"ความคาดหวังของเรา คือ การซื้อของถูกลง และ ที่สำคัญ
ต้อง การรู้กลไกตลาดทำนองนี้ เพราะในภาคเกษตรบ้านเรายังล้าหลังออยู่มาก เราอยากหาความรู้เหล่านี้มาใช้พัฒนา
ธุรกิจ" วนัส แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร อโกรกรุ๊ป
(มหาชน) บอกถึงสาเหตุเข้าเป็น พันธมิตรลงทุนในโครงการ Thailand Horizontal
exchange ตลาดกลาง ค้าขายออนไลน์
ไม่ต่างไปจากบุญชัย โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด
และผู้ร่วมทุนอื่นๆ ที่บอกถึงเหตุผลของในการตัดสินใจร่วม ทุนของพวกเขาเกิดมาจากความต้องการ
แสวงหาโอกาสใหม่ของการเรียนรู้ ที่จะเกิดจากธุรกรรมการค้าแบบออนไลน์ ที่จะนำมาช่วยในธุรกิจ
"เราจะใช้งบประมาณเท่าไร ยังไม่ ได้สรุปแต่นับว่าน้อยมาก เพราะนโยบาย ของเราอนุรักษนิยมออยู่แล้ว
การมาทำธุรกิจบน e-marketplace ก็เพราะเรา ต้องการเริ่มต้นก่อน ส่วนจะต่อยอดไปใน
อนาคตได้หรือไม่ ต้องดูอีกที เทคโนโลยี พัฒนาเร็ว เราต้องปรับตัว" บุญชัยกล่าว
โครงการ Thailand Horizontal exchange เป็นตลาดออนไลน์ รูปแบบ บีทูบี ที่เป็นการซื้อขายสินค้าทั่วไป
เกิดมาจากการร่วมมือระหว่างบริษัทออราเคิล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์
และบริษัทยูนิไฟซ์ โดย ทั้งสามราย เคยร่วมกันสนับสนุนตลาดออนไลน์ในลักษณะเดียวกันนี้
ในภูมิภาคเอเชียมาแล้วหลายประเทศ การลงทุนในไทยเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายการค้าตลาดออนไลน์ในภูมิภาค
ออราเคิล และไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงทุน แต่จะให้คำปรึกษา
ส่วนบทบาท ที่แท้จริงทั้งในเรื่องการลงทุน จะเป็นของยูนิไฟซ์ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนจากสิงคโปร์
ที่มุ่งเน้นลงทุน ในธุรกิจ market place มาแล้วในหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์
ฟิลิปปินส์ เป้าหมายของยูนิไฟซ์ คือ เชื่อมโยงตลาด กลางออนไลน์ในภูมิภาคเข้าด้วยกัน
ความแตกต่างของการตลาดออน ไลน์ในไทย ก็คือ ตลาดกลางแห่งนี้จะขายสินค้าทั่วไป
ไม่ใช่สินค้าเฉพาะเจาะ จงสำหรับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง (indirect) ซึ่งแตกต่างไปจากตลาดกลางออนไลน์
ที่มักจะทำขึ้น เพื่อการซื้อขายสินค้าเฉพาะธุรกิจ เช่น การรวมตัวของกลุ่มบริษัทรถยนต์ฟอร์ด
เจเนอรัลมอเตอร์ เพื่อสร้างตลาดกลางค้าชิ้นส่วนรถยนต์
แม้แต่ตลาดออนไลน์ในรูปแบบของธุรกิจต่อธุรกิจ หรือ b to b ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย
food market exchange ของไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ ก็เป็นตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจอาหารแช่แข็ง
"สินค้า ที่ซื้อขาย จะเป็นออฟฟิศสำนักงานประเภท Indirect เช่น สินทรัพย์ถาวร
ครุภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสินค้า ที่ธุรกิจทุกประเภทต้องใช้สิ่งเหล่านี้
ทำให้เราต้องการพันธมิตร ที่หลากหลาย" ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการ
บริษัทออราเคิล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าว
ตลาดออนไลน์แห่งนี้ จึง ไม่ได้ถูกทำขึ้นสำหรับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง แต่เปิดกว้างสำหรับทุกธุรกิจ
ที่ต้องมีการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ที่จำเป็นตั้งแต่ กระดาษ ปากกา ไปจนถึงรถบรรทุก
กลไกการซื้อขายด้วยระบบออนไลน์บวก กับ volume ที่จะรวมกันเป็นออร์เดอร์ใหญ่
จะสร้างอำนาจต่อรองในการซื้อ ที่ช่วยประหยัดได้มากกว่าการซื้อขายจากช่องทางปกติ
หรือการซื้อโดยลำพัง
"สมมติเรามีรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาท ถ้าเราประหยัดต้นทุนได้ 1% นั่นหมายความว่า
ผมจะได้กำไรเพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท ซึ่งการขายสินค้าให้มีกำไร 100 ล้านบาท
ไม่ใช่เรื่องง่าย และนี่ก็คือ มูลค่า ที่เราจะได้รับจาก cost saving ที่
จะเกิดขึ้น" กนก อภิรดี กรรมการผู้จัดการ บริษัทโอสถสภา กล่าว
ต้นทุน ที่ประหยัดลง 40% สำหรับ องค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่เคยใช้ไอทีภายใน องค์กร
และ 5% สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ คือ ตัวเลข ที่ถูกประเมินไว้จากการซื้อสินค้าผ่านตลาดออนไลน์แห่งนี้
และนี่ก็คือ เหตุผลหลัก ที่ทำให้ บรรดาเจ้าของธุรกิจอย่างเบอร์รี่ ยุคเกอร์
ที่มีอายุนับ 100 ปี จนกระทั่ง องค์กร ที่ มีอายุไม่ถึง 2 ปีเต็มอย่าง เอ็มเว็บ
(ประเทศไทย) ตัดสินใจลงขันเปิดตลาดกลางออนไลน์แห่งนี้ขึ้น ร่วมกับสหพัฒน
พิบูล เบทาโก ยูคอม ธนาคารเอเชีย และ ยูนิไฟซ์
กลไกการทำงานของเว็บไซต์ thaitradex.com ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นหลังจากการเซ็นสัญญาผ่านพ้นไป
90 วันก็เหมือนกับเว็บไซต์ ประเภท market exchange ทั่วไป นั่นก็คือ การที่ผู้ซื้อจะสามารถรวมตัวเสนอซื้อ
สินค้าในราคา ที่ต้องการ ในขณะที่ผู้ขายสามารถเข้ามาเสนอขายสินค้าจาก หน้าแค็ตตาล็อก
ที่ทำขึ้น โดยไม่จำกัดว่าผู้ผลิตจะอยู่ในประเทศเท่านั้น นอกนั้น จะเป็นบริการเสริม
เช่น call center และ e-learning
ต้นทุนของธุรกิจ ที่ลดลงจากตลาดออนไลน์แห่งนี้ได้รับความสนใจมากพอกับโอกาสของธุรกิจ
ที่จะเปลี่ยนจากผู้ซื้อเป็นผู้ขายในอนาคต
"เราเริ่มต้นซื้อก่อนต่อไปโอกาสของการขายก็ตามมา ก็เหมือน กับซื้อรถปิกอัพมาขับเฉยๆ
ก็ได้ หรือ จะทำการค้าบนรถปิกอัพก็ได้" และนี่คือ เหตุผลของการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรการค้า
ที่กนกเชื่อว่า นี่คือ ส่วนหนึ่งของพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่
ถึงแม้ว่ายังไม่มีโมเดลความสำเร็จ ที่เกิดจาก new economy อย่างเป็นรูปธรรมในเวลานี้
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าในลักษณะของ business to consumer หรือ business
to business แต่ทุกองค์กรปฏิเสธไม่ได้ว่า อินเทอร์เน็ตจะเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างประสิทธิภาพของธุรกิจในอนาคต
"ตรงนี้ มันเป็นธุรกิจ ที่เกิดใหม่ ทุกคนก็มีความคิดเหมือนๆ กัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสร้างศักยภาพตรงนี้ได้เร็วกว่ากัน"
บุญชัยสะท้อนแนวคิด