิดว่าเมื่อมีประสบกาณณ์มากมายเช่นนี้ ประกอบกับมีความพร้อมด้านการเงิน ก็น่าจะเปิดบริษัทเอง เพื่อที่จะได้คิดและทำอะไรได้ตามต้องการ" ธาดาย้อมอดีตให้ฟัง

เมื่อคิดเช่นนั้น ธาดาจึงลาออกมาตั้งบริษัท แมคแคนนิคัลซิสเตมส์ จำกัด ซึ่งเป็นชื่อเดีวกับบริษัทของเพื่อนคนหนึ่งที่มีแผนจะเข้าไปทำธุรกิจในเวียดนาม เพื่อความสะดวกในการร่วมค้าขายกัน แต่ธุรกิจที่เวียดนามต้องล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น เพราะเกิดสงครามขึ้นเสียก่อน ทำให้ทั้งบริษัทและผู้จัดการที่นั่นสาบสูญไปโดยไม่พบร่องรอยมาจนทุกวันนี้

แม้ว่าจะล้มเหลวในเวียดนาม แต่ธุรกิจของธาดาวิศวในประเทศไทยประสบความสำเร็จมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการรับจ้างติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งขณะนั้นยังมีผู้ให้บริการด้านนี้น้อยมาก แต่ในส่วนของการหาสินค้ามาจำหน่ายยังไม่ได้เริ่มขึ้น จนกระทั่งมีคนได้ลิขสิทธิ์การผลิตเครื่องปรับอากาศแอดมิรัลจากสหรัฐอเมริกาธาดาจึงเข้าไปลงทุนด้วย เพื่อที่บริษัทจะได้มีสินค้าขาย

เครื่องปรับอากาศแอดมิรัลประสบความสำเร็จในการทำตลาดมาตลอด จนเมื่อรัฐบาลไทยเห็นว่าเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงมีการเรียกเก็บภาษีต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ต้องเสียภาษีสรรพสามิต

"เนื่องจากเราเสียภาษีแบบตรงไปตรงมา จึงทำราคาสู้บริษัทที่หลีกเลี่ยงภาษีไม่ได้ ทำให้ยอดขายของเราคงที่มาโดยตลอด ก็ได้แต่หวังว่า รัฐบาลจะตรวจสอบพวกนี้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของกรมสรรพสามิต กำหนดให้เครื่องปรับอากาศทุกเครื่องติดสติ๊กเกอร์แสดงการเสียภาษีไว้ อีกอย่างผมเป็นวิศวกร ไม่ได้เรียนมาทางค้าขาย เวลาผลิตสินค้าก็จะคำนึงถึงคุณภาพมากกว่าจะคิดถึงเรื่องการลดคุณภาพของชิ้นส่วน เพื่อให้ได้สินค้าราคาที่ถูกลง" ธาดากล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ธาดาวิศวเสียเปรียบคู่แข่งหลาย ๆ ราย เพราะมุ่งเน้นแต่สินค้าคุณภาพสูง ๆ มาจำหน่าย ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีราคาแพง

นอกจากปัญหาดังกล่าว การเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศอย่างเดียวก็ทำให้ธาดาวิศวมีปัญหา เพราะเป็นสินค้าที่ขายได้เฉพาะฤดูร้อน ดังนั้น บริษัทจึงต้องปรับตัวด้วยการหาสินค้าอื่นเข้ามาตลาดเสริม เริ่มจากการนำเครื่องซักผ้าแอดมิรัลเข้ามาขาย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะรูปร่างหน้าตาไม่ดึงดูดใจลูกค้า

แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จกับการทำตลาดเครื่องซักผ้าแอดมิรัล แต่ธาดาวิศวก็มุ่งทำตลาดสินค้าประเภทนี้ต่อไป โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นเจ้าตลาดเครื่องซักผ้าให้ได้ภายใน 3 ปีด้วยการมีสินค้าที่จำหน่ายถึงทุกกลุ่มเป้าหมายทีเดียว

เริ่มจากตลาดผู้ใช้ตามบ้าน บริษัทมีสินค้าถึง 3 ยี่ห้อให้เลือก คือ "ฟิชเชอร์ แอนด์ ปาร์เกล" จากนิวซีแลนด์ "ติก้า" จากสเปน และ "อิเบอร์น่า" ส่วน "สปีดควีน" จากสหรัฐอเมริกาจะเจาะตลาดโรงพยาบาล ขณะที่ "แอดมิรัล" จะเจาะธุรกิจซักรีด

โดยบริษัทคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดเครื่องซักผ้า ซึ่งปัจจุบัน มียอดขายรวมปีละ 1.5 แสนเครื่อง ภายใน 3 ปีข้างหน้าด้วยกลยุทธ์การเป็น Professional Supplier คือ ให้บริการเรื่องซ่อมบำรุงและอะไหล่แก่ลูกค้าทุกรายไม่จำกัดเฉพาะสินค้าที่บริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น

สำหรับเป้าหมายด้านการขายในปีนี้ ธาดา คาดว่า เฉพาะธาดาวิศวจะมียอดขายจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ 100 ล้านบาท

ปัจจุบัน นอกจากบริษัทธาดาวิศวแล้ว ธาดากรุ๊ปยังมีบริษัทในเครืออยู่อีก 3 บริษัท ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่ดำเนินธุรกิจอย่างเงียบ ๆ ทั้งสิ้น คือ บริษัท ธาดารีเซิร์ส จำกัด ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยในช่วง 3 ปีแรกเป็นผู้แทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัท สหวิริยาเป็นหลัก แต่ต่อมาได้หันมาทำธุรกิจการออกแบบ ติดตั้ง และจำหน่ายระบบเสียงครบวงจรทั้งระบบประกาศ ระบบห้องประชุม ระบบโรงภาพยนตร์ในบ้าน ระบบคาราโอเกะ ระบบเสียงในเวที เป็นต้น ซึ่งปีหนึ่งมีรายได้ประมาณ 50 ล้านบาท

อีก 2 บริษัทที่เหลือ คือ บริษัท ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ จำกัด ดำเนินการด้านการจัดซื้อจัดหาจำหน่ายอะไหล่เครื่องปรับอากาศ และบริษัท ธาดา ไฮเทค เซอร์วิส จำกัด ดำเนินกิจการด้านบริการติดตั้ง ซ่อมสินค้าให้กับลูกค้าเครือธาดากรุ๊ปทั้งหมด ซึ่งมีรายได้บริษัทละ 5 ล้านบาทต่อปี

โดยมานน เธียรประสิทธิ์ บุตรชายคนโตของธาดา ซึ่งเข้ามาช่วยคุณพ่อทำงานเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่ม กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของธาดากรุ๊ปในอนาคตว่า เนื่องจากบริษัทตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น 2 อย่าง คือ การที่โลกหันมาสนใจเทคโนโลยีเพื่อสภาพแวดล้อม และการเกิดขึ้นของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้บริษัทกำหนดบทบาทของบริษัทไว้ดังนี้

หนึ่ง - การเป็นตัวเชื่อมระหว่างสังคมไทยกับเทคโนโลยีที่ดีทั่วโลก ซึ่งหมายถึงการคัดเลือกสินค้าที่มีเทคโนโลยีดี ๆ มาให้คนไทยได้เลือกใช้ และในทางกลับกัน คือ การส่งเสริมเทคโนโลยีของคนไทยต่อสังคมโลก

สอง - เน้นการให้บริการแก่ผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุก ๆ ยี่ห้อในฐานะที่เป็น Technical Center ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักและไว้เนื้อเชื่อใจของลูกค้ามากขึ้น และสุดท้าย คือ การเน้นฝึกอบรมพนักงานของบริษัทให้ก้าวขึ้นมาเป็นมืออาชีพ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต

ฟังดูก็รู้ว่า ยังยึดแนวคุณพ่อเหนียวแน่นทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us