Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
เจฟฟรีย์ โรว์ กับความพยายามครั้งสำคัญของวอลโว่             
 


   
search resources

สวีเดนมอเตอร์ส, บมจ.
สาธรยูนิค
เจฟฟรีย์ โรว์
Auto Dealers




ขณะที่ตลาดซบเซา เช่นตลาดรถยนต์เมืองไทยในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักตัดสินใจที่จะเฝ้าดูเพื่อรอโอกาสครั้งใหม่ ซึ่งก็นับว่าเป็นวิธีที่ไม่เลวร้ายอะไร แต่การเฝ้าดูเพื่อรอโอกาสครั้งใหม่ ซึ่งก็นับว่าเป็นวิธีที่ไม่เลวร้ายอะไร แต่การเฝ้าดูนั้นต้องมีแนวทางที่หวังกับอนาคตได้บ้าง

ในทางกลับกัน ขณะที่ตลาดซบเซา แต่ผู้ประกอบการกลับบุกอย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็เท่ากับเดินสู่เส้นทาง ไม่นรกก็สวรรค์ วัดกันไป ซึ่งแนวคิดนี้เสี่ยงอยู่มาก แต่ก็สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับรายเล็ก ๆ มาไม่น้อย

สถานการณ์เช่นนี้อยากจะกล่าวว่า "สวีเดนมอเตอร์ส" เลือกหนทางปฏิบัติได้อย่างรัดกุมเหมาะสมที่สุด ไม่เงียบเป็นป่าช้า แต่ก็ไม่บุกอย่างบ้าระห่ำ

บริษัท สวีเดนมอเตอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ในตลาดเมืองไทย ได้ปรับโครงสร้างการบริหารในองค์กรครั้งใหญ่ เมื่อ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยการจัดสายงานแบ่งแยกอย่างชัดเจนออกเป็น 6 สายและ 1 ฝ่าย กล่าวคือ สายงานปฏิบัติการสาขา, สายงานปฏิบัติการตัวแทนจำหน่าย, สายงานการขาย, สายงานการตลาด, สายงานบริการหลังการขาย, สายงานการเงินและธุรการ และฝ่ายสารสนเทศ

เป้าหมายหลักของการปรับครั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 6 ประการ คือ การลดต้นทุน, เสริมสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้เกิดกับลูกค้า, พัฒนาสาขา และตัวแทนจำหน่าย, พัฒนาองค์กร, เสริมสร้างภาพพจน์ และสุดท้ายก็เพื่อการเพิ่มยอดจำหน่าย

"ใช่ เป็นการเปิดนโยบายเชิงรุกของเราในขณะที่ตลาดซบเซาอยู่ในช่วงเวลานี้ และหวังว่าอนาคตอันใกล้เราจะก้าวไวปข้างหน้าได้ดีกว่าคู่แข่ง" คำกล่าวของ เจฟฟรีย์ โรว์ ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดและการขาย และจากโครงสร้างใหม่นี้ เขาจะรับตำแหน่งรองประธานบริหาร ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตัดสินใจแทนได้เทียบเท่าประธานฝ่ายบริหาร

เดิมนั้น ในระดับสูงสุดของการบริหารงาน สวีเดน มอเตอร์ส จะต้องรอการตัดสินใจของ ไซม่อน อี. โบไนเธิน ประธานกรรมการบริหาร หรือบางครั้งจะต้องรอการประชุมคณะกรรมการบริหารเลยทีเดียว ซึ่งหลายครั้งจะช้าเกินไป และอีกประการหนึ่งประธานกรรมการบริหารมีภารกิจมากต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งโครงสร้างใหม่จึงให้ไซม่อน ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายบริหาร (C.E.O.& President) แล้วดัน เจฟฟรีย์ โรว์ ขึ้นมาเป็นรองประธานเพื่อที่จะตัดสินใจแทนในเรื่องต่าง ๆ

นอกจากนี้ ในระดับปฏิบัติการแล้ว ผู้รับผิดชอบทั้ง 6 สาย และ 1 ฝ่าย จะมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจด้วยตนเอง มากขึ้น ซึ่งจากโครงสร้างใหม่นี้ แสดงว่าสวีเดนมอเตอร์ส ได้ตัดสินใจแล้วที่จะกระจายอำนาจการบริหารงาน หลังจากที่บริหารงานในลักษณะครอบครัวและรวบอำนาจมาตลอด

"เดิมการตัดสินใจจะรวมศูนย์อยู่ที่คนเพียงคนเดียวหรือบางครั้งอาจถึงขั้นต้องผ่านบอร์ด แต่ต่อไปจะตัดสินใจกันเร็วขึ้น ขั้นตอนสั้นลง" ผู้บริหารกล่าว

ดูการขับเคลื่อนครั้งนี้แล้ว คงอีกไม่นานที่องค์การแห่งนี้จะกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ในตลาดรถยนต์หรูหราของเมืองไทยได้สำเร็จ หลังจากปล่อยให้คู่แข่งสำคัญอย่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ เริงร่าอยู่เกือบ 5 ปีแล้ว

กัมพล กันจิตวัฒนา ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการสาขา กล่าวว่า ที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์หรูหรานั้น เมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับบลิว และวอลโว่ จะถูกนึกถึงมากกว่ายี่ห้ออื่น และหลังจากเปิดเสรีเรื่อยมาจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในหลายลักษณะด้วยกัน

ด้านยอดขายและภาพพจน์นั้นชัดเจนว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยังมาเป็นอันดับหนึ่ง และพุ่งทยานในหลายปีนี้ หรืออย่างบีเอ็มดับบลิวนั้น แม้ภาพพจน์และยอดจำหน่ายจะยังไม่เท่าเมอร์เซเดส-เบนซ์ และระยะหลังยอดจำหน่ายบีเอ็มดับบลิว โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีนี้ ค่อนข้างเงียบ แต่ก็ยังนับว่าพอจะไปได้ในตลาด จึงเป็นเรื่องที่สวีเดนมอเตอร์สต้องหาหนทางฟื้นตลาดวอลโว่ให้กลับมาอยู่เหนือ 12 คู่แข่งสำคัญนั้นให้ได้

"เรายังมั่นใจว่า การก้าวเดินของเราแม้จะช้า แต่ก็ถูกต้องและมั่นคงพอที่จะทำให้เรากลับมานำในตลาดได้ แม้จะใช้เวลาบ้างก็ตาม" ผู้บริหาร กล่าว

มองจากยอดจำหน่ายนับจากปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่เปิดเสรีรถยนต์เมืองไทยเรื่อยมา พอจะมองเห็นได้ว่า เส้นทางเดินของ 3 ยี่ห้อนี้เป็นอย่างไร เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยังคงรักษาระดับของตนเองไว้ได้ สำหรับบีเอ็มดับบลิวนั้นน่าเป็นห่วงไม่น้อยเพรายอดจำหน่ายวูงลงค่อนข้างมาก ส่วนวอลโว่นั้นพื้นฐานตลาดดูจะมั่นคงกว่าคู่แข่ง ซึ่งผู้บริหารของสวีเดนมอเตอร์ส ก็มั่นใจเช่นนั้น

สวีเดนมอเตอร์ส เลือกเส้นทางเดินของตนเอง ด้วยความพยายามที่จะวางรากฐานตลาดให้แข็งแกร่ง เห็นได้ชัดจากนโยบายอนุรักษ์นิยมในช่วงที่เปิดเสรีใหม่ ๆ เพราะทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับบลิวใช้ยุทธวิธีนำเข้ามาเปิดตลาด ซึ่งแน่นอนว่าทำได้เร็ว แต่ตลาดก็ขึ้นลงวูบวาบเหมือนกัน ส่วนสวีเดนมอเตอร์ส ได้ยืนยันการประอบในประเทศเป็นหลัก

"การรักษาตลาดที่แท้จริงให้ได้ แม้จะต้องยอมมียอดขายเพียงไม่กี่พันคันในแต่ละปี เราก็ต้องทำ ซึ่งขณะนี้แนวโน้มมันพิสูจน์แล้วว่า เส้นทางเดินของตลาด 4-5 ปีที่ผ่านมานั้นถูกต้อง เราสามารถวางแผนเพื่อขยายงานเป็นขั้นเป็นตอนได้ แม้ตลาดโดยรวมจะซบเซาแต่เราก็ยังขายสินค้าได้" ผู้บริหารกล่าว

เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวถึงทิทางของสวีเดนมอเตอร์สในการทำตลาดรถยนต์วอลโว่ในไทยว่า เรามุ่งหวังว่าอย่างน้อยภายในปี ค.ศ.2000 รถยนต์นั่งวอลโว่ จะกลับมาเป็นอันดับหนึ่ง ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า แต่ด้านยอดขายเรากำลังพยายามอยู่ และจะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งของตลดารถยนต์หรูหราของเมืองไทยได้อีกหรือไม่นั้นคงกล่าวว่า เป็นเรื่องยากลำบากพอสมควร แต่เราก็ยังมีความหวัง

อย่างไรก็ดี สวีเดนมอเตอร์ส ตั้งเป้าหมายว่าในปี ค.ศ.2000 ยอดจำหน่ายของวอลโว่ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,500 คันต่อปี โดยคาดว่าส่วนแบ่งตลาดรถยนต์หรูหราของวอลโว่จะอยู่ที่ 25%

ภายใต้โครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวว่า จะทำให้สวีเดนมอเตอร์ส ก้าวหน้า และพัฒนาไปอีกมาก แผนงานที่พอจะเป็นรูปร่างชัดเจนในขณะนี้ก็คือ การพัฒนาสาขาที่มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ให้บริหารงานในรูปแบบขององค์กรเอกเทศชัดเจน รับเพียงนโยบายหลัก ๆ จากบริษัทเท่านั้น

การปรับการบริหารสาขาเช่นนี้จะช่วยให้ต้นทุนการดำเนินการชัดเจนขึ้น มีการแบ่งแยกรายได้รายจ่าย ตั้งงบประมาณขึ้นมาแล้วดูแลกันเอง ขั้นตอนการดำเนินการก็จะกระชับขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้เห็นทั้งข้อดีข้อด้อยของแต่ละสาขา เพื่อที่จะปรับปรุงต่อไป ซึ่งขั้นตอนการแบ่งแยกรายได้รายจ่าย และให้อำนาจในการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ นั้นจะสามารถเริ่มต้นได้ ภายในสิ้นปี พ.ศ.2540 นี้

เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวว่า วการจัดการให้งานบริหารสาขาออกมาในรูปลักษณ์คล้ายกับดีลเลอร์นั้น ขณะนี้เริ่มใช้กันมากขึ้นในญี่ปุ่น และได้ประเมินออกมาแล้วว่า ได้ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20%

ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่สวีเดนมอเตอร์ส กำลังพยายามปรับและอยู่ในแผนอันเกี่ยวเนื่องจากการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่นี้ และหลายสิ่งหลายอย่างนั้นจะเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นภายในสิ้นปี พ.ศ.2540 นี้

1 ปีกว่าจากนี้คงได้รู้ว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่วอลโว่จะกลับมาเป็นรถยนต์หรูหราอันดับหนึ่งของตลาดเมืองไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us